เมนู

ราชรถอันวิจิตรดีย่อมคร่ำคร่าโดยแท้
อนึ่ง แม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชรา แต่ว่า
ธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่ สัตบุรุษ
กับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้.


อรรถกถาราชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในราชสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บทว่า อญฺญตฺร ชรามรณา ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทูลถามว่า คนที่พ้นจากชรามรณะมีอยู่หรือ. บทว่า ขตฺติยมหาสาลา แปลว่า
กษัตริย์มหาศาล คือกษัตริย์ที่ถึงความเป็นผู้มีสารสมบัติมาก. จริงอยู่ กษัตริย์
เหล่าใด มีทรัพย์เก็บไว้ 100 โกฎิเป็นอย่างต่ำ มีกหาปณะ 3 หม้อ จัดกอง
ไว้กลางคฤหะ (เรือน) สำหรับใช้สอย กษัตริย์เหล่านั้น ชื่อว่า กษัตริย์มหาศาล.
พราหมณ์เหล่าใด มีทรัพย์เก็บไว้ 80 โกฏิ มีกหาปณะหม้อครึ่ง จัดกองไว้
กลางคฤหะ สำหรับใช้สอย พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า พราหมณมหาศาล.
คฤหบดีเหล่าใด มีทรัพย์เก็บไว้ 40 โกฏิ มีกหาปณะหม้อหนึ่ง จัดกองไว้
กลางคฤหะ ส่าหรับใช้สอย คฤหบดีเหล่านั้น ชื่อว่า คฤหบดีมหาศาล.
บทว่า อฑฺฒา ได้แก่ เป็นใหญ่. ชื่อว่า มีทรัพย์มาก ก็เพราะ
ทรัพย์ที่เก็บไว้มีมาก. ชื่อว่า มีโภคะมาก ก็เพราะของใช้สอยมีภาชนะทอง
เงินเป็นต้นมีมาก. ชื่อว่า มีทองและเงินมากพอ ก็เพราะทองและเงินที่ยังไม่
ได้เก็บไว้มีมากพอ. ชื่อว่า มีอุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากพอ ก็เพราะมี

อุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ คือเหตุแห่งความยินดีมีมากพอ. ชื่อว่า มีทรัพย์
และข้าวเปลือกมากพอ ก็เพราะทรัพย์คือโคเป็นต้น และข้าวเปลือก 7 อย่าง
มีมากพอ. บทว่า เตสมปิ ชาตานํ นตฺถิ อญฺญตฺร ชรามรณา ความว่า
อิสรชน ดังกล่าวมาแม้เหล่านั้น เกิดมาแล้ว คือบังเกิดแล้วจะละเว้นจากชรา
มรณะไม่มี คือชื่อว่า พ้นจากชรามรณะ เพราะเกิดมาแล้วนั่นแลไม่มี อิสรชน
เหล่านั้น ตกอยู่ภายในชรามรณะนั่นเทียว.
ในบทว่า อรหนฺโต เป็นต้น เหล่าภิกษุชื่อว่า อรหันต์ เพราะไกลจาก
กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ขีณาสพ ก็เพราะภิกษุเหล่านั้น สิ้นอาสวะ 4 แล้ว ชื่อว่า
วุสิตวันตะ ก็เพราะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว คือ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว.
ชื่อว่า กตกรณียะ เพราะภิกษุเหล่านั้น มีกิจที่ควรทำด้วยมรรค 4 ทำเสร็จ
แล้ว. ชื่อว่า โอหิตภาระ เพราะภิกษุเหล่านั้น ปลงภาระเหล่านี้ คือ ขันธภาระ
กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ กามคุณภาระเสียแล้ว. ชื่อว่า อนุปปัตตสทัตถะ
ก็เพราะภิกษุเหล่านั้นบรรลุประโยชน์ของตน กล่าวคือพระอรหัตแล้ว ชื่อว่า
ภวปริกขีณสังโยชนะ เพราะภิกษุเหล่านั้นสิ้นภวสังโยชน์ทั้ง 10 แล้ว ชื่อว่า
สัมมทัญญาวิมุตตะ เพราะภิกษุเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ คือ
โดยเหตุ อธิบายว่า รู้สัจธรรม 4 ด้วยมรรคปัญญาแล้ว หลุดพ้นโดยผล-
วิมุตติ. บทว่า เภทนธมฺโม แปลว่า มีอันแตกไปเป็นสภาพ. บทว่า
นิกฺเขปนธมฺโม แปลว่า มีอันจะพึงทอดทิ้งเป็นสภาพ. จริงอยู่ แม้ธรรม
คือความไม่ชราของพระขีณาสพมีอยู่ คือพระนิพพานที่ท่านแทงตลอดโดย
อารมณ์ แท้จริง พระนิพพานนั้น ย่อมไม่ชรา แต่ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงแสดงธรรม คือความชราของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่า
การตั้งพระสูตร มีอัตถุปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ดังนี้

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็นเรื่องที่นั่งพูดกันที่โรงเก็บวอ. ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นยาน คือรถเป็นต้น อันงดงาม จึงทรงทำสิ่งที่
ทรงเห็นนั่นแหละ ให้เป็นข้อเปรียบเทียบ ตรัสพระคาถาว่า ชีรนฺติ เว
ราชรถา สุจิตฺตา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีรนฺติ ได้แก่ เข้าถึงชรา. บทว่า
ราชรถา ได้แก่ รถอันงดงามของพระราชา. บทว่า สุจิตฺตา ได้แก่ อัน
งามดีด้วยทองและเงินเป็นต้น. บทว่า อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ ความว่า
เมื่อรถทั้งหลายอันทำด้วยไม้แก่น ไม่มีใจครองเห็นปานนี้ คร่ำคร่าไป คำอะไรๆ
ที่จะพึงกล่าวในสรีระ ที่ทำด้วยเนื้อและเลือดเป็นต้น ซึ่งมีใจครองอันเป็น
ภายในนี้ คือ สรีระก็ถึงความชราทั้งนั้น. บทว่า สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวท-
ยนฺติ
ความว่า เหล่าสัตบุรุษ ย่อมรู้กันกับเหล่าสัตบุรุษอย่างนี้ว่า ธรรมของ
เหล่าสัตบุรุษไม่ถึงความชรา พระนิพพาน ชื่อว่า ธรรมของเหล่าสัตบุรุษ
พระนิพพานนั้นไม่ชรา. อธิบายว่า เหล่าสัตบุรุษกล่าวอย่างนี้ว่า พระนิพพาน
ไม่แก่ ไม่ตาย. อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะอาศัยพระนิพพาน กิเลสทั้งหลายที่มี
สภาพจมจึงแตกไป ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า สพฺภิ. พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุ ของบทต้น จึงตรัสว่า สนฺโต หเว สพฺภิ
ปเวทยนฺติ
. จริงอยู่ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ว่าธรรมของเหล่าสัตบุรุษ ย่อมไม่
เข้าถึงชรา. เพราะเหตุไร เพราะเหล่าสัตบุรุษ ย่อมประกาศกับเหล่าสัตบุรุษ.
อธิบายว่า ย่อมบอกกันว่า พระนิพพานที่ไม่แก่ ชื่อว่า ธรรมของเหล่าสัตบุรุษ
อีกนัยหนึ่ง คำว่า สัพภิ นี้ เป็นชื่อที่ดี อธิบายว่า เหล่าสัตบุรุษย่อมประกาศ
บอกพระนิพพาน ที่เป็นสัพภิธรรม สัพภิธรรมของสัตบุรุษอันใด ธรรมของ
เหล่าสัตบุรุษอันนั้น ย่อมไม่เข้าถึงความชรา.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ 3

ปิยสูตรที่ 4



[334] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
(วันนี้) ข้าพระองค์เข้าห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า ชน
เหล่าไหนหนอแลชื่อว่ารักตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักตน ข้าพระองค์จึงได้เกิด
ความคิดต่อไปว่า ก็ชนเหล่าใดแลย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชน
เหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรารักตน ถึง
เช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่ า
ชนผู้ไม่รักใคร่กันย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักใคร่กันได้โดยประการใด
ชนเหล่านั้นย่อมทำความเสียหายให้แก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนว่าชนเหล่าใดแล ย่อมประพฤติสุจริตด้วย
กาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้
ว่า เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ที่รักใคร่กันย่อมทำความดีความเจริญ ให้แก่ผู้ที่รักใคร่กัน
ได้โดยประการใด ชนเหล่านั้นย่อมทำความดีความเจริญ ให้แก่ตนด้วยตนเอง
ได้โดยประการนั้น ฉะนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน.