เมนู

อรรถกถาอัจเจนติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า อจฺเจนฺติ แปลว่า ย่อมล่วงไป. บทว่า กาลา ได้แก่ กาลมี
ปุเรภัตกาลเป็นต้น. บทว่า ตรยนฺติ รตฺติโย ได้แก่ เมื่อราตรีทั้งหลาย
ก้าวล่วงไป ย่อมผ่านคือ ย่อมให้บุคคลที่จะตายไปใกล้ต่อความตายโดยรวดเร็ว.
บทว่า วโยคุณา ได้แก่ คุณ คือ กอง (ชั้น) แห่งปฐมวัย มัชฌิมวัย และ
ปัจฉิมวัย.
จริงอยู่ อรรถแห่งคุณศัพท์ใช้ในอรรถหลายอย่าง เช่นในความหมาย
ถึงชั้นแผ่นผ้า ดังพระบาลีว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ
ทิคุณํ สํฆาฏึ
แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอนุญาตผ้าสังฆาฏิทำให้
เป็น 2 ชั้น ที่ทำด้วยผ้าใหม่ ดังนี้. มีอรรถว่า อานิสงส์ในบทนี้ว่า สตคุณา
ทิกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา
แปลว่า พึงหวังทักษิณาร้อยเท่า. อรรถแห่ง
คุณศัพท์ ที่มีความหมายถึงโกฏฐาสเช่นในคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ แปลว่า
ไส้ใหญ่ไส้น้อย. ที่มีความหมายยถึงเครื่องผูก เช่นในคำว่า ปญฺจ กามคุณา
แปลว่า เครื่องผูกคือกาม 5 อย่าง ดังนี้.
แต่ในที่นี้ อรรถแห่งคุณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ราสิ ซึ่งแปลว่า กอง
หรือคณะ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ บทว่า วโยคุณา นี้ว่า เป็นกอง
แห่งวัย ดังนี้. บทว่า อนุปุพฺพํ ชหนฺติ อธิบายว่า วัยทั้งหลายย่อมละทิ้ง
บุคคลไปโดยลำดับ. จริงอยู่ ปฐมวัยย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย

ปฐมวัย และมัชฌิมวัยทั้งสอง ย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย แต่ว่า ใน
ขณะแห่งความตาย แม้วัยทั้ง 3 ก็ต้องละทิ้งบุคคลไป. บทว่า เอตํ ภยํ
ความว่า ภัย 3 อย่างนี้ คือ การก้าวลงไปแห่งกาลทั้งหลาย ความที่ราตรี
และทิวาล่วงไปโดยเร็ว และความที่กองแห่งวัยทั้งหลายต้องทอดทิ้งบุคคลไป.
คำที่เหลือเช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ.
จบอรรถกถาอัจเจนติสูตร ที่ 4

5. กติฉันทิสูตร



[11] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้
กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถานี้ว่า
บุคคลควรตัดเท่าไร ควรละเท่าไร
ควรบำเพ็ญคุณอันยิ่งเท่าไร ภิกษุล่วง
ธรรมเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่า
เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว.

[12] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้อง
ต่ำ 5 อย่าง ควรละสังโยชน์เป็นส่วน
เบื้องบน 5 อย่าง ควรบำเพ็ญอินทรีย์อัน
ยิ่ง 5 อย่าง ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง
5 อย่าง เรากล่าวว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว.