เมนู

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและ
น้ำด้วยความศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล
ย่อมพะนอชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลก
หน้า เพราะเหตุนั้น พึงเปลื้องความตระหนี่
เสีย ครอบงำมลทินคือความตระหนี่เสีย
ให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของเหล่า
สัตว์ในโลกหน้า.


อรรถกถาเสรีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเสรีสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บทว่า ทายโก แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ. บทว่า ทานปติ ได้แก่
เป็นเจ้าแห่งทานที่ให้แล้วให้ ไม่ใช่เป็นทาส ไม่ใช่เป็นสหาย. จริงอยู่ ผู้ใด
บริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น ผู้นั้น ชื่อว่า เป็น
ทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาน ให้ทาน [ทาสทาน]. ก็ผู้ใดบริโภคของใดด้วย
ตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน [สหายทาน]. ส่วน
ผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่า
เป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน [ทานบดี]. เสรีเทพบุตรนั้นกล่าวว่า
ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นนั้น.
บทว่า จตูสุ ทฺวาเรสุ ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น
ได้มีรัฐ 2 รัฐ คือ สินธวรัฐ และ โสวีรกรัฐ. มีนครชื่อโรรุวนครที่ประตู

แต่ละประตูแห่งนครนั้น เกิดทรัพย์แสนหนึ่งทุก ๆ วัน ณ สถานที่วินิจฉัย-
คดี ภายในนคร ก็เกิดทรัพย์แสนหนึ่ง. ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นกองเงิน
กองทองเป็นอันมาก ทำให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ โปรดให้สร้างโรงทานทั้ง 4
ประตู แต่งตั้งอมาตย์ เจ้าหน้าที่ไว้สั่งว่า พวกเจ้าจงเอารายได้ที่เกิดขึ้น ณ ประตู
นั้น ๆ ให้ทาน ด้วยเหตุนั้น เสรีเทพบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ให้ทานทั้ง 4 ประตู
ในคำว่า สมณพฺราหฺมรณกปณทฺธิกวณิพฺพกยาจกานํ นี้ ผู้ถือบวช
ชื่อว่า สมณะ ผู้มีปกติทูลว่าผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ แต่สมณพราหมณ์ที่ว่า
นี้ ไม่ได้ในสมณพราหมณ์ ผู้สงบบาปและผู้ลอยบาป คนเข็ญใจ คนยากจน
มีคนตาบอด คนง่อยเป็นต้น ชื่อว่า กปณะ. คนกำพร้า คนเดินทาง ชื่อว่า
อัทธิกะ. คนเหล่าใด เที่ยวสรรเสริญทานโดยนัยว่า ให้ทานที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ให้ตามกาลให้ทานที่ไม่มีโทษ ทำจิตให้ผ่องใส ท่านผู้เจริญ
ก็จะไปพรหมโลกดังนี้เป็นต้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า วณิพก. ชนเหล่าใดกล่าว
ว่า โปรดให้สักฟายมือเถิด โปรดให้สักขันจอกเกิด ดังนี้เป็นต้น เที่ยวขอไป
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายาจก. บทว่า อิฏฺฐาคารสฺส ทานํ ทิยิตฺถ ความว่า
พวกฝ่ายในได้ให้ทานมากกว่าทานที่พระราชาพระราชทาน เพราะเติมทรัพย์แม้
ส่วนอื่นลงในทรัพย์แสนหนึ่ง ซึ่งเกิดที่ประตูนั้น เพราะได้รับประตูแรก ถอน
อมาตย์ของพระราชาเสียตั้งอมาตย์ของตนทำหน้าที่แทน. เสรีเทพบุตรหมายเอา
ข้อนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า มม ทานํ ปฏิกฺกมิ ความว่า ทานของ
ข้าพระองค์ที่ให้ ณ ประตูนั้น ก็เปลี่ยนไป แม้ในประตูที่เหลือก็นัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า โกจิ แปลว่า ในที่ไหน ๆ. บทว่า ทีฆรตฺตํ ได้แก่ 80,000
ปี ได้ยินว่า ทานของพระราชาพระองค์นั้น ปรากฏตลอดกาลประมาณเท่านั้น.
จบอรรถกถาเสรีสูตรที่ 3

4. ฆฏิการสูตร*



[287] ฆฏิการเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภิกษุ 7 รูป ผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้น
อวิหาเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะโทสะ
แล้ว ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกเสีย
ได้แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ก็ภิกษุเหล่านั้น คือใครบ้างผู้ข้าม
พ้นเครื่องข้องแห่งมัจจุมาร อันแสนยากที่
จะข้ามได้ ละกายของมนุษย์แล้ว ก้าวล่วง
เครื่องประกอบอันเป็นทิพย์.

ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
คือ ท่านอุปกะ 1 ท่านผลคัณฑะ 1
ท่านปุกกุสาติ 1 รวมเป็น 3 ท่าน ท่าน
ภัททิยะ 1 ท่านขัณฑเทวะ 1 ท่านพาหุ-
รัคคิ 1 ท่านสิงคิยะ 1 (รวมเป็น 7 ท่าน)
ท่านเหล่านั้นล้วนแต่ละกายของมนุษย์
ก้าวล่วงเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้
แล้ว.

* ในอาทิตตวรรคที่ 5 สูตรที่ 10 เป็นฆฏิกรสูตร
ม. เป็นฆฏิการสูตร เหมือนกันทั้ง 2 สูตร.