เมนู

อรรถกถามัจฉริสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า มจฺฉริโน แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความตระหนี่. จริงอยู่
คนบางคนไม่ยอมเหยียดมือออกไหว้แม้ภิกษุทั้งหลายในที่เป็นที่อยู่ของตน คือว่า
อุบาสกคนหนึ่งไปในที่อื่นเข้าไปสู่วิหารไหว้โดยเคารพแล้ว ทำการทักทาย
ปราศรัย กับภิกษุด้วยถ้อยคำอันไพเราะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลาย
ย่อมไม่มาสู่ที่เป็นที่อยู่ของพวกกระผม ที่นั้น เป็นประเทศอันสมบูรณ์ พวก
กระผมสามารถเพื่อทำการบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายด้วยาคูและภัตเป็นต้น.
ภิกษุคิคว่าอุบาสกนี้มีศรัทธาจะสงเคราะห์พวกเราด้วยข้าวยาคูเป็นต้น . ลำดับนั้น
พระเถระรูปหนึ่งเข้าไปบ้านนั้น เพื่อเที่ยวไปบิณฑบาต. ฝ่ายอุบาสกนั้นเห็น
พระเถระนั้นแล้ว ย่อมเลี่ยงไปทางอื่น หรือเข้าไปสู่เรือน คิดว่า ถ้าพระเถระ
มาประจัญหน้า เราก็ต้องยกมือไหว้ แล้วก็ต้องถวายภิกษาแก่พระผู้เป็นเจ้า
อย่ากระนั้นเลย เราจะไปด้วยการงานอะไรสักอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้วหลบหลีกไป
พระเถระเที่ยวไปสู่บ้านทั้งสิ้น เป็นผู้มีบาตรเปล่าเทียวออกมาแล้ว. ข้อนี้
ชื่อว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน (มุทุมัจฉริยะ).
บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก คือเป็นผู้ประกอบ
ด้วยเหตุอันใดนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาบุคคลผู้มีความตระหนี่จัด (ถัทธ-
มัจฉริยะ) คือว่า อุบาสกนั้นประกอบด้วยมัจฉริยะอันใด เมื่อมีผู้กล่าวว่า
ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พระเถระทั้งหลายยืนอยู่แล้ว ดังนี้
ก็จะพูดว่า เท้าของเราเจ็บมิใช่หรือ จะเป็นผู้กระด้างยืนอยู่ ดุจเสาหิน หรือ
ดุจตอไม้ ย่อมไม่กระทำแม้สามีจิกรรม.

บทว่า กทริยา ความเหนียวแน่น นี้เป็นไวพจน์ของความตระหนี่
นั่นแหละ เพราะว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน ท่านเรียกว่า มัจฉริยะ ส่วนความ
ตระหนี่จัด ท่านเรียกว่า กัทริยะ. คำว่า ปริภาสกา ดีแต่ว่าเขา คือว่า
เห็นภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ที่ประตูบ้าน ก็จะคุกคามด้วยคำว่า พวกท่านไถนา
มาหรือ หรือหว่านข้าวมา จึงมาเร็วนัก แม้พวกเราก็ยังไม่ได้เพื่อตน จักได้
อาหารเพื่อท่านแต่ที่ไหน ดังนี้เป็นต้น. คำว่า อนฺตรายกรา แปลว่า
ทำการกีดขวาง คือ เป็นผู้ทำอันตรายทั้งหลายของชนเหล่านี้คือ ทำอันตราย
สวรรค์ของทายก ทำอันตรายลาภของปฏิคาหก และทำลายตัวเอง. คำว่า
สมฺปราโย ได้แก่ ปรโลก.
คำว่า รติ ได้แก่ ความร่าเริงในกามคุณ 5.
คำว่า ขิฑฺฑา ได้แก่ ความสนุกสนาน 3 อย่าง มีความสนุก-
สนานทางกายเป็นต้น.
คำว่า ทิฏฺเฐ ธมฺเม ส วิปาโก ได้แก่ นั่นเป็นวิบากในภพ
ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ ๆ คนเกิดแล้ว ๆ.
คำว่า สมฺปราโย จ ทุคฺคติ ได้แก่ บุคคลเหล่านั้น ย่อม
เข้าถึงยมโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภพหน้าก็เป็นทุคติ.
คำว่า วทญฺญู รู้ถ้อยคำ ความว่า ภิกษุทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูบ้าน
ถึงจะเป็นผู้นิ่งแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่า ย่อมกล่าวว่า ขอพวกท่านจง
ให้ภิกษาเพื่อประโยชน์ ดังนี้ คือว่า ชนเหล่าใด ย่อมแบ่งไทยธรรม
โดยกล่าวว่า พวกเราจะหุงภัต ชนพวกนี้ย่อมไม่หุง เมื่อเราไม่หุงอยู่ พวกภิกษุ
จักได้ภัตแต่ที่ไหน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า วทัญญู
แปลว่า รู้ถ้อยคำ.

คำว่า ปกาเสนฺติ ย่อมปรากฏ คือว่า ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีแห่ง
วิมาน. คำว่า ปรสมฺภเตสุ แปลว่า โภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้ ได้แก่
ที่ผู้อื่นรวบรวมไว้. คำว่า ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติ ความว่า สัมปรายภพที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า เอเต มคฺคา ดังนี้ ชื่อว่า สุคติ.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อชนเหล่านั้นแม้ทั้งสองพวกเคลื่อนแล้วจากที่นั้น
ภพหน้าอีก ย่อมเป็นทุคติ และสุคติ ดังนี้แล.
จบอรรถกถามัจฉริสูตรที่ 9

10. ฆฏิกรสูตร



ว่าด้วยภิกษุ 7 รูป ตัดเครื่องผูก



[152] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า
ภิกษุ 7 รูปผู้เข้าถึงพรหมโลกชื่อว่า
อวิหา เป็นผู้หลุดพ้นแล้วมีราคะ โทสะ
สิ้นแล้ว ข้ามเครื่องเกาะเกี่ยวในโลกได้
แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ก็ภิกษุเหล่านั้นคือผู้ใดบ้าง ผู้ข้าม
เครื่องข้องเป็นบ่วงของมารที่ข้ามได้แสน-
ยาก ละกายของมนุษย์แล้วก้าวล่วงซึ่ง
ทิพยโยคะ.

ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า
คือท่านอุปกะ 1 ท่านผลคัณฑะ 1
ท่านปุกกุสาติ 1 รวมเป็น 3 ท่าน ท่าน
ภัททิยะ 1 ท่านขัณฑเทวะ 1 ท่านพหุทันตี
1 ท่านสิงคิยะ 1 (รวมเป็น 7 ท่าน)
ท่านเหล่านั้นล้วนแต่ละกายของมนุษย์
ก้าวล่วงทิพยโยคะได้แล้ว.