เมนู

นรกอันร้ายกาจ ประสบทุกข์ตลอดกาล-
นาน ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประกอบ
ด้วยความอดทนและความสงบในธรรมอัน
ประเสริฐ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ละร่างกาย
อันเป็นของมนุษย์ แล้วจักยังหมู่เทวดาให้
บริบูรณ์.


อรรถกถาปัชชุนนธีตุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา แปลว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ อธิบายว่า
ธิดาของท้าวจาตุมหาราชิกาผู้เป็นเทวราชของวัสสวลาหก ชื่อว่า ท้าวปัชชุนนะ.
บทว่า อภิวนฺเท แปลว่า ย่อมไหว้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
หม่อมฉันย่อมไหว้พระยุคลบาทของพระองค์. บทว่า จกฺขุมตา แปลว่า
ผู้มีจักษุ อธิบายว่า เทพธิดากล่าวว่า สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระตถาคต
ผู้มีจักษุด้วยจักษุ* 5 ตามตรัสรู้แล้ว หม่อมฉันได้ยินแล้วในสำนักแห่งชน
เหล่าอื่นอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า สาหํทานิ ตัดบทเป็น สา อหํ อิทานิ
แปลว่า หม่อมฉันนั้น...ในกาลบัดนี้. บทว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า
ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่า ย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด. บทว่า
วิครหนฺตา แปลว่า ติเตียน คือได้แก่ ติเตียนอย่างนี้ว่า ธรรมนี้มีบทแห่ง
อักขระและพยัญชนะอันเลว หรือว่า ธรรมนี้ไม่เป็นนิยยานิกะ. บทว่า โรรุวํ
* จักษุ 5 คือ มังสจักษุ, ทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ, และ สมันตจักษุ

แปลว่า โรรุวนรก อธิบายว่า โรรุวนรก มี 2 คือ ธูมโรรุวนรก และ
ชาลโรรุวนรก. ในนรก 2 นั้น ธูมโรรุวนรกมีอยู่ส่วนหนึ่ง ก็คำว่า ชาล-
โรรุวนรกนั้น เป็นชื่อของอเวจีมหานรก. เพราะว่า ในโรรุวนรกนั้น เมื่อ
ไฟโพลงอยู่ ๆ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมร้องบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น นรกนั้น ท่านจึง
เรียกว่า โรรุวะ ดังนี้. บทว่า โฆรํ แปลว่า ร้ายกาจ ได้แก่ ทารุณ.
บทว่า ขนฺติยา อุปสเมน อุเปตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความอดทน
และความสงบ อธิบายว่า ครั้นชอบใจแล้ว ครั้นอดทนแล้ว จึงชื่อว่า
ประกอบแล้วด้วยขันติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ 9

10. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร



คาถาของธิดาท้ายปัชชุนนะ



[133] ข้าพเจ้าไค้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่า
มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[134] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา
มีวรรณะสว่างดังสายฟ้ามาแล้วในที่นี้ไหว้
พระพุทธเจ้า และพระธรรม ได้กล่าวแล้ว
ซึ่งคาถาทั้งหลายนี้มีประโยชน์เที่ยว หม่อม
ฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก
ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใด
ที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉัน
จักกล่าวอรรถกถาอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ
ไม่ควรทำกรรมอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ
หรือด้วยกายอย่างไร ๆ ในโลกทั้งปวง