เมนู

อรรถกถานานาติตถิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนานาติตถิยสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า นานาติตฺถิยสาวกา ความว่า เทพบุตรสาวกของเดียรถีย์
ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นกัมมวาที นับถือกรรม เพราะฉะนั้น จึงกระทำบุญ
ทั้งหลายมีทานเป็นต้น บังเกิดในสวรรค์ เทพบุตรเหล่านั้น สำคัญว่าเรา
บังเกิดในสวรรค์ เพราะเลื่อมใสในศาสดาของตน จึงมาด้วยหมายใจว่าเราจะ
ไปยืนในสำนักของพระทศพล กล่าวคุณศาสดาของเรา แล้วกล่าวด้วยคาถา
องค์ละ 1 คาถา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺทิตมาริเต จ หตชานีสุ
ได้แก่ ในการโบย และในการเสื่อมทรัพย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปุญฺญํ วา
ปน
อสมเทพบุตร ไม่ตามพิจารณาแม้แต่บุญของตน กล่าวโดยย่อว่า วิบาก
ของบุญและบาปไม่มี ดังนี้. บทว่า ส เว วิสฺสาสมาจิกฺขิ ความ อสม-
เทพบุตรนั้นแล เมื่อกล่าวว่า วิบาก ทั้งของบาปที่ทำแล้ว ทั้งของบุญที่ทำแล้ว
ไม่มี ดังนี้ จึงบอกที่พักอาศัย ที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า
ศาสดาปุรณกัสสป ควรแก่การนับถือ การไหว้ การบูชา. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาย
ได้แก่ เพราะเกลียดบาป ด้วยตปะคือการทำกายให้ลำบาก. บทว่า สฺสํวุโต
ได้แก่ ประกอบแล้ว หรือปิดแล้ว. บทว่า เชคุจฺฉี ได้แก่ เกลียดบาป
ด้วยตปะ. บทว่า นิปโก ได้แก่ บัณฑิต. บทว่า จาตุยามสุสํวุโต ได้แก่
สำรวมด้วยดีด้วยาม 4 ส่วนทั้ง 4 เหล่านี้ คือ ผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ผู้ประกอบ
ในการห้ามบาปทั้งปวง ผู้กำจัดบาปทั้งปวง ผู้ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้อง ชื่อว่า
ยาม 4. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวาริวาริโต จ ได้แก่ ห้ามน้ำ
ทั้งหมด อธิบายว่า น้ำเย็นทั้งหมดห้ามขาด เขาว่านิครนถนาฏบุตรนั้น สำคัญ

ว่ามีตัวสัตว์ในน้ำเย็น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช้น้ำเย็นนั้น. บทว่า สพฺพวาริ-
ยุตฺโต
ได้แก่ ประกอบด้วยการห้ามบาปทุกอย่าง. บทว่า สพฺพวาริธุโต
ได้แก่ กำจัดบาปเสียแล้ว ด้วยการห้ามบาปทุกอย่าง. บทว่า สพฺพวาริผุฏฺโฐ
ได้แก่ ผู้อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว. บทว่า ทิฏฺฐํ สุตญฺจ อาจิกฺขํ
ได้แก่ บอกว่าสิ่งที่เห็นเราเห็นแล้ว ข้อที่ฟัง เราฟังแล้วไม่ปิดเลย. บทว่า
นหิ นูน กิพฺพิสี ความว่า ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กระทำ
ความชั่วร้าย. บทว่า นานาติตฺถิเย ความว่า เขาว่า อาโกฏกเทพบุตรนั้น
เป็นอุปัฏฐากของเหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ นั้นแล เพราะฉะนั้น เขาจึงกล่าวปรารภ
เดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า ปกุทฺธโก กาติยาโน ได้แก่ ศาสดาชื่อปกุธ-
กัจจายนะ. บทว่า นิคนฺโถ ได้แก่ ศาสดาชื่อนาฎบุตร. บทว่า มกฺขลิปูรณาเส
ได้แก่ ศาสดาชื่อมักขลิ และชื่อปูรณะ. บทว่า สามญฺญปฺปตฺตา ได้แก่
ถึงที่สุดในสมณธรรม. ด้วยบทว่า นหิ นูน เต อาโกฏกเทพบุตรกล่าวว่า
ศาสดาเหล่านั้นไม่ไกลไปจากสัตบุรุษทั้งหลายเลย ศาสดาเหล่านั้นนั่นแล จึง
ชอบที่จะเป็นสัตบุรุษในโลก. บทว่า ปจฺจภาสิ ความว่า เวฏันพรีเทพบุตร
คิดว่า อาโกฏกเทพบุตรผู้นี้ ยืนกล่าวคุณของศาสดาชีเปลือย ผู้ไร้สิริเหล่านี้
ในสำนักของพระทศพล ดังนั้น เราจักกล่าวโทษของศาสดาเหล่านั้น แล้วจึง
กล่าวโต้ตอบ. บทว่า สห รจิตมตฺเตน ได้แก่ พร้อมด้วยเหตุเพียงแต่ง
ถ้อยคำ. บทว่า ฉโว สิงฺคาโล ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอด ต่ำทราม.
บทว่า โกฏฺฐโก เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นแหละ. บทว่า สงฺกสฺสราจาโร
ได้แก่ มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ. บทว่า น สตํ สริกฺขโก ความว่า
ศาสดาของท่านจะเทียมสัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิตหาได้ไม่ ท่านก็เสมือนสุนัขจิ้งจอก
ตาบอด ยังจะทำเดียรถีย์ให้เป็นราชสีห์หรือ. บทว่า อนฺวาวิสิตฺวา ความว่า
มารผู้มีบาป ดำริว่า เวฎัมพรีเทพบุตรผู้นี้ กล่าวโทษของเหล่าศาสดาเห็น

ปานนั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ เราจะให้เขากล่าวคุณด้วยปากนั่นแหละ จึงเข้า
สิงในร่างของเวฎัมพรีเทพบุตรนั้น น้อมใจตามไป ชื่อว่า เข้าไปอาศัยอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า อายุตฺตา ได้แก่ ขวนขวายขมักเขม้น ในอันเกลียดตปะ.
บทว่า ปาลยํ ปวิเวกํ แปลว่า รักษาความสงัด ได้ยินว่า เดียรถีย์เหล่านั้น
ถอนผมตนเอง ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากการแต่งผม เปลือยกาย
เที่ยวไป ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากผ้า กินอาหารที่พื้นดินหรือที่มือ
ดุจสุนัข ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากอาหาร นอนบนหนามเป็นต้น
ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากที่นั่งที่นอน. บทว่า รูเป นิวิฏฺฐา
ได้แก่ ตั้งอยู่ในรูป ด้วยตัณหาและทิฐิ. บทว่า เทวโลกาภินนฺทิโน
ได้แก่ ปรารถนาเทวโลก. บทว่า มาติยา ได้แก่ สัตว์ที่ต้องตาย มารผู้มีบาป
กล่าวว่า เหล่าเดียรถีย์ย่อมสั่งสอนสัตว์ที่จะต้องตายเหล่านั้นแหละ โดยชอบ
เพื่อประโยชน์แก่ปรโลก. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงระลึกว่า เทพบุตรผู้นี้ กล่าวโทษของศาสดาเหล่านี้ก่อนแล้ว บัดนี้ กลับ
มากล่าวคุณ ผู้นี้เป็นใครหนอ แล้วก็ทรงทราบ. บทว่า เย จนฺตลิกฺขสฺมิ
ปภาสวณฺณา
ความว่า บรรดารูปรัศมีดวงจันทร์ รัศมีดวงอาทิตย์ ประกาย
เพชรพลอย รุ้งกินน้ำ และดวงดาวทั้งหลาย รูปเหล่าใดมีวรรณะสว่างไสว
ในท้องฟ้า. บทว่า สพฺเพว เต เต ได้แก่ รูปเหล่านั้นทั้งหมด อันท่าน
สรรเสริญแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมารว่า นมุจิ. ด้วยบทว่า อามิสํว
มจฺฉานํ วธาย ขิตฺตา
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มารย่อมเหวี่ยงเหยื่อ
ติดปลายเบ็ด เพื่อต้องการฆ่าปลาทั้งหลาย ฉันใด ท่านกล่าวสรรเสริญ
หว่านรูปเหล่านั้นก็เพื่อมัดสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น. บทว่า มาณวคามิโย
ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้ เป็นพุทธอุปัฏฐาก. บทว่า ราชคหิยานํ

ได้แก่ ภูเขาในกรุงราชคฤห์. บทว่า เสโต ได้แก่ เขาไกรลาส. บทว่า
อฆคามินํ ได้แก่ ที่โคจรไปในอากาศ. บทว่า อุทธีนํ ได้แก่ รองรับน้ำ.
ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภูเขาวิบูลบรรพตประเสริฐสุด แห่งบรรดาภูเขาที่ตั้งอยู่
ในกรุงราชคฤห์ ภูเขาไกรลาสประเสริฐสุด แห่งบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์
ดวงอาทิตย์ประเสริฐสุด แห่งบรรดาสภาวะที่โคจรไปในอากาศ สมุทร [ทะเล]
ประเสริฐสุด แห่งบรรดาสภาวะที่รองรับน้ำ ดวงจันทร์ประเสริฐสุด แห่ง
บรรดาดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ประเสริฐสุด แห่งโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ฉันนั้น.
จบอรรถกถานานาติตถิยสูตร ที่ 10
วรรคที่ 3
เทวปุตตสังยุตจบเพียงเท่านี้

พระสูตรในนานาติตถิยวรรคที่ 3 นี้ คือ


1. สิวสูตร 2. เขมสูตร 3. เสรีสูตร 4. ฆฏิการสูตร 5. ชันตุสูตร
6. โรหิตัสสสูตร 7. นันทสูตร 8. นันทิวิสาลสูตร 9. สุสิมสูตร
10. นานาติตถิยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.
จบ เทวปุตตสังยุต