เมนู

อรรถกถาสมยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมยสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า สกฺเกสุ แปลว่า ในแคว้นสักกะนี้ ได้แก่ ชนบทแม้หนึ่ง
ที่เป็นที่อยู่ของราชกุมารทั้งหลาย ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า สักกะ เพราะอาศัย
คำอุทานว่า สกฺยา วต โภ กุมารา แปลว่า กุมารีผู้เจริญเหล่านี้อาจหนอ
(หรือ สามารถหนอ) ดังนี้ ท่านจึงเรียกชนบทนั้นว่า สักกะ ตามรุฬหิ
สัททศาสตร์. ในที่นี้ได้แก่ ในชนบทชื่อว่าสักกะนั้น. บทว่า มหาวเน
แปลว่า ในป่าใหญ่ คือได้แก่ ในป่าใหญ่ที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน กับหิมวันต์
อันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติมิได้มีใครมาปลูกไว้. บทว่า สพฺเพเทว อรหนฺเตหิ
แปลว่า ล้วนเป็นพระอรหันต์ คือได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุแล้วในวันที่
พระองค์ตรัสสมยสูตรนี้นั่นแหละ. ในสูตรนั้น มีอนุปุพพิกถา คือวาจา
เป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ดังต่อไปนี้.

เจ้าศากยะและโกลิยะ วิวาทกันเรื่องไขน้ำเข้านา


ได้ยินว่า เจ้าศากยะและโกลิยะ ได้ให้สร้างทำนบกั้นน้ำอันหนึ่งใน
แม่น้ำชื่อ โรหิณี ซึ่งมีอยู่ระหว่างนครกบิลพัสดุ์ กับโกลิยนคร แล้วให้ทำ
ข้าวกล้าทั้งหลาย. ในครั้งนั้น เป็นเวลาต้นเดือน 7 (พฤษภาคม-มิถุนายน
บาลีใช้คำว่า เชฏฺฐมูลมาเส) เมื่อข้าวกล้าทั้งหลาย กำลังเหี่ยวแห้ง กรรมกร
ทั้งสองพระนครจึงประชุมกัน. ในบรรดากรรมกรทั้งสองนั้น กรรมกรผู้อยู่
ในโกลิยนครกล่าวว่า น้ำนี้นำมาใช้เพื่อข้าวกล้าแห่งพวกเราทั้งสองพระนคร
จักไม่เพียงพอ ก็ข้าวกล้าของพวกเราจักสำเร็จด้วยน้ำที่มาทางเดียวเท่านั้น ขอ
พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเรา ดังนี้. กรรมกรผู้อยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์