เมนู

อรรถกถาฆฏิกรสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในฆฏิกรสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า ผู้เข้าถึง ได้แก่ เข้าถึงแล้วด้วยอำนาจแห่งความเกิดขึ้น.
บทว่า เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ได้แก่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ด้วยความหลุดพ้น
แห่งพระอรหัตผลในระหว่างแห่งเวลาใกล้ชิดกับความอุบัติขึ้นในอวิหาพรหม
โลก.
ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่างนี้ว่า มานุสํ
เทหํ
แปลว่ากายของมนุษย์. ตรัสสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 อย่าง ด้วย
บทว่า ทิพฺพโยคํ แปลว่า ทิพยโยคะ นี้. บทว่า อุปจฺจคุํ แปลว่า ก้าว
ล่วงแล้ว. บทว่า ท่านอุปกะ เป็นต้น เป็นชื่อของพระเถระเหล่านั้น. บทว่า
ความฉลาด ในคำว่า ท่านเป็นผู้มีความฉลาด กล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่า
นั้น นี้มีอยู่แก่บุคคลนี้ใด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีความฉลาด
อธิบายว่า ท่านเป็นผู้มีความฉลาด มีวาจาไม่มีโทษกล่าวชมเชยสรรเสริญ
พระเถระเหล่านั้น คือว่า ตรัสว่า ดูก่อนเทวบุตร ท่านเป็นผู้ฉลาด. บทว่า
ตํ เต ธมฺมํ อิธญฺญาย ความว่า พระเถระเหล่านั้นรู้ธรรมนั้นในพระศาสนา
ของพระองค์นี้. บทว่า คมฺภีรํ ได้แก่ มีอรรถอันลึก. บทว่า ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ไม่เกี่ยวด้วยอามิส
ความว่า ชื่อว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่
เกี่ยวด้วยอามิส คือ พระอนาคามี. อธิบายว่า ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีแล้ว.
บทว่า อหุวา แปลว่า ได้เคยเป็นแล้ว. บทว่า สคาเมยฺโย แปลว่า ได้เคย
เป็นคนร่วมบ้านกับพระองค์. ปริโยสานคาถา พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว.
จบอรรถกถาฆฏิกรสูตรที่ 10
จบอาฑิตตวรรคที่ 5

สูตรที่กล่าวในอาทิตตวรรคนั้น คือ


1. อาทิตตสูตร 2. กินททสูตร 3. อันนสูตร 4. เอกมูลสูตร
5. อโนมิยสูตร 6. อัจฉราสูตร 7. วนโรปสูตร 8. เชตวนสูตร
9. มัจฉริสูตร 10. ฆฏิกรสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.