เมนู

อรรถกถานานาติตถิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนานาติตถิยสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า นานาติตฺถิยสาวกา ความว่า เทพบุตรสาวกของเดียรถีย์
ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นกัมมวาที นับถือกรรม เพราะฉะนั้น จึงกระทำบุญ
ทั้งหลายมีทานเป็นต้น บังเกิดในสวรรค์ เทพบุตรเหล่านั้น สำคัญว่าเรา
บังเกิดในสวรรค์ เพราะเลื่อมใสในศาสดาของตน จึงมาด้วยหมายใจว่าเราจะ
ไปยืนในสำนักของพระทศพล กล่าวคุณศาสดาของเรา แล้วกล่าวด้วยคาถา
องค์ละ 1 คาถา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺทิตมาริเต จ หตชานีสุ
ได้แก่ ในการโบย และในการเสื่อมทรัพย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปุญฺญํ วา
ปน
อสมเทพบุตร ไม่ตามพิจารณาแม้แต่บุญของตน กล่าวโดยย่อว่า วิบาก
ของบุญและบาปไม่มี ดังนี้. บทว่า ส เว วิสฺสาสมาจิกฺขิ ความ อสม-
เทพบุตรนั้นแล เมื่อกล่าวว่า วิบาก ทั้งของบาปที่ทำแล้ว ทั้งของบุญที่ทำแล้ว
ไม่มี ดังนี้ จึงบอกที่พักอาศัย ที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า
ศาสดาปุรณกัสสป ควรแก่การนับถือ การไหว้ การบูชา. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาย
ได้แก่ เพราะเกลียดบาป ด้วยตปะคือการทำกายให้ลำบาก. บทว่า สฺสํวุโต
ได้แก่ ประกอบแล้ว หรือปิดแล้ว. บทว่า เชคุจฺฉี ได้แก่ เกลียดบาป
ด้วยตปะ. บทว่า นิปโก ได้แก่ บัณฑิต. บทว่า จาตุยามสุสํวุโต ได้แก่
สำรวมด้วยดีด้วยาม 4 ส่วนทั้ง 4 เหล่านี้ คือ ผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ผู้ประกอบ
ในการห้ามบาปทั้งปวง ผู้กำจัดบาปทั้งปวง ผู้ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้อง ชื่อว่า
ยาม 4. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวาริวาริโต จ ได้แก่ ห้ามน้ำ
ทั้งหมด อธิบายว่า น้ำเย็นทั้งหมดห้ามขาด เขาว่านิครนถนาฏบุตรนั้น สำคัญ