เมนู

อรรถกถานันทนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนันทนสูตรที่ 4 ต่อไป :-
นันทนเทพบุตร เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตรว่า โคตม.
บทว่า อนาวฏํ ความว่า เมื่อพรํะตถาคตทรงส่งพระสัพพัญญุคญาณ ต้นไม้
หรือภูเขา ไม่สามารถจะขวางกั้นได้เลย เพราะฉะนั้น นันทนเทพบุตรจึง
กล่าวว่า อนาวฏํ. ครั้นชมพระตถาคตดังนั้นแล้ว เมื่อจะถามปัญหาซึ่งแต่งไว้
ในเทวโลก จึงทูลถามว่า กถํวิธํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ทุกฺขมติจฺจ อิริยติ แปลว่า ล่วงทุกข์อยู่. บทว่า สีลวา ได้แก่ พระ-
ขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยศีล ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. ปัญญา เป็นต้น ก็
พึงทราบว่า ระคนกันเหมือนกัน. บทว่า ปูชยนฺติ ความว่า บูชาด้วยของ
หอมและดอกไม้เป็นต้น.
จบอรรถกถานันทสูตรที่ 4

5. จันทนสูตร



[260] จันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน
และกลางวัน จะข้ามโอฆะได้อย่างไร
ใครไม่จมในห่วงน้ำลึก อันไม่มีที่พึ่ง ไม่
มีที่ยึดเหนี่ยว.

[261] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ทุกเมื่อ มี
ปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความ
เพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้าม
ได้ยาก เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้ สิ้นภพเป็นที่เพลิด
เพลินแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก.


อรรถกถาจันทนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจันทนสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า อปฺปติฏฺเฐ อนาลมเพ ได้แก่ ไม่มีที่พึ่งในเบื้องต่ำ ไม่มี
ที่ยึดในเบื้องบน. บทว่า สุสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอัปปนาสมาธิ
บ้าง ด้วยอุปจารสมาธิบ้าง. บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีตนส่งไปแล้ว