เมนู

อรรถกถาฆัตวาสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฆัตวาสูตรที่ 1 แห่งฆัตวาวรรคต่อไป :-
บทว่า ฆตฺวา แปลว่า ฆ่าแล้ว. บทว่า สุขํ เสติ เเปลว่า อยู่
เป็นสุข อธิบายว่า ชื่อว่า อยู่เป็นสุขเพราะไม่ต้องถูกแผดเผาด้วยความเร่าร้อน
คือ ความโกรธ. บทว่า น โสจติ แปลว่า ไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ชื่อว่า
ไม่เศร้าโศก เพราะความที่โทมนัส คือความโกรธพินาศไปแล้ว. บทว่า
วิสมูลสฺส แปลว่า มีรากเป็นพิษ คือ มีวิบากเป็นทุกข์. บทว่า มธุรคฺคสฺส
แปลว่า มียอดหวาน อธิบายว่า เพราะค่าตอบบุคคลผู้ด่าแล้ว เพราะประหาร
ตอบบุคคลผู้ประหารแล้ว ความสบายย่อมเกิดขึ้น. ความโกรธนั้น ท่านกล่าว
ว่า มียอดหวาน หมายเอาความสุขนั้น. ในที่นี้ความสิ้นสุด ท่านกล่าวว่า ยอด
ดังนี้. บทว่า อริยา ได้แก่ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
จบอรรถกถาฆัตวาสูตรที่ 1

2. รถสูตร



[200] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอเป็นสง่าของรถ อะไร
หนอเป็นเครื่องปรากฏของไฟ อะไรหนอ
เป็นสง่าของแว่นแคว้น อะไรหนอเป็น
สง่าของสตรี.

[201] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่อง
ปรากฏของไฟ พระราชาเป็นสง่าของ
แว่นแคว้น ภัสดาเป็นสง่าของสตรี.


อรรถกถารถสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในรถสูตรที่ 2 ต่อไปนี้ :-
ธงชื่อว่า เป็นสง่า เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปรากฏ (แห่งรถ
นั้น). บทว่า ธโช รถสฺส ความว่า ก็นักรบนั้นเห็นธงแต่ที่ไกล คือ
บนยอดแห่งสงครามใหญ่ ย่อมทราบว่ารถนี้ เป็นของพระราชาพระนามโน้น
เพราะฉะนั้น รถนั้นจึงปรากฏได้ (ด้วยธงนั้น) ด้วยคำนั้นแหละ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธโช รถสฺส ปญฺญาณํ แปลว่า ธงเป็นความสง่า