เมนู

9. ทุติยสูตร



[174] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอเป็นเพื่อนของคน อะไร
หนอย่อมปกครองคนนั้น และสัตว์ยินดี
ในอะไรจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

[175] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญา
ย่อมปกครองคนนั้น สัตว์ยินดีในพระ-
นิพพานจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.


อรรถกถาทุติยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า กิสฺส จาภิรโต แปลว่า ยินดีในอะไร. บทว่า ทุติยา
แปลว่า เป็นเพื่อนของผู้ไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน. บทว่า ปญฺญา เจนํ
ปสาสติ
อธิบายว่า ปัญญา ย่อมแนะนำว่า เจ้าจงกระทำสิ่งนี้ อย่ากระทำ
สิ่งนี้กะคนนั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ 9

10. กวิสูตร



[176] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอเป็นต้นเหตุของคาถา
อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ)
ของคาถาเหล่านั้น คาถาอาศัยอะไรหนอ
อะไรหนอเป็นที่อาศัยของคาถา.

[177] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถา อักขระ
เป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถา
คาถาอาศัยแล้วซึ่งชื่อ กวีเป็นที่อาศัยของ
คาถา.


อรรถกถากวิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกวิสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า ฉนฺโท นิทานํ ความว่า ฉันท์อันมีคายติฉันท์ (ขับร้อง)
เป็นอาทิ เป็นต้นเหตุของคาถาทั้งหลาย อธิบายว่า กวีเมื่อเริ่มคาถา อันตั้ง
ขึ้นในเบื้องต้น ก็ย่อมเริ่มว่า ขอคาถาจงมีอยู่โดยฉันท์อันเราทำแล้วดังนี้.
บทว่า วิยญูชนํ ได้แก่ การให้เกิดขึ้น. เพราะว่าอักขระย่อมยังบทให้เกิด
บทก็ย่อมยังคาถาให้เกิด. คาถาย่อมส่องถึงเนื้อความ. บทว่า นามสนฺนิสฺสิตา