เมนู

สํฆเภทาย ฐิโต เป็นต้น แปลว่า ท่านพระอนุรุทธะ มีสัทธิวิหาริก ชื่อ
ว่า พาหิกะ ตั้งอยู่มั่นคงในการทำลายสงฆ์.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึง การแยกจากหมู่ เช่นในประโยคที่มีคำ
ว่า เกวลี วุสิตฺวา อุตฺตมปุริโส วุจฺจติ แปลว่า อยู่แยกกัน ท่านกล่าว
ว่า เป็นอุตตมบุรุษ. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเกวลศัพท์ที่ใช้ในความหมายถึง
ความไม่มีส่วนเหลือ.

ว่าด้วยกัปปศัพท์



ก็กัปปศัพท์นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นในอรรถว่า เธอมั่น หรือวาง
ใจได้ ในอรรถว่าโวหาร ในอรรถว่ากาล ในอรรถว่าบัญญัติ ในอรรถว่า
การตัดหรือโกน ในอรรถว่า วิกัปปะ (ประมาณหรือควร) ในอรรถว่า เลส
(เลสนัย หรือข้ออ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ) ในอรรถว่าโดยรอบเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น เช่นในประโยคที่มี
อาทิอย่างนี้ว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถาตํ อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺสฺส
แปลว่า ข้อนั้น ควรวางใจได้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โวหาร (คำชี้แจง) เช่นในประโยคที่มี
อาทิอย่างนี้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจหิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ
แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อการบริโภคผลโดยทำกัปปะของ
สมณะ 51 อย่าง.
1. กัปปะ 5 ในพระวินัยเรียกว่าทำกัปปิยะคือ อคฺคิปริจิตํ ผลที่ลนไฟ 2 สตฺถปริจิตํ ผลที่เจาะ
ด้วยศาสตรา 3 นขปริจิตํ ผลที่เจาะด้วยเล็บ 4 อพีชํ ผลที่ไม่เป็นพืช 5 นิพฺพฏฺพชํ ผลที่
เอาเม็ดออกแล้ว

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า กาล เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่างนี้ว่า
เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ วิหรามิ แปลว่า ทราบว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็น
นิตย์.
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า บัญญัติ1 เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่าง
นี้ว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป แปลว่า ด้วยเหตุนี้ ท่านผู้มีอายุ จึงมีชื่อว่า กัปปะ.
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โกนตัด เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
อลงฺกตา กปฺปิตเกสมสฺสุ แปลว่า โกนผมและหนวดเสร็จแล้ว.
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า วิกัปปะ (ประมาณและควร) เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุกลกปฺโป แปลว่า ประมาณพระ-
อาทิตย์คล้อย 2 องคุลี ก็ควร.
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า เลส (เหตุเล็กน้อย) เช่นในประโยคที่
มีอาทิอย่างนี้ว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุํ แปลว่า เหตุเล็กน้อย เพื่อจะ
เอนกายมีอยู่.
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โดยรอบ เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่างนี้ว่า
เกวลกปฺปํ เวฬุวนํ โอภาเสตฺวา แปลว่า ยังพระเชตวันโดยรอบทั้งสิ้น
ให้สว่างไสวแล้ว.
แต่กัปปศัพท์ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาในอรรถว่า โดยรอบ เพราะ
ฉะนั้น ในคำว่า เกวลกปฺปํ เชตวนํ บัณฑิตพึงเห็นอย่างนี้ว่า ยังพระ-
วิหารเซตวันโดยรอบทั้งสิ้น
ดังนี้.
บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่ แผ่ไปซึ่งรัศมีอันเกิดขึ้นจากผ้า เครื่อง
ประดับและสรีระ กระทำให้มีรัศมีเดียวกัน ให้มีโอภาสเดียวกัน ดุจพระจันทร์
และพระอาทิตย์.
1. หมายถึงนามบัญญัติ คือการตั้งชื่อ

บทว่า เยน ในข้อว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติ
ลงในอรรถแห่งสัตตวิภัตติ ฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ใด เทวบุตรนั้นก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด เทวบุตรนั้น ก็เข้าไป
เฝ้าแล้ว ด้วยเหตุนั้น ดังนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พึงเข้าไปเฝ้า. ตอบว่า เพราะท่านเหล่านั้นมีความประสงค์เพื่อจะบรรลุคุณ
วิเศษมีประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนต้นไม้ให้ที่ผลิตผลตลอดฤดูกาล อัน
ฝูงนกทั้งหลายพากันไปยังต้นไม้นั้น ด้วยประสงค์จะจักกินซึ่งผลมีรสอร่อย
ฉะนั้น.
อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีคำอธิบายว่า ไปแล้ว. บทว่า อุปสงฺ-
กมิตฺวา
นี้เป็นบทแสดงถึงเวลาสิ้นสุดลงของเวลาเข้าเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ข้อนี้มี
คำอธิบายว่า เทวบุตรนั้นไปแล้วอย่างนี้ คือไปสู่สถานที่ซึ่งใกล้กว่านั้น
กล่าวคือ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ก็มี.
บัดนี้ เทวบุตรนั้น มาสู่ที่บำรุงแห่งบุคคลผู้เลิศในโลก ด้วยประโยชน์
อันใด เป็นผู้ใคร่เพื่อทูลถามถึงประโยชน์อันนั้น จึงทำอัญชลีกรรมอันรุ่งเรือง
แล้วด้วยอันประชุมแห่งเล็บทั้งสิบ นมัสการประดิษฐานไว้เหนือศีรษะแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ศัพท์ว่า เอกมนฺตํ เป็นศัพท์แสดง
ภาวนปุงสกลิงค์ ดุจในคำทั้งหลาย มีคำว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียน
ไป มิได้สม่ำเสมอกัน เป็นต้น. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความใน
ที่นี้ว่า เทวบุตรนั้น ได้ยืนอยู่แล้วโดยกิริยาที่ยืนอยู่แล้วนั้น ชื่อว่า ยืนอยู่แล้ว

ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง คำว่า เอกมนฺตํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ
ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อฏฺฐาสิ ได้แก่ย่อมสำเร็จซึ่งอิริยาบถยืน.
จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้ควรเคารพในฐานครู ย่อมยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
เพราะความที่คนเป็นผู้ฉลาดในการนั่ง. ก็เทวดานี้เป็นองค์ใดองค์หนึ่ง ใน
บรรดาผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่ง ดังนี้. ถามว่า ก็ยืนอยู่อย่างไร จึงชื่อว่า ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ส่วนข้างหนึ่ง. ตอบว่า เว้นโทษของการยืน 6 อย่าง คือ
ยืนไกลเกินไป
ยืนใกล้เกินไป
ยืนเหนือลม
ยืนในที่สูง
ยืนตรงหน้าเกินไป
ยืนข้างหลังเกินไป

จริงอยู่ บุคคลผู้ยืนไกลเกินไปถ้าประสงค์จะพูด ก็จะต้องพูดเสียงดัง
ถ้ายืนใกล้เกินไปย่อมจะเบียดเสียดกัน ถ้ายืนเหนือลมย่อมเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัว
ถ้ายืนในที่สูงย่อมประกาศถึงความไม่เคารพ ยืนตรงหน้าเกินไปถ้าประสงค์จะ
มองก็จะต้องจ้องตากัน ยืนข้างหลังเกินไป ถ้าใคร่จะเห็นหน้าก็จะต้องชะเง้อ
คอดู เพราะฉะนั้น แม้เทวบุตรนี้ ก็ยืนเว้นโทษ 6 เหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวไว้ว่า เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ แปลว่า ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
บทว่า เอตทโวจ แยกบทเป็น เอตํ อโวจ แปลว่า ได้กราบทูล
คำนี้. บทว่า กถํ นุ เป็นการณปุจฉา.

จริงอยู่ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ปรากฏแก่
หมื่นโลกธาตุ ด้วยเหตุนั้น ความสงสัยของเทวดานี้ ในที่นี้ว่า ก็พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้วด้วยเหตุนี้ จะไม่ทรงทราบอะไร ๆ ย่อมไม่มี
ด้วยเหตุนั้น เทวดานั้น เมื่อจะทูลถามถึงเหตุที่ทรงข้ามโอฆะนั้น จึงกราบทูล
อย่างนี้.
บทว่า มาริส นี้เป็นคำร้องเรียกด้วยถ้อยคำอันไพเราะ. อธิบายว่า
ผู้ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ผิว่าครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ เมื่อใด บุคคลถูก
เสียบแทงหัวใจด้วยหลาว หรือเมื่อเราไหม้อยู่ในนรกสักพันปี ดังนี้ คำว่า
มาริสะ นี้ย่อมคลาดเคลื่อนไป เพราะว่าสัตว์นรกที่ชื่อว่า ผู้ไม่มีทุกข์หามีไม่
สัตว์นรกเป็นผู้ไม่ปราศจากทุกข์ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า
มาริส (ท่านผู้ไม่มีทุกข์) ด้วยเสียงของผู้เจริญแล้ว ได้ยินว่า ในกาลก่อน
โวหารว่า มาริส นี้เป็นของมนุษย์ต้นกัลป์ ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้สมบูรณ์ด้วย
ความสุข ต่อมาภายหลัง ความทุกข์จะมีหรือไม่ก็ตาม ท่านก็ยังเรียกคำนี้
ด้วยเสียงของผู้เจริญแล้วนั่นแหละ เหมือนสระบัวทั้งหลาย ที่ไม่มีดอกบัวก็ดี
ไม่มีน้ำก็ดี ท่านก็เรียกว่า สระบัวฉะนั้น.
โอฆะ 4 ในพระบาลีว่า โอฆมตริ นี้คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ
และอวิชโชฆะ. ในโอฆะเหล่านั้น ความยินดีพอใจ ในกามคุณ 5 ชื่อว่า
กาโมฆะ. ความยินดีพอใจในรูปารูปภพและความใคร่ในฌาน ชื่อว่า ภโวฆะ.
ทิฐิ 62 ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ. ความไม่รู้ในสัจจะ 4 ชื่อว่า อวิชโชฆะ.
ในบรรดาโอฆะ 4 เหล่านั้น กาโมฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอัน
สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง. ภโวฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตุปบาทอันสหรคตด้วย

โลภทิฏฐิคตวิปปยุต 4 ดวง. ทิฎโฐฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสัมปยุต
ด้วยทิฏฐิคตะ 4 ดวง. อวิชโชฆะ. ย่อมเกิดขึ้นในอกุศลทั้งปวง.
ก็ธรรมทั้งหมดนี้ ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป
และเพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่. คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป
อธิบายว่า เป็นเหตุให้ตกไปในเบื้องต่ำ. จริงอยู่ โอฆะนี้ย่อมยังสัตว์ทั้งหลาย
ที่อยู่ในอำนาจของตนให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือ ให้เกิดในทุคติต่าง ๆ มีนรก
เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ให้ไปในเบื้องบน คือ พระนิพพาน ย่อมให้
ไปในเบื้องต่ำ คือ ในภพ 3 กำเนิด 4 คติ 5 วิญญาณฐิติ 7 และสัตตาวาส 9
ดังนี้บ้าง. คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่ อธิบายว่า เพราะหมู่แห่งกิเลส
นี้ใหญ่แผ่กระจายอำนาจไปตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงภวัคคภูมิ หมู่แห่งกิเลสคือ
โอฆะนี้ใด ชื่อว่า มีความยินดีพอใจในกามคุณ 5 แม้ในโอฆะที่เหลือก็นัย
นี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบกิเลสชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อตริ อธิบายว่า เทวบุตรนั้น ทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ข้ามโอฆะแม้ทั้ง 4 นี้ด้วย อย่างไรหนอ ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาของเทวดานั้น จึง
ตรัสคำ เป็นต้น ว่า อปฺปติฏฺฐํ ขฺวาหํ แปลว่า เราไม่พักอยู่เป็นต้น. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อปฺปติฏฺฐํ แก้เป็น อปฺปติฏฺฐหนฺโต แปลว่า
ไม่พักอยู่. บทว่า อนายูหํ แก้เป็น อนายูหนฺโต แปลว่า ไม่เพียรอยู่
คือ ไม่พยายามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหากระทำให้เป็นคำอันลี้ลับ
ปิดบังแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
แม้เทวดาก็ฟังคำอันเป็นภายนอกก่อน ธรรมดาว่า บุคคลผู้ข้ามโอฆะ
ต้องยืนอยู่ในที่อันตนควรยืน ต้องพยายามในที่อันตนพึงข้ามจึงข้ามไปได้ แต่
พระองค์ตรัสว่า เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามได้แล้วซึ่งกองกิเลส คือกิเลส

เพียงดังโอฆะ (ห้วงน้ำวน) อันแผ่ควบคุมไปตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงภวัคคภูมิ
ดังนี้ จิตของเขาก็จะแล่นไปสู่ความสงสัยว่า นั่นอะไรหนอ จึงชื่อว่า ไม่ทราบ
ซึ่งอรรถแห่งปัญหา. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญพระบารมี
ทั้งหลายแล้วแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อต้องการจะตรัสสิ่งที่สัตว์ยังมิได้รู้
มิใช่หรือ. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อทรง
พระประสงค์จะตรัสคำเพียงเท่านี้หามิได้. ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มี 2 อย่าง คือ แสดงโดยนิคคหมุขะ และอนุคคหมุขะ. ในบรรดา 2
อย่างนั้น บุคคลเหล่าใดมีความถือตัวว่าเป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญในสิ่งที่ตนยัง
ไม่รู้ว่ารู้แล้ว ดุจพราหมณ์ 500 ที่บวชเป็นบรรพชิต เพื่อข่มมานะของ
พราหมณ์และบรรพชิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเช่นกับ
พระสูตรทั้งหลายมีมูลปริยายสูตรเป็นต้น นี้ชื่อว่า นิคคหมุขเทศนา.
พระดำรัสนี้ สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวข่มบุคคลผู้ควรข่ม
เราจักยกย่องบุคคลผู้ควรยกย่อง ภิกษุใดมีธรรมเป็นสาระ ภิกษุนั้นจักดำรงอยู่
ดังนี้.
ส่วนชนเหล่าใด เป็นผู้ตรง ใคร่ต่อการศึกษา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นกระทำให้เป็นผู้รู้ได้ง่าย เช่นในสูตรทั้งหลายมี
อากังเขยยสูตรเป็นต้น ทั้งยังชนเหล่านั้นให้ปลอดโปร่งใจ เช่นในคำว่า
ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง ... ด้วยโอวาทอันเรากล่าวแล้ว
ด้วยการศึกษาอันเรากล่าวแล้ว ด้วยอนุสาสนีอันเรากล่าวแล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่า
อนุคคหมุขเทศนา.
ก็เทวบุตรนี้มีมานะกระด้าง (มีความกระด้างด้วยการถือตัว) สำคัญ
ตนว่าเป็นบัณฑิต. ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมรู้
โอฆะ ย่อมรู้ซึ่งความที่พระตถาคตเจ้า ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว แต่ว่าเรายังไม่รู้

เหตุเพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะ ด้วยเหตุนี้ได้อย่างไร
ดังนี้ เราจักรู้อรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบนั่นแหละ คำใดน้อยหรือ
มากที่เรายังไม่รู้ เราจักรู้คำนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วทีเดียว เพราะ
ว่าคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไรนั้นเรายังไม่ทราบ ดังนี้.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา จึงตรัสปัญหาทำให้เป็นปัญหาซ่อนเร้น
(คือเข้าใจยาก) ด้วยพระดำริว่า เทวบุตรนี้ยังไม่ละมานะนี้ ก็ไม่ควรเพื่อจะ
รับธรรมเทศนา เปรียบเหมือนผ้าที่ยังเศร้าหมอง (ยังไม่ซักให้สะอาด) ไม่
ควรจะย้อมสี เราจักข่มมานะของเทวบุตรนี้ก่อน แล้วจักประกาศเนื้อความนั้นอีก
แก่เธอโดยไม่มีจิตต่ำเช่นนี้ถามอยู่ ดังนี้.
แม้เทวบุตรนั้นก็ได้เป็นผู้มีมานะอันพระองค์นำออกแล้ว และเทศนานั้น
พึงทราบโดยคำถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป เพราะความที่เธอเป็นผู้มีมานะอันพระองค์
นำออกแล้วนั่นแหละ ทั้งเนื้อความนี้ก็ได้เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ถามปัญหา
เทวบุตรทูลถามว่า ข้าแด่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร
ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ข้าพระองค์จะทราบได้โดยประการใด ขอพระองค์จง
ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์โดยประการนั้นเถิด ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสตอบปัญหาแก่เทวบุตรนั้น
จึงตรัสว่า ยทา สฺวาหํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา สฺวาหํ
แก้เป็น ยสฺมึ กาเล อหํ (แปลว่าในกาลใดเรา). สุอักษร เป็นเพียงนิบาต.
ก็สุอักษรในที่นี้ฉันใด ในบททั้งปวงก็ฉันนั้น. บทว่า สํสีทามิ ความว่า เมื่อ
เราไม่ข้ามก็จมอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ. บทว่า นิพฺพุยฺหามิ ความว่า เมื่อเราไม่
อาจเพื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมเป็นไปล่วงปัญหาแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว อย่างนี้
ว่า เราไม่พักไม่เพียรข้ามโอฆะได้แล้ว ดังนี้ แม้จะเป็นปัญหาอันเทวดาทราบแล้ว
แต่ก็ไม่แจ่มแจ้ง เพราะเห็นโทษคือความไม่เข้าใจในเพราะการหยุดอยู่และใน

ความพยายามเพื่อกระทำอรรถนั้นให้ปรากฏ ท่านจึงแสดงธรรมอันเป็นหมวด
ทุกะ 7 หมวด.
จริงอยู่ ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง
ว่าด้วยตัณหาและทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่ง
กิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย.
อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.
ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง
ว่าด้วยสัสสตทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ
เมื่อบุคคลเพียรชื่อว่า ย่อมลอย เพราะว่าภวทิฐิ ยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชา
แต่วิภวทิฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป. อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจการติด
(ลินะ) เมื่อพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะ เมื่อเพียร ชื่อว่า
ย่อมลอย.
อนึ่ง ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.
ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่า ย่อมลอย. ว่าด้วยอำนาจแห่ง
อกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่ง
กุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. ข้อนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
เสยฺยถาปิ จุนฺท เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อโธ ภาคํ
คมนียา เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อุปริ ภาคํ คมนียา
ดังนี้
แปลว่า ดูก่อนจุนทะ อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ อกุศลธรรมทั้งหมด

เหล่านั้น พึงส่งไปในเบื้องต่ำ กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ กุศลธรรม
ทั้งหมดเหล่านั้น พึงส่งไปในเบื้องบน.
เทวดาฟังวิสัชนาปัญหานี้แล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นผู้ยินดี
แล้ว เลื่อมใสแล้ว ประกาศอยู่ซึ่งความยินดีและความเสื่อมใสของตนแล้ว จึง
กล่าวคำเป็นคาถาว่า จิรสฺสํ วต เป็นต้น แปลว่า นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะ
เห็นขีณาสวพราหมณ์ ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่อง
เกาะเกี่ยวในโลก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสฺสํ ความว่า โดยกาลอัน
ล่วงไปแห่งกาลนาน.
ได้ยินว่า เทวดานี้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ
จำเดิมแต่พระองค์ปรินิพพานแล้ว ยังไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นใน
ระหว่างกาลอันยาวนานนี้ เพราะฉะนั้น ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนี้
จึงได้กราบทูลอย่างนี้. ถามว่า ก็ในกาลก่อนแต่กาลนี้ เทวดาองค์นี้ ไม่เคย
เห็นพระบรมศาสดา หรือ. ตอบว่า เห็นหรือไม่เห็น จงยกไว้ เพราะอาศัย
ทัสสนะ (คือบรรลุโสดาปัตติมรรค) ก็สมควรจะกล่าวอย่างนี้.
บทว่า พฺราหฺมณํ ได้แก่ ขีณาสวพราหมณ์ ผู้มีบาปอันปิดกั้นแล้ว.
บทว่า ปรินิพฺพุตํ ได้แก่ ผู้ดับรอบแล้ว ด้วยการดับซึ่งกิเลส. บทว่า
โลเก ได้แก่ ในสัตว์โลก. ในบทว่า วิสตฺติกํ นี้ ตัณหา ท่านเรียกว่า
เครื่องเกาะเกี่ยว เพราะเหตุที่มีการพัวพันและความอยากในอารมณ์ทั้งหลาย มี
รูปารมณ์เป็นต้น อธิบายว่าเทวดากราบทูลว่า นานหนอ ข้าพระองค์จึงจะเห็น
ขีณาสวพราหมณ์ ผู้ไม่พักไม่เพียรอยู่ ผู้ข้ามได้แล้ว ผ่านพ้นไปแล้ว คือ
รื้อถอนออกแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวนั้น ดังนี้. บทว่า สมนุญฺ-

โญ สตฺถา อโหสิ ความว่า พระศาสดาทรงชื่นชมถ้อยคำของเทวดาผู้มี
อัชฌาศัยอันแน่วแน่ ด้วยพระทัยเท่านั้น. บทว่า อนฺตรธายิ ความว่า เทวดา
นั้นละกายอันตนตกแต่งแล้วดำรงอยู่ในกาย อันเป็นอุปาทินนกะตามปกติของตน
เพราะมีความหวังอันสำเร็จแล้ว มีที่พึ่งอันได้แล้ว ได้บูชาพระทศพล ด้วย
ของหอมทั้งหลาย และพวงดอกไม้ทั้งหลาย แล้วกลับไปสู่พิภพของตน ดังนี้แล.
จบอรรถกถาโอฆตรณสูตรที่ 1

2. นิโมกขสูตร



[4] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืน
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[5] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูล
คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรง
ทราบมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของ
สัตว์ทั้งหลายหรือหนอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้จักมรรคเป็นทาง
หลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง.
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทาง
หลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างไรเล่า.
[6] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาโดยคาถานี้ ว่า
ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพอันมี
ความเพลิดเพลินเป็นมูล เพราะความสิ้น