เมนู

8. อุปปถสูตร



[172] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอบัณฑิตกล่าวว่าเป็นทางผิด
อะไรหนอสิ้นไปตามคืนและวัน อะไรหนอ
เป็นมลทินของพรหมจรรย์ อะไรหนอ
มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง.
[173] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ราคะบัณฑิตกล่าวว่าเป็นทางผิด
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทิน
ของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมติดอยู่ใน
หญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์นั้น มิใช่น้ำ
แต่เป็นเครื่องชำระล้าง.

อรรถกถาอุปปถสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุปปถสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บทว่า ราโค อุปฺปโถ ความว่า ราคะนั้นมิใช่ทางของผู้ไปสู่สุคติ
และพระนิพพาน. บทว่า รตฺติทิวกฺขโย ได้แก่ ย่อมสิ้นไปทั้งกลางคืนและ
กลางวัน. บทว่า อิตฺถี อธิบายว่า มลทินภายนอกที่เหลือ (นอกจากมลทิน
ของพรหมจรรย์) บุคคลอาจเพื่อชำระล้างให้สะอาดได้โดยการตกแต่งแก้ไขให้

ปราศจากไปเป็นต้น ส่วนผู้ที่ถูกต้องมลทิน คือ มาตุคาม ไม่อาจเพื่อให้
บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หญิงเป็นมลทิน
ดังนี้. บทว่า เอตฺถ แปลว่า หมู่สัตว์ย่อมติดอยู่ในหญิงนี้. บทว่า ตโป
ความว่า เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร ธุดงคคุณ และทุกกรกิริยา แต่ในที่นี้
ยกเว้นทุกกรกิริยาเสีย จึงสมควรเป็นปฏิปทาที่เผากิเลสแม้ทั้งหมด. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ เมถุนวิรัติ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอุปปถสูตรที่ 8

9. ทุติยสูตร



[174] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอเป็นเพื่อนของคน อะไร
หนอย่อมปกครองคนนั้น และสัตว์ยินดี
ในอะไรจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

[175] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญา
ย่อมปกครองคนนั้น สัตว์ยินดีในพระ-
นิพพานจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.


อรรถกถาทุติยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า กิสฺส จาภิรโต แปลว่า ยินดีในอะไร. บทว่า ทุติยา
แปลว่า เป็นเพื่อนของผู้ไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน. บทว่า ปญฺญา เจนํ
ปสาสติ
อธิบายว่า ปัญญา ย่อมแนะนำว่า เจ้าจงกระทำสิ่งนี้ อย่ากระทำ
สิ่งนี้กะคนนั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ 9