เมนู

10. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร



คาถาของธิดาท้ายปัชชุนนะ



[133] ข้าพเจ้าไค้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่า
มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[134] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา
มีวรรณะสว่างดังสายฟ้ามาแล้วในที่นี้ไหว้
พระพุทธเจ้า และพระธรรม ได้กล่าวแล้ว
ซึ่งคาถาทั้งหลายนี้มีประโยชน์เที่ยว หม่อม
ฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก
ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใด
ที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉัน
จักกล่าวอรรถกถาอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ
ไม่ควรทำกรรมอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ
หรือด้วยกายอย่างไร ๆ ในโลกทั้งปวง

ใคร ๆ ละกามทั้งหลายแล้ว มีสติสัม-
ปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์.

จบ สตุลลปกายิกวรรค ที่ 4

อรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า ธมฺมํ จ อธิบายว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อ จุลลโกกนทา
กล่าวว่า หม่อมฉันมาในที่นี้ ไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนตรัย คือ ซึ่งพระสงฆ์ด้วย
คำว่า จ ศัพท์ คือว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์. บทว่า อตฺถวตี
แปลว่า มีประโยชน์. บทว่า พหุนาปิ โข ตํ ความว่า ได้แก่เทพธิดาชื่อจุลล-
โกกนทานั้น ได้กล่าวธรรมใด แม้ธรรมนั้น หม่อมฉันก็พึงจำแนกได้โดยปริยาย
มาก. บทว่า ตาทิโส ธมฺโม แปลว่า ธรรมเช่นนั้น อธิบายว่า เทพธิดา
ชื่อจุลลโกกนทา ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ธรรมนี้มีการ
ดำรงอยู่อย่างนั้น มีส่วนเปรียบได้ดี เป็นธรรมควรแก่การจำแนกโดยปริยาย
ทั้งหลายมาก ดังนี้.
บทว่า ลปยิสฺสามิ แก้เป็น กถยิสฺสามิ อธิบายว่า เทพธิดา
จุลลโกกนทา กล่าวว่าธรรมอันหม่อมฉันศึกษาด้วยใจมีประมาณเท่าไร คือว่า