เมนู

อรรถกถาชราสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 1 แห่งชราวรรคที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า สาธุ ความว่า ย่อมให้บรรลุประโยชน์อันดี. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงคำว่า สาธุ นี้ ด้วยบทว่า สีลํ ยาว ชรา นี้ ก็
เครื่องประดับ ทั้งหลายมีแก้วมุกดาแก้วมณีและผ้าเป็นต้น ย่อมงามแก่บุคคลใน
เวลาที่ยังเป็นหนุ่มสาวเท่านั้น เมื่อบุคคลทรงเครื่องประดับเหล่านั้นในเวลาที่
ตนเป็นผู้แก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา ก็จะประสบถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า
บุคคลนี้ย่อมปรารถนาจะเป็นเด็กแม้ในวันนี้ เห็นจะเป็นบ้า ดังนี้ ส่วนศีลหา
เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่า ศีลย่อมงามตลอดกาลเป็นนิตย์ ชนทั้งหลายย่อม
รักษาศีลในวัยเด็กก็ดี ในวัยกลางคนก็ดี ในวัยแก่ก็ดี ย่อมไม่มีผู้ที่จะกล่าวว่า
มีประโยชน์อะไรด้วยศีลของบุคคลนี้ ดังนี้. บทว่า ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จ
อธิบายว่า ชื่อว่า ศรัทธาตั้งมั่นอันมาแล้วด้วยมรรค
ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เหมือนศรัทธาของชนทั้งหลายมีหัตถกะอุบาสก
ชาวอาฬวกะและจิตตคหบดี เป็นต้น. ในคำว่า ปัญญาเป็นรัตนะของคน
ทั้งหลาย
นี้บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น รัตนะ เพราะชนทั้งหลายทำความยำเกรง.
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าว่ารัตนะ คือบุคคลผู้อันบุคคล
พึงทำความยำเกรงไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นผู้อัน
บุคคลพึงทำความยำเกรงมิใช่หรือ แม้ชนทั้งหลายผู้ควรยำเกรงในโลกมีอยู่ ชน
เหล่านั้น ควรทำความยำเกรงในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผิว่า รัตนะ คือบุคคล
ผู้ประกอบความยินดีไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นผู้
อันบุคคลพึงทำความยินดีมิใช่หรือ เพราะเมื่อพระพฤติตามคำของพระองค์