เมนู

อภิกกันตศัพท์ ในอรรถว่า ยินดียิ่ง เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
อภิกฺกนฺตํ โภ โคตมํ อภิกฺกนฺตํ โภ โคตมํ แปลว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง ข้าแด่พระโคดม ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง.
แต่ในที่นี้ อภิกกันตศัพท์ ใช้ในอรรถว่า สิ้นไป ด้วยคำนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว สิ้นไปรอบแล้ว. ในข้อนั้น พึงทราบว่า
เทวบุตรนี้มาแล้วในเวลาใกล้ที่สุดแห่งมัชฌิมยามทีเดียว.
ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า หรือสาวก
ของพระพุทธเจ้า ย่อมมาในเวลามัชฌิมยาม เท่านั้น นี้เป็นนิยามของเทวดา
ทั้งหลาย. อภิกกันตศัพท์ ในคำว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ ใช้ในอรรถว่า
วรรณะงาม.

ว่าด้วยวัณณศัพท์



ก็วัณณศัพท์ ปรากฏในอรรถได้หลายอย่าง เช่น ในอรรถว่า ผิว
คุณความดี กุลวัคคะ (ชาติ) เหตุ ทรวดทรง ขนาด รูปายตนะ เป็นต้น.
ในบรรดาอรรถเหล่านั้น วัณณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ผิว เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า สุวณฺณวณฺโณ ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
มีผิว เพียงดังวรรณะแห่งทองคำ.
วัณณศัพท์ ในอรรถว่า คุณความดี (ถุติ) เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า กทา สพฺยุณฺหา ปน เต คหปติ สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา
แปลว่า ดูก่อนคหบดี ท่านประมวลคุณความดีของพระสมณโคดมมาไว้แต่
เมื่อไร.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า ชาติ (กุลวคฺค) เช่นในประโยคที่มีอาทิ
อย่างนี้ว่า จตฺตาโร เม โภ โคตโม วรฺณา แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ชาติ ตระกูล สี่เหล่านี้.
วัณณศัพท์ ในอรรถว่า เหตุ (การณ) เช่นในประโยคมีอาทิอย่าง
นี้ว่า ในสังยุตตนิกายวนสังยุตว่า
อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถ-
โนติ วุจฺตติ แปลว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุไร
เล่า ท่านจึงกล่าวว่า ขโมยกลิ่น.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า ทรวดทรง (สณฺฐาน) เช่นในประโยคมี
อาทิอย่างนี้ว่า มหนฺตํ หตฺถิราชวณฺณํ อภินิมฺมินิตฺวา แปลว่า นฤมิต-
ทรวดทรงเป็นพระยาช้างใหญ่.
วัณณศัพท์ ในอรรถว่า ขนาด (ปมาณ) เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ตโยปตฺตลฺส วณฺณา แปลว่า ขนาด แห่งบาตร 3 อย่าง.
วัณณศัพท์ ในอรรถว่า รูปายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
วณฺโณ คนฺโธ รโส โอชา แปลว่า สี กลิ่น รส โอชะ.
ในที่นี้ วัณณศัพท์นั้น ท่านใช้ในอรรถว่า ผิว ด้วยคำนั้นแหละ ท่าน
อธิบายว่า มีวรรณะงาม คือ ผิวงาม มีวรรณะน่าใคร่ มีวรรณะที่ชอบใจ.
จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่มนุษยโลก ละวรรณะที่มีอยู่ตามปกติ
และฤทธิ์ตามปกติแล้วทำอัตภาพให้หยาบ ทำวรรณะได้มากอย่าง ทั้งทำฤทธิ์ก็
ได้หลายอย่าง เมื่อจะไปสู่สถานที่ทั้งหลายมีสถานที่เป็นที่แสดงมหรสพ เป็นต้น
ย่อมมาด้วยกายอันตนตกแต่งแล้ว. เทวดาทั้งหลายชั้นกามาวจร แม้มีกาย
อันตนมิได้ตกแต่งแล้วก็สามารถเพื่อจะมาในที่นั้นได้ ส่วนเทวดาชั้นรูปาวจร
ไม่สามารถ อัตภาพของเทวดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกายละเอียดยิ่ง การ

สำเร็จกิจด้วยอิริยาบถโดยอัตภาพนั้นมีอยู่. ด้วยเหตุดังนั้น เทวบุตรนี้ จึงมา
ด้วยการอันตนตกแต่งแล้วทีเดียว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
อภิกฺกนฺตวณฺณา มีวรรณะงาม.

ว่าด้วยเกวลศัพท์



เกวลศัพท์ ในคำว่า เกวลกปฺปํ นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นใน
อรรถว่า โดยไม่มีส่วนเหลือ โดยมาก ทั้งหมด ความมีไม่มาก มั่นคง การ
แยกออกจากกัน เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความไม่มีส่วนเหลือ เช่น
ในประโยคมีคำว่า เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ เป็นต้น จง
ประกาศพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง.
เกวลศัพท์ มีความหมายว่า โดยมาก เช่นในประโยคมีคำว่า เกวลา
องฺคมคธา ปหูตํ ขาทนียํ โภชนียํ อาทาย อุปสงฺกมิสฺสนฺติ
เป็นต้น
แปลว่า ถือเอาขาทนียะ และโภชนียะจากแคว้นอังคะและมคธโดยมาก เพียง
พอแล้วจักเข้าไป.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึงทั้งหมด เช่นในประโยคที่มีคำว่า เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
เป็นต้น แปลว่า สมุทัย ย่อมมีแก่กอง
ทุกข์ทั้งมวล.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความมีไม่มาก เช่นในประโยคที่มีคำว่า
เกวลํ สทฺธามตฺตกํ นนุ อยมายสฺมา เป็นต้น แปลว่า ท่านผู้มีอายุ ให้
ธรรมสักว่า ศรัทธามีประมาณไม่มากเป็นไปมิใช่หรือ.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความต้องการอย่างมั่นคง เช่นในประโยค
ที่มีคำว่า อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส พาหิโก นาม สทฺธิวิหาริโก เกวลํ