เมนู

ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล
รักษาทรัพย์อื่นประเสริฐ บุคคลอย่าตาม
ประกอบความประมาท และอย่าตาม
ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความ
ยินดีทางกาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาท
แล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.


อรรถกถาสัทธาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัทธาสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ แปลว่า ศรัทธาเป็นเพื่อน
สองของคน คือได้แก่ เมื่อคนไปสู่เทวโลก และพระนิพพาน ศรัทธาย่อมเป็น
เพื่อนสอง คือ ย่อมยังกิจของสหายให้สำเร็จ. บทว่า โน เจ อสทฺธิยํ อวติฏฺฐติ
แก้เป็น ยทิ อสทฺธิยํ น ติฏฺฐติ แปลว่า หากว่า ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ตั้งอยู่. บทว่า ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่ บริวาร. บทว่า กิตฺติ
แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่ การกล่าวยกย่องสรรเสริญ. บทว่า ตตฺวสฺส โหติ
แปลว่าย่อมมีแก่เขานั้น คือว่า ต่อจากนั้น ย่อมมีแก่เขา. บทว่า นานุปตนฺติ
สงฺคา
แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว คือได้แก่กิเลส
เครื่องเกี่ยวข้อง 5 อย่าง มีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พวกคนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อม
ตามประกอบความประมาท ส่วนนัก

ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือน
บุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่า
ตามประกอบความประมาท และอย่าตาม
ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความ
ยินดีทางกาม เพราะว่า บุคคลไม่ประมาท
แล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.

บทว่า ปมาทมนุยุญฺชนฺติ แปลว่า ย่อมตามประกอบความประมาท
อธิบายว่า ชนเหล่าใดย่อมกระทำ คือย่อมให้ความประมาทเกิดขึ้น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาทนั้น. บทว่า ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
แปลว่า เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ คือได้แก่เหมือนบุคคลรักษา
ทรัพย์อันอุดมมีแก้วมุกดา และแก้วมณีอันมีสาระเป็นต้น. บทว่า ฌายนฺโต
แปลว่า เพ่งพินิจอยู่ อธิบายว่า เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณู
ปนิชฌาน ใน 2อย่างนั้น วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน. จริง
อยู่ วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะ
ทั้งสาม. มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า ย่อมให้สำเร็จ
ซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา. ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ
อรรถว่า ย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ. แต่สมาบัติ 8
บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่ง
กสิณ. อรหัตสุข ชื่อว่า บรมสุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้ว
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ 6

7. สมยสูตร



ว่าด้วยเทพชุมนุมกัน



[115] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน กรุงกบิล-
พัสดุ์แคว้นสักกะ กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป ล้วนเป็น
พระอรหันต์ ก็พวกเทวดามาแต่โลกธาตุสิบแล้ว ประชุมกันมาก เพื่อจะเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์.
[116] ในครั้งนั้นแล เทวดา 4 องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาส
ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล ประทับ อยู่ ณ ป่ามหาวัน
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป
ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดามาแต่โลกธาตุสิบประชุมกันมาก เพื่อจะเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ไฉนหนอ แม้เราทั้งหลายควรเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงกล่าวคาถาองค์ละคาถา ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[117] ในครั้งนั้นแล พวกเทวดาทั้ง 4 นั้นจึงหายจากหมู่พรหมชั้น
สุทธาวาส มาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษผู้มี
กำลัง เหยียดแขนที่คู้ออกหรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น.
[118] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ มีพวก
เทวดามาประชุมกันแล้ว พวกข้าพเจ้ามาสู่