เมนู

8. สกลิกสูตร



เทวดาสรรเสริญความอดทน



[122] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในสวน
มัททกุจฉิ กรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถูกสะเก็ดหินกระทบแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มาก เป็นความลำบากมีในพระสรีระ กล้าแข้ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่
ทรงสบาย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนา
ทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ปูผ้า
สังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อม
ด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่.
[123] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาเจ็ดร้อย มีวรรณะงาม ยังสวนมัททกุจฉิทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[124] เทวดาองค์หนึ่งครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นนาค
หนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นซึ่งเวทนา
ทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นนาค มิได้ทรง
เดือดร้อน.

[125] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นสีหะหนอ ก็แหละพระสมณโคดม
ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว
เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่
พระสมณโคดมเป็นสีหะ มิได้ทรงเดือดร้อน.
[126] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นอาชาไนยหนอ ก็แหละพระสมณ
โคดมทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้น
แล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วย
ความที่พระสมณโคดมเป็นอาชาไนย มิได้ทรงเดือดร้อน.
[127] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้องอาจหนอ ก็แหละ
พระสมณโคดมทรงมีพระสดิสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลาย อันมีใน
พระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่
ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้องอาจ มิได้ทรงเดือดร้อน.
[128] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ ก็แหละพระ-
สมณโคดมทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิด
ขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย
ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้ใฝ่ธุระ มิได้ทรงเดือดร้อน.
[129] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ฝึกแล้วหนอ ก็แหละ
พระสมณโคดมทรงมีพระสติสัมปชัญญะ อดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีใน

พระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่
ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้ฝึกแล้ว มิได้ทรงเดือดร้อน.
[130] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก. ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านทั้งหลายจงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญดีแล้ว
อนึ่ง จิตพระสมณโคดมให้พ้นดีแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามราคะ พระสมณโคดม
ไม่ให้น้อมไปเฉพาะแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามโทสะ พระสมณโคดมไม่ให้
กลับมาแล้ว อนึ่ง จิตพระสมณโคดมหาต้องตั้งใจข่ม ต้องคอยห้ามกันไม่
บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมผู้เป็นบุรุษนาค เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษ
อาชาไนย เป็นบุรุษองอาจ เป็นบุรุษใฝ่ธุระ เป็นบุรุษฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่า
เป็นผู้อันตนพึงล่วงเกิน บุคคลนั้นจะเป็นอะไรนอกจากไม่มีตา.
เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ว่า
พราหมณ์ทั้งหลายมีเวทห้า มีตบะ
ประพฤติอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิตของพราหมณ์
เหล่านั้นไม่พ้นแล้วโดยชอบ พราหมณ์
เหล่านั้นมีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง.
พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันตัณหา
ครอบงำแล้ว เกี่ยวข้องด้วยพรตและศีล
ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้งร้อยปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นแล้ว
โดยชอบ พราหมณ์เหล่านั้นมีจิตเลว
ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง.

ความฝึกฝนย่อมไม่มีบุคคลที่ใคร่
มานะ ความรู้ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่มีจิตไม่
ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียวเมื่ออยู่ในป่า ประมาท
อยู่แล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้.
บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดี
แล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว
ผู้เดียวอยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว บุคคล
นั้นพึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้.


อรรถกถาสกลิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสกิกสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บทว่า มัททกุจฉิ ได้แก่ สวนอันมีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ สวนนั้น
เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูบังเกิดในครรภ์แล้ว พระมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น
มีความประสงค์จะให้ครรภ์ตกไป ด้วยทรงดำริว่า ครรภ์อันอยู่ในท้องของเรานี้
จักเป็นศัตรูของพระราชา จะมีประโยชน์อะไรด้วยครรภ์นี้ ดังนี้ จึงให้ทำลาย
ครรภ์ในสวนนั้น เพราะเหตุนั้น สวนนั้น จึงชื่อว่า มัททกุจฉิ ดังนี้. ก็ป่า
ที่ท่านเรียกว่า มิคทาย เพราะความที่ป่านั้น อันพระราชาพระราชทาน เพื่อ
ความปลอดภัยแห่งเนื้อทั้งหลาย. ในบทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล นี้เป็นอนุปุพพิกถา
คือ วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ.