เมนู

อรรถกถาอัจฉราสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัจฉราสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า อจฺฉราคณสงฺฆุฏฺฐํ ความว่า ได้ยินว่า เทวบุตรนี้บวชใน
พระศาสนาของพระศาสดา บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ ปวารณาแล้วในกาลแห่งตน
มีพรรษา 5 ทำมาติกาทั้งสองให้แคล่วคล่องแล้ว ศึกษาแล้วถึงสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำ เรียนพระกรรมฐานอันเป็นที่พอใจแล้ว เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม
เข้าไปสู่ป่า คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอนุญาตว่า มัชฌิมยามอันใด เป็นส่วน
แห่งการนอนดังนี้ แม้เมื่อมัชฌิมยามนั้นถึงพร้อมแล้ว เราก็ยังกลัวต่อความ
ประมาท ดังนี้ จึงสละเตียงนอนแล้ว พยายามทั้งกลางคืนและกลางวันทำ
กรรมฐานนั่นแหละไว้ในใจ.
ลำดับนั้น ลมทั้งหลายเพียงดังศัสตราเกิดขึ้นในภายในแห่งภิกษุนั้น
ทำลายชีวิตเสียแล้ว. ภิกษุนั้นได้ทำกาละในเพราะธุระ คือความเพียรนั่นแหละ.
อนึ่ง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จงกรมอยู่ในเพราะการจงกรมก็ตาม ยืนอยู่เพราะ
อาศัยส่วนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไว้ก็ตาม วางจีวรไว้ที่สุดแห่งที่จงกรมเหนือ
ศรีษะแล้วนั่งหรือนอนก็ตาม กำลังแสดงธรรมบนธรรมาสน์อันเขาตกแต่งใน
ท่ามกลางแห่งบริษัทก็ตาม ย่อมกระทำกาละ ภิกษุนั้นทั้งหมดชื่อว่ากระทำกาละ
ในเพราะธุระ คือความเพียร. แม้ภิกษุนี้ก็ทำกาละแล้ว ในที่เป็นที่จงกรม
เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอุปนิสัยน้อยจึงยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ได้ถือ
ปฏิสนธิในภพดาวดึงส์ที่ประตูวิมานใหญ่ ราวกะว่าหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น
อัตภาพของเทวบุตรนั้นมีสามคาวุตเกิดขึ้น เหมือนเสาระเนียดปิดทองในขณะ
นั้นนั่นแหละ. ภายในวิมานนางอัปสรประมาณหนึ่งพันเห็นเทวบุตรนั้น แล้ว

กล่าวว่า เทวบุตรผู้เป็นเจ้าของวิมานมาแล้ว พวกเราจักให้เทวบุตรนั้นพอใจ
ดังนี้ จึงถือเอาเครื่องดนตรีมาแวดล้อมแล้ว.
เทวบุตรนั้น ย่อมไม่รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้จุติแล้วก่อน ยังสำคัญว่าตน
เป็นบรรพชิตอยู่นั่นแหละ จึงเกิดความละอายเพราะเห็นหญิงทั้งหลายมาเที่ยว
ถึงที่อยู่ จึงเอาผ้าปิดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ดุจภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเอาผ้าที่วางกอง
ไว้ข้างบนมาทำเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ทั้งหลายแล้วได้ยืนก้มหน้าอยู่.
พวกนางอัปสรเหล่านั้นทราบว่า เทวบุตรนี้เป็นเทวบุตรมาแต่สมณะ
โดยเห็นการเคลื่อนไหวกายของเทวบุตรนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่
เทวบุตรผู้เป็นเจ้า นี้ชื่อว่า เทวโลก ขณะนี้มิใช่โอกาสที่จะทำสมณธรรม ที่นี้
เป็นโอกาสที่จะเสวยสมบัติ ดังนี้. เทวบุตรนั้น ได้ยืนอยู่เหมือนอย่างนั้น
นั่นแหละ. นางอัปสรเหล่านั้นคิดว่า เทวบุตรนี้ยังกำหนดไม่ได้ ดังนี้ จึง
บรรเลงดนตรีทั้งหลาย. เทวบุตรนั้นก็ยังไม่แลดูอยู่นั่นแหละ ได้ยืนอยู่แล้ว
เหมือนอย่างนั้น. ลำดับนั้น เทพธิดาทั้งหลายเหล่านั้นจึงวางกระจกอันให้เห็น
กายทั้งหมดไว้ข้างหน้า.
เทวบุตรนั้นเห็นเงาในกระจกแล้วจึงทราบความที่ตนเป็นผู้จุติแล้ว
ได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนเพราะสมบัติ ด้วยอันคิดว่า เราทำสมณธรรมมิได้
ปรารถนาฐานะเช่นนี้ เราปรารถนาพระอรหัตอันเป็นอุดมประโยชน์ ดังนี้.
เทวบุตรนั้น พิจารณาดูแผ่นผ้าดังสีทอง จึงคิดว่า ชื่อว่า สมบัติในสวรรค์นี้
เป็นของหาได้ง่าย ความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยาก ราวกะ
นักมวยปล้ำหยั่งลงสู่ที่ที่รบกัน (ย่อมต้องการของมีค่า) แต่กลับได้กำแห่งหัวมัน
ดังนี้ จึงมิได้เข้าไปสู่วิมานเลย ผู้อันหมู่แห่งนางอัปสรแวดล้อมแล้ว ด้วยทั้ง
ศีลยังมิได้ทำลายนั่นแหละมาสู่สำนักของพระทศพล ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉราคณสงฺฆุฏฺฐํ ความว่า อันหมู่
แห่งนางอัปสรให้กึกก้องแล้วด้วยการขับร้องและดนตรี. บทว่า ปิสาจคณเสวิตํ
อธิบายว่า เทวบุตรนั้น ย่อมกล่าวทำหมู่แห่งนางอัปสรนั้นนั่นแหละว่าเป็นหมู่
แห่งปีศาจ. บทว่า วนํ ความว่า เทวบุตรนั้นกล่าวหมายเอาสวนชื่อ นันทนวัน.
จริงอยู่ เทวบุตรนี้ย่อมไม่ชอบใจที่จะกล่าว หมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งเทวดา
ย่อมกล่าวหมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งปีศาจ ดังนี้ ก็เพราะจิตตนิยาม โดย
ความเป็นผู้หนักแน่นของตน. และไม่กล่าว สวนนันทนวันว่าเป็นสวนนันทนวัน
ย่อมกล่าวสวนนันทนวันว่าเป็นบ่า โมหนะ (ป่าเป็นที่หลง). บทว่า กถํ
ยาตฺรา ภวิสฺสติ
อธิบายว่า การออกไปจักมีได้อย่างไร การก้าวออกไปจักมี
ได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกวิปัสสนาอันเป็น
ปทัฏฐาน (เหตุใกล้) แห่งพระอรหัตแก่ข้าพระองค์.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาอยู่ว่า เหตุที่เทวบุตร
นี้กำหนดอยู่นั่นแหละเป็นอะไรหนอ ดังนี้ ทรงทราบแล้วซึ่งความที่เทวบุตร
นั้นเป็นบรรพชิตในศาสนาของพระองค์ จึงทรงดำริว่า เทวบุตรนี้ ทำกาละ
เพราะความเพียรอันแรงกล้าแล้วเกิดในเทวโลกทั้งอัตภาพของเธอนั้นในที่เป็น
ที่จงกรมนั่นแหละ แม้ในวันนี้ก็มิได้ทำลายศีลมาแล้ว ดังนี้.
ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วน
เบื้องต้นก่อนว่า เธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกต
ปัญญาให้ทรง ดังนี้ ราวกะนายช่างจิตรกรทำการตกแต่งฝาผนัง บอกแก่อัน-
เตวาสิกผู้ไม่มั่นใจในการกระทำ ผู้เริ่มทำครั้งแรก ผู้ไม่ชำนาญในการทำ ฉะนั้น
แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้ว พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็น
ปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าพระทัยดีว่า เทวบุตรนี้ เป็นผู้กระทำ
ผู้มีศีลยังมิได้ทำลาย ก็มรรคหนึ่งจักมีแก่เทวบุตรนี้ในอนาคต ดังนี้ เมื่อจะทรง
บอกสุญญตาวิปัสสนา จึงตรัสคำว่า อุชุโก นาม เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชุโก อธิบายว่า มรรคประกอบด้วย
องค์แปดชื่อว่า ทางตรง เพราะความที่ทางนั้นไม่มีการคดทั้งหลาย มีการคด
ทางกายเป็นต้น. บทว่า อภยา นาม สาทิสา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
หมายเอาพระนิพพาน. จริงอยู่ ในพระนิพพานนั้น ภัยอะไร ๆ ก็ไม่มี หรือว่า
ภัยนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า อภยา นาม สาทิสา แปลว่า ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย.
บทว่า รโถ อกุชชโน ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์
เอาอัฏฐังคิกมรรค. เหมือนอย่างว่า เมื่อเพลาแห่งรถไม่มีน้ำมันหยอด หรือว่า
เมื่อคนขึ้นมากเกินไป ธรรมดารถก็ต้องมีเสียงดัง คือย่อมส่งเสียงดัง ฉันใด
รถคืออริยมรรค ฉันนั้นหามิได้ จริงอยู่ รถ คือ อริยมรรคนั้นแม้สัตว์ตั้งแปด
หมื่นสี่พันขึ้นอยู่โดยการนำไปคราวเดียวกัน ย่อมไม่ดัง ย่อมไม่ส่งเสียง เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุชฺชโน แปลว่า ไม่มีเสียงดัง. บทว่า
ธมฺมจกฺเกหิ สํยุโต อธิบายว่า ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยล้อคือธรรมทั้ง
หลาย กล่าวคือความเพียรอันเป็นไปทางกายและทางใจ. บทว่า หิริ นี้ แม้
โอตตัปปะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า หิริ นั่นแหละ.
บทว่า ตสฺส อปาลมฺโพ อธิบายว่า เมื่อนักรบทั้งหลายยืนอยู่บนรถอันมีใน
ภายนอก ย่อมมีฝาที่ทำด้วยไม้เพื่อต้องการแก่อันมิให้ตกไป ฉันใด หิริ และ
โอตตัปปะแห่งรถคือมรรคนี้อันมีทั้งภายในและภายนอกเป็นสมุฏฐานเป็นเครื่อง
ป้องกัน ฉันนั้น. บทว่า สตฺยสฺส ปริวารณํ อธิบายว่า สติอันสัมปยุต
ด้วยรถคือมรรคแม้นี้เป็นเกราะกำบัง ราวกะรถของนักรบที่หุ้มด้วยวัตถุทั้งหลาย
มีหนังสีหะเป็นต้น. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ โลกกุตรมรรค.

บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิปุเร ชวํ อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา น่า
หน้าไป คือเป็นเครื่องดำเนินไปก่อน (เป็นประธาน) แห่งมรรคนั้นมีอยู่
เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่า มีสัมมาทิฏฐินำหน้า. ธรรมมีสัมมาทิฏฐิ
นำหน้านั้น คือเหมือนอย่างว่า เมื่อราชบุรุษทั้งหลายทำหนทางให้สะอาดโดย
การนำชนทั้งหลายมีคนบอดคนง่อยเป็นต้นออกไปก่อน แล้วพระราชาจึงเสด็จ
มาในภายหลัง ฉันใด ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันสัมมาทิฏฐิ
แห่งวิปัสสนาชำระให้หมดจดแล้วด้วยสามารถแห่งความเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงเป็นต้น สัมมาทิฏฐิแห่งมรรคอันกำหนดรู้อยู่ซึ่งวัฏฎะได้แล้วในภูมิ จึง
เกิดขึ้นในภายหลัง ฉันนั้นนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ธมฺมาหํ สารถึ พฺรูมิ สมฺมาทิฏฺฐิปุเร ชวํ แปลว่า เรากล่าวธรรม
มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่า เป็นสารถี.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นให้เทศนาสำเร็จด้วยประการฉะนั้นแล้ว ในที่
สุดทรงแสดงสัจจะ 4 ในเวลาที่สุดลงแห่งเทศนา เทวบุตรตั้งอยู่เฉพาะแล้วใน
โสดาปัตติผล. เหมือนอย่างว่า ในเวลาที่พระราชาเสวยพระกระยาหาร พระองค์
ก็ยกขึ้นเสวยโดยประมาณของพระองค์ บุตรที่นั่งอยู่ที่ตักก็ย่อมทำคำข้าวโดย
ประมาณแก่ปากของตน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ทรงแสดงเทศนาอันสุดยอดคือพระอรหัตอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบรรลุธรรม
ทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้นโดยสมควรแก่ธรรมเป็นอุปนิสัยของตน ฉะนั้น.
แม้เทวบุตรนี้ก็บรรลุโสดาปัตติผลแล้วบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวัดถุ
ทั้งหลายมีของหอมเป็นต้น แล้วหลีกไป.
จบอรรถกถาอัจฉราสูตรที่ 6

7. วนโรปสูตร



ว่าด้วยเจริญบุญได้ทุกเวลา



[145] เทวดาทูลถามว่า
ชนพวกไหนมีบุญ เจริญในกาลทุก
เมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหน
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้ไป
สวรรค์.

[146] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้
ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้ (ใช่ร่มเงา) สร้าง
สะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำเป็นทาน
และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้น
ย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวัน
และกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์.


อรรถกถาวนโรปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวนโรปสูตรที่ 7 ต่อไป ;-
บทว่า ธมฺมฏฺฐา สีลสมฺปนฺนา แปลว่า เทวดา ย่อมทูลถามว่า
ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
จะทรงแสดงปัญหานี้โดยวัตถุก่อน จึงตรัสว่า อารามโรปา เป็นอาทิ. บรรดา