เมนู

อรรถกถา



ฆฏิการสูตรที่ 4 มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

5. ชันตุสูตร



[293] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ภิกษุเป็นจำนวนมากอยู่ในกุฎีอันตั้งอยู่ในป่าข้างเขาหิมวันต์
แคว้นโกศล เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง ฟุ้งเฟ้อ ปากกล้า วาจาพล่อย ๆ
หลงลืม ขาดสัมปชัญญะ ไม่มั่นคง มีจิตคิดนอกทาง ปล่อยตัวเยี่ยงคฤหัสถ์.
[294] วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ชันตุเทพบุตรเข้าไปหาพวก
ภิกษุเหล่านั้น แล้วจึงได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า
แต่ก่อน พวกภิกษุสาวกพระโคดม
เป็นอยู่ง่าย ๆ ไม่มักได้แสวงหาบิณฑบาต
ไม่มักได้แสวงหาที่นอนที่นั่ง.
ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกไม่เที่ยง
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคน
เลี้ยงยากเหมือนนายบ้านในตำบลบ้าน
กิน ๆ แล้วก็นอน ชอบประจบไปในเรือน
ของคนอื่น.

ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อท่าน ขอพูด
ท่านบางพวกในที่นี้ว่า พวกท่านถูกเขา
ทอดทิ้งหมดที่พึ่ง เป็นเหมือนเปรต.
ที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้หมายเอาบุคคล
จำพวกที่อยู่ประมาท ส่วนท่านพวกใดอยู่
ไม่ประมาท ข้าพเจ้าขอนมัสการท่านพวก
นั้น.


อรรถกถาชันตุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในชันตุสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า โกสเลสุ วิหรนฺติ ความว่า เหล่าภิกษุเป็นอันมาก รับ
กัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พากันไปอยู่แคว้นโกศล. บทว่า
อุทฺธตา ได้แก่ เป็นผู้มีปกติฟุ้งซ่าน เพราะสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร สำคัญในที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ สำคัญในสิ่งที่มีโทษ
ว่าไม่มีโทษ. บทว่า อุนฺนฬา ได้แก่ มีมานะดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น ท่านอธิบายว่า
ยกมานะที่เปล่า ๆ ขึ้น. บทว่า จปลา ได้แก่ ประกอบด้วยความฟุ้งเฟ้อ
มีแต่งบาตรจีวรเป็นต้น. บทว่า มุขรา แปลว่า ปากกล้า ท่านอธิบายว่า
มีถ้อยคำกร้าว. บทว่า วิกิณฺณวาจา ได้แก่ ไม่ประหยัดถ้อยคำ [เพ้อเจ้อ]
เจรจาถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์ได้ทั้งวัน. บทว่า มุฏฺฐสฺสติ ได้แก่ มีสติหายไป
เว้นจากสติ กิจที่ทำในที่นี้ ภิกษุทั้งหลายก็หลงลืมเสียในที่นี้. บทว่า อสมฺป-
ชานา
ได้แก่ ปราศจากความรอบรู้. บทว่า อสมาหิตา ได้แก่ เว้นจาก