เมนู

อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในที่อัปปมาทสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บทว่า โส จ โข กลฺยาณมิตฺตสฺส ความว่า ก็ธรรมนี้นั้น ย่อม
ชื่อว่า สวากขาตธรรมของผู้มีมิตรดีเท่านั้น หาใช่สวากขาตธรรมของผู้มีมิตร
ชั่วไม่ จริงอยู่. ธรรมเป็นสวากขาตธรรม แม้ของทุกคนก็จริง ถึงอย่างนั้น
ย่อมทำประโยชน์ให้เต็มแก่ผู้มีมิตรดี ผู้ตั้งใจฟังด้วยดี ผู้เชื่อถือ เหมือนยา
เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ หาเป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ใช้ไม่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ พึงทราบว่าเทศนาธรรมในคำว่า ธมฺโม นี้.
บทว่า อุปฑฺฒมิทํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเจ้าไปในที่ลับคิด
ว่า เมื่อมิตรดีผู้โอวาทพร่ำสอนมีอยู่ สมณธรรมนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ตั้ง
อยู่ในความพยายามเฉพาะตัว ดังนั้น พรหมจรรย์กึ่งหนึ่งมาจากมิตรดี กึ่งหนึ่ง
มาจากความพยายามเฉพาะตัว. ครั้งนั้น พระเถระดำริว่า เราอยู่ในปเทสญาณ
(ญาณในธรรมบางส่วน) รู้บางส่วน ไม่อาจคิดได้หมดทุกส่วน จำต้องทูลถาม
พระศาสดา จึงจักหมดสงสัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว
กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า ยทิทํ กลฺยาณ-
มิตฺตตา
ความว่า ความเป็นผู้มีมิตรดีที่ได้ ย่อมมาสู่พรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง
จากพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง. ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็น
ต้นครึ่งหนึ่ง ย่อมมาจากความเป็นผู้มีมิตรดี อีกครั้งหนึ่ง ย่อมมาจากความ
พยายามเฉพาะตัว. ก็จริงอยู่ นี้เป็นความปรารถนาของพระเถระ แท้จริง
แม้ในที่นี้ ธรรมที่แบ่งแยกไม่ได้นี้ ก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่า บรรดาอริยมรรค

มีสัมมาสัมทิฏฐิเป็นต้น เท่านี้เกิดจากความมีมิตรดี เท่านี้เกิดจากความพยายาม
เฉพาะตน เปรียบเหมือนเมื่อคนมากคนยกเสาหิน ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่า ที่เท่านี้
คนโน้นยก ที่เท่านี้คนโน้นยก และเหมือนอย่างว่า เมื่อบุตรอาศัยมารดาบิดา
เกิดขึ้น ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่าเกิดจากมารดาเท่านี้ เกิดจากบิดาเท่านี้ ฉะนั้น. ถึง
กระนั้น พรหมจรรย์ชื่อว่ากึ่งหนึ่ง ตามอัธยาศัยของพระเถระว่า เพราะเป็นผู้
มีมิตรดี ก็ได้คุณกึ่งหนึ่ง พรหมจรรย์ชื่อว่าทั้งสิ้น ตามอัธยาศัยของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า ก็ได้คุณทั้งสิ้น. ก็ดีว่า กลฺยาณมิตฺตตา นี้ท่านถือว่า ชื่อว่า
ได้คุณที่เป็นส่วนเบื้องต้น ว่าโดยใจความ ก็ได้แก่ขันธ์ 4 คือ ศีลขันธ์ สมาธิ
ขันธ์ วิปัสสนาขันธ์ อันอาศัยกัลยาณมิตรได้มา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
สังขารขันธ์ก็มี.
บทว่า มา เหวํ อานนฺท ความว่า อยู่าพูดอย่างนี้ เธอเป็นพหูสูต
บรรลุปฏิสัมภิทาฝ่ายเสขะ รับพร 8 ประการแล้วอุปัฏฐากเรา เธอผู้ประกอบ
ด้วยอัจฉริยัพภูตธรรม 4 ประการ ไม่ควรกล่าวอย่างนี้ แก่บุคคลเช่นนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความมีมิตรดี ความมีสหายดี
ความมีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดังนี้ ทรงหมายว่า มรรค 4 ผล 4
วิชชา 3 อภิญญา 6 ทั้งหมด มีมิตรดีเป็นมูลทั้งนั้น. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
เหตุ โดยการเปล่งพระวาจานั่นแล จึงตรัสดำว่า กลฺยาณมิตฺตสฺเสตํ เป็น
ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิกงฺขํ ความว่า พึงหวัง พึงปรารถนา
ว่ามีอยู่แท้. บทว่า อิธ เเปลว่า ในศาสนานี้. ก่อนอื่น อาทิบททั้ง 8 ใน
คำว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาสังเขปดังนี้. สัมมาทิฏฐิมี
ลักษณะเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ มีลักษณะยกสหชาตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ชอบ
สัมมาวาจา มีลักษณะกำหนดอารมณ์ชอบ สัมมากัมมันตะ มีลักษณะตั้งตนไว้
ชอบ. สัมมาอาชีวะ มีลักษณะทำอารมณ์ให้ผ่องแผ้วชอบ. สัมมาวายามะ มี

ลักษณะประคองชอบ สัมมาสติ มีลักษณะปรากฏชอบ สัมมาสมาธิ มีลักษณะ
ตั้งมั่นชอบ บรรดามรรคมีองค์ 8 นั้น มรรคองค์หนึ่ง ๆ มีกิจ 3 คือ ก่อนอื่น
สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับเหล่ากิเลสที่เป็นข้าสึกของตนอย่างอื่นๆ 1
ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ 1 และเห็นสัมปยุตธรรมเพราะไม่ลุ่มหลง โดยกำจัด
โมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมนั้น 1 แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสัง-
กัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน แต่โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ในมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสังกัปปะ ย่อมยกอารมณ์ขึ้นสู่สหชาต-
ธรรม.
สัมมาวาจา ย่อมกำหนดถือเอาชอบ สัมมากัมมันตะ ย่อมตั้งตนไว้
ชอบ สัมมาอาชีวะ ย่อมผ่องแผ้วชอบ สัมมาวายามะ ย่อมประคองความ
เพียรๆ ชอบ สัมมาสติ ย่อมตั้งไว้ชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งมั่นชอบ.
อนึ่งเล่า ธรรดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีขณะต่าง ๆ มี
อารมณ์ต่าง ๆ แต่ในขณะมรรคจิตมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว. แต่
ว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ 4 ชื่อ มี ทุกฺเข ญาณํ รู้ในทุกข์ดังนี้เป็นต้น แม้
สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน แต่
ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว. ในมรรคมี
องค์ 8 นั้น สัมมาสังกัปปะว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ 3 ชื่อ มีเนกขัมมสังกัปปะ
เป็นต้น. สัมมาวาจาเป็นต้น ย่อมเป็นวิรัติ 3 บ้าง เป็นเจตนาเป็นต้นบ้าง
แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็เป็นวิรัติเท่านั้น.
สัมมาวายามะและสัมมาสติทั้งสองดังว่ามานี้ ว่าโดยกิจ ก็ได้ชื่อ 4 ชื่อโดย
สัมมัปปธาน 4 สติปัฏฐาน 4. ส่วนสัมมาสมาธิ ทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในขณะ
แห่งมรรคจิต ก็สมาธิอย่างเดียว. ครั้นทราบการพรรณนาอาทิบททั้ง 8 ที่ท่าน
กล่าวโดยนัยว่า สมฺมทิฏฺฐึ ดังนี้เป็นต้นอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบ

ความ ในคำว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ เป็นต้น ดังนี้. บทว่า ภาเวติ
แปลว่าเจริญ. อธิบายว่า ทำให้เกิด บังเกิดในจิตสันดานของตน. บทว่า
วิเวกนิสฺสิตํ แปลว่า อาศัยวิเวก. บทว่า วิเวโก ได้แก่ ความเป็นผู้สงัด
พึงทราบความดังนี้ว่า ความเป็นผู้สงัดนี้ ได้แก่ วิเวก 5 อย่างคือ ตทังค-
วิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจุเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก.
วิเวกมี 5 อย่างดังนี้. บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ก็ได้แก่ เจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัย
ตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก และอาศัยนิสสรณจะวก อนึ่งเล่า พระโยคี
[โยคาวจร] ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ในขณะเจริญวิปัสสนา
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัยตทังควิเวก โดยกิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดย
อัธยาศัย แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดย
กิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในบทว่าที่อาศัยวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้.
ก็วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกความสงัดเป็นอรรถนั่นแหละ ก็ในที่นี้อย่าง
เดียว โวสสัคคะ มี 2 อย่างคือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทนโวสสัคคะ.
บรรดาโวสสัคคะ 2 อย่างนั้น การละกิเลสด้วยอำนาจตทังคปหานในขณะเจริญ
วิปัสสนา และการละกิเลสด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน ในขณะแห่งมรรคจิตชื่อ
ว่าปริจาคโวสสัคคะ. ในขณะเจริญวิปัสสนา ก็แล่นไปสู่พระนิพพานด้วยความ
เป็นผู้น้อมไปในพระนิพพานนั้น แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็แล่นไปสู่พระ-
นิพพาน ด้วยการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ.
โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในอรรถกถานัย ที่ผสมทั้งโลกิยะและโลกุตระ
นี้. จริงอย่างนั้น สัมมาทิฏฐินี้ ย่อมสละกิเลสและแล่นไปสู่พระนิพพาน โดย
ประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ ท่านอธิบายไว้
ดังนี้ว่า กำลังน้อมไปและน้อมไปแล้ว กำลังบ่มและบ่มสุกแล้ว เพื่อโวสสัคคะ.
จริงอยู่ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

โดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้น กำลังบ่มเพื่อโวสสัคคะคือการสละกิเลส และเพื่อ
โวสสัคคะ คือการแล่นไปสู่พระนิพพาน และโดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้นบ่มสุก
แล้ว. ในองค์มรรคที่เหลือก็นัยนี้.
บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภหมายถึง อาศัยแล้ว. บทว่า ชาติ-
ธมฺมา
ได้แก่มีการเกิดเป็นสภาวะ คือมีการเกิดเป็นปกติ [ธรรมดา]. บทว่า
ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่แม้อริยมรรคทั้งสิ้นอาศัยกัลยาณมิตรจึงได้ ฉะนั้น
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ. บทว่า อปฺปมาทํ
ปสํสนฺติ
ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท เพราะฉะนั้น
จึงควรทำความไม่ประมาท. บทว่า อตฺถาภิสมยา แปลว่า เพราะได้ประโยชน์.
จบอรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตรที่ 8

9. ปฐมาปุตตกสูตร



[386] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
เวลาเที่ยงวัน ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เชิญเถิดมหาบพิตร
พระองค์เสด็จจากไหนมาในเวลาเที่ยงวัน.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบคีผู้เป็น
เศรษฐีในกรุงสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติ
อันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เฉพาะเงินเท่านั้นมี 8,000,000 ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ก็แต่คฤหบดีผู้
เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลายข้าวกับน้ำส้มพะอูม
ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้นเย็บ
ติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้.
[387] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อสัตบุรุษ
ได้โภคะอันโอฬารแล้ว ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย
ไม่ทำมารดาและบิดาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำบุตรและ
ภรรยาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำทาสกรรมกรให้ได้รับ
ความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำมิตรเละอำมาตย์ให้ได้รับความสุข
ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบาก
เป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ให้ตั้งอยู่ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้น