เมนู

มัจจาผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายใน
โลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือบุญและ
บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล
บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล
และบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อม
เป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตาม
ตนไป ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณ
กรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วย
ว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้ง
หลายในปรโลก.


อรรถกถาปิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปิยสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า รโคตสฺส แปลว่า ไป [อยู่] ในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺ-
ลีนสฺส
ได้แก่เร้นอยู่ผู้เดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ ให้เป็น
คำตรัสของพระสัพพัญญู จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช ดังนี้.
บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส แปลว่า ผู้ถูกความตายครอบงำแล้ว.
จบอรรถกถาปิยสูตรที่ 4

5. อัตตรักขิตสูตร



[337] พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์ได้เข้าห้อง
ส่วนตัวพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า ชนพวกไหนหนอ ชื่อว่าเป็น
ผู้รักษาตน ชนพวกไหนหนอ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ข้าพระองค์ได้คิดต่อ
ไปว่า ก็ชนบางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่า
เป็นผู้ไม่รักษาตน ถึงแม้พลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะพึงรักษา
เขา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้น ก็ชื่อว่าไม่เป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ก็เพราะเหตุว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษา
ภายใน ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อม
ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ว่า
พลช้าง พลม้า พลรถหรือพลเดินเท้า จะไม่รักษาเขา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้น
ก็ชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าการรักษาเช่น
นั้น เป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึง
ชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน.
[338] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ถูกแล้ว ๆ มหาบพิตร ก็ชน
บางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษา
คน ถึงแม้ชนพวกนั้นจะมีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา
ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้นก็ชื่อว่าไม่รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุ
ว่าการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย