เมนู

อรรถกถาอุชฌานสัญญีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุชฌานสัญญีสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า อุชฺฌานสญฺญิกา แปลว่า ผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษ
อธิบายว่า เทวโลก ชื่อว่า อุชฌานสัญญี ซึ่งแยกออกไปจากเทวโลกอื่นนั้นมิได้มี
ก็แต่ว่า เทวดาเหล่านี้อาศัยบริโภคปัจจัย 4 ของพระตถาคตเจ้า แล้วมาเพ่งโทษ
อยู่. ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมพึงกล่าวลวง
ให้มีความสันโดษด้วยบังสุกุลจีวรด้วยคำข้าวที่หามาได้ด้วยการบิณฑบาต ด้วย
การอยู่เสนาสนะโคนไม้ ด้วยยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า และย่อมกล่าวยกย่องบุคคล
ผู้ยังกิจนั้นให้สำเร็จสุดยอดแต่พระองค์เอง ทรงจีวรอันประณีตมีผ้าโขมพัสตร์
เนื้อละเอียดชนิดดี เป็นต้น ย่อมเสวยโภชนะอันเลิศ อันสมควรแก่พระราชา
ย่อมบรรทมบนที่นอนอันประเสริฐในพระคันธกุฎีอันควรเป็นวิมานของเทพ
ย่อมเสวยเภสัชทั้งหลายมี เนยใส เนยข้น เป็นต้น ย่อมแสดงธรรมแก่มหาชน
ในกลางวัน ถ้อยคำของพระองค์กับการกระทำของพระองค์เป็นไปคนละอย่าง
ดังนี้ จึงมาโพนทะนามุ่งหมายเพ่งโทษพระตถาคตเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหเถระทั้งหลาย จึงเรียกชื่อเทวดาเหล่านั้นว่า อุชฌานสัญฺญิกา แปลว่า
ผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษดังนี้.
บทว่า อญฺญถา สนฺตํ แปลว่า มีอยู่โดยอาการอย่างอื่น คือได้แก่
เป็นไปโดยอาการอย่างอื่น. บทว่า นิกจฺจ แปลว่า ลวงแล้ว ได้แก่ ลวง
ด้วยการหลอกลวงเขากิน. บทว่า กิตวสฺเสว นี้ เทวดากล่าวว่า เหมือน
นายพรานนกลวงจับนก. จริงอยู่ นายพรานนกนั้น เมื่ออยู่ในที่มิใช่พุ่มไม้
ก็เข้าไปแสดงเหมือนลักษณะแห่งพุ่มไม้โดยปกปิดตน ด้วยกิ่งและใบไม้เป็นต้น

ยังนกทั้งหลายมีนกยูงและนกกระทาเป็นต้นให้ตาย การทำการเลี้ยงภรรยา.
บุคคลผู้โกหกปกปิดอัตภาพด้วยผ้าบังสุกุล ลวงมหาชนเพราะความที่ตนเป็น
คนฉลาด ในการพูด เคี้ยวกินอยู่ เที่ยวไป การกินนั้นของบุคคลนั้นดังขโมย
ทั้งการบริโภคปัจจัย 4 แม้ทั้งหมดก็ดุจขโมย เหมือนการกินเนื้อนกของ
นายพรานนก ผู้ลวงนกอย่างนี้ เทวดากล่าวด้วยการลวงนี้ ด้วยประการฉะนี้
โดยหมายเอาพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา แปลว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรู้จักบุคคลนั้น อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ว่า
บุคคลนี้เป็นผู้กระทำการลวง หรือไม่ลวง ดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละ เทวดา
เหล่านั้นสำคัญอยู่ว่า แม้พระตถาคตของพวกเรานั่นแหละเป็นผู้รู้ จึงกล่าวแล้ว
อย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า
นยิทํ ภาสิตมตฺเตน เอกนฺตสวเนน วา
อนุกฺกมิตเว สกฺกา ยายํ ปฏิปทา ทฬฺหา
ยาย ธีรา ปมุจฺจนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา
น เว ธีรา ปกฺพฺพนฺติ วิทิตฺวา โลกปริยายํ
อญฺญาย นิพพุตา ธีรา ติณฺณา โลกา วิสตฺติกํ.
ใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้
ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือว่าฟังส่วนเดียว
บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อม
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอัน
มั่นคง บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายทราบ
ความเป็นไปของโลกแล้ว รู้แล้ว เป็นผู้

ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลก
แล้ว ย่อมไม่พูดโดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยายํ ปฏิปทา ทฬฺหา อธิบายว่า
ปฏิปทานี้ คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายมีปัญญา
คือ บัณฑิตทั้งหลายผู้มั่นคง เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้ง 2 คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน ย่อมพ้นจากเครื่องผูกของมารได้ ด้วยปฏิปทาใด บุคคล
ไม่อาจเพื่อหยั่งลง คือ เพื่อปฏิบัติปฏิปทานั้นโดยสักแต่พูด หรือสักแต่ฟัง.
บทว่า น เว ธีรา ปกุพฺพนฺติ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย คือ
บัณฑิตทั้งหลาย รู้แจ้งแล้วซึ่งปริยายแห่งโลก (วิธีการพูดของสัตว์โลก) และ
รู้แล้วซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารโลก เพราะรู้สัจธรรม 4
จึงนิพพานแล้วด้วยกิเลสนิพพาน เป็นผู้ข้ามตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลก ย่อม
ไม่การทำอย่างนี้ อธิบายว่า เราย่อมไม่พูดคำเห็นปานนี้.
ในลำดับนั้นแหละ เทวดาเหล่านั้นลงมายืนบนแผ่นดิน หมอบลง
ใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูลว่า อจฺจโย น ภนฺเต
อจฺคมา
เป็นต้น แปลความว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ
โทษของพวกข้าพระองค์ได้ล่วงเกินไปแล้ว
พวกข้าพระองค์เหล่าใด เป็นพาลอย่างไร
เป็นผู้หลงแล้วอย่างไร เป็นผู้ไม่ฉลาด
อย่างไร ได้สำคัญแล้วว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า อันพวกเราพึงรุกราน ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าโปรดอดโทษของพวกข้า
พระองค์นั้น เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป.

บทว่า ปฐวิยํ ปติฏฺฐหิตฺวา แปลว่า ยืนบนแผ่นดิน อธิบายความว่า
กรรมอันไม่สมควร อันพวกข้าพระองค์ทำแล้ว พวกข้าพระองค์ใช้คำพูดเรียก
พระองค์ผู้ไม่ทำกรรมอย่างนั้น ด้วยวาทะว่ากระทำ เหตุนี้แหละ พวกข้า
พระองค์ละอายอยู่ ทั้งไม่ทำความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจผู้เป็นราวกะ
มหาพรหม กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจกองอัคคีให้ไม่สบายพระทัย ทำการ
นมัสการอยู่ ก้าวลงจากอากาศแล้ว ยืนอยู่บนแผ่นดิน. บทว่า อจฺจโย
แปลว่า โทษ ได้แก่ ความผิดพลาด. บทว่า โน อจฺจคฺคมา แปลว่า
ของพวกข้าพเจ้าผู้ล่วงเกินแล้ว อธิบายว่า พวกข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วโทษนั้น
ครอบงำข้าพระองค์ให้เป็นไป บทว่า อปสาเทตพฺพํ แปลว่า อันพวกเรา
พึงรุกราน อธิบายว่า อันพวกข้าพระองค์พึงทำให้พระองค์ขัดพระทัยได้. ได้
ยินว่า เทวดานั้น กระทบกระทั่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาการ 2 อย่าง คือ
ด้วยกาย และด้วยวาจา การไม่ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า แล้วยังยืนอยู่ใน
อากาศนี้ ชื่อว่า กระทบกระทั่งด้วยกาย เมื่อเทวดาเหล่านั้น กล่าววาจาอัน
เป็นวาทะของอสัตบุรุษมีประการต่าง ๆ เหมือนคนชั่วนำโล่มาป้องกันตัว ชื่อ
ว่า กระทบกระทั่งด้วยวาจา. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่าพวกเทวดาเหล่า
นั้น กล่าวว่า พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้สำคัญพระองค์ว่าเป็นผู้อันบุคคลพึง
รุกรานได้. บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ แก้เป็น ขมตุ แปลว่า โปรดอดโทษ
บทว่า อายตึ สํวราย แปลว่า เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป อธิบายว่า เพื่อ
ความสำรวมในอนาคต และเพื่อไม่กระทำความผิด ความประทุษร้าย ความ
ติเตียนเห็นปานนี้อีก.

ลำดับนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำการแย้มพระโอษฐ์ให้
ปรากฏ ในข้อนี้อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงพระองค์
ผู้มีการฝึกอันยอดเยี่ยมแล้ว จึงแสดงลักษณะแห่งความยินดี. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า ได้ยินว่า พวกเทวดาเหล่านั้นบอกให้พระองค์ยกโทษให้แก่
พวกเทวดาโดยภาวะของตน ย่อมกระทำพระตถาคตเจ้าซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศใน
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้เป็นโลกิยมหาชนเช่นกับคนธรรมดาคนหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ โดย
ประสงค์ว่า เราจักแสดงกำลังแห่งพระพุทธเจ้าก่อนแล้วจักอดโทษในภายหลัง
โดยถ้อยคำที่จะกล่าวข้างหน้า. บทว่า ภิยฺโยโส สตฺตาย แก้เป็น อติเรกปฺป-
มาเณน
แปลว่า โดยประมาณยิ่ง. บทว่า อิมํ คาถํ อภาสิ แปลว่า
เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ อธิบายว่า เทวดาองค์หนึ่งมีความสำคัญว่า
พระศาสดานี้ ทรงกริ้วพวกเรา จึงได้กล่าวแล้ว. บทว่า น ปฏิคฺคณฺหาติ
แก้เป็น น ขมติ แปลว่า ย่อมไม่อดโทษ คือ ย่อมไม่อดกลั้น. บทว่า
โกปนฺตโร แปลว่า บุคคลมีความโกรธอันเกิดขึ้นแล้วในภายใน. บทว่า
โทสครุ แปลว่า มีความเคืองจัด คือ ถือเอาโทษหนักอยู่. บทว่า ส เวรํ
ปฏิมุจฺจติ
แปลว่า ย่อมประสบเวร อธิบายว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนี้
ย่อมประสบเวร ย่อมตั้งไว้ ย่อมในสละซึ่งเวรนั้นในตน เหมือนบุคคลคั้นฝีที่
อักเสบ. บทว่า อจฺจโย เจ น วิชฺเชถ แปลว่า หากว่า โทษไม่พึงมี
อธิบายว่า ถ้าว่ากรรมคือการล่วงเกินไม่พึงมีไซร้. บทว่า โน จีธ อปหตํ สิยา
แปลว่า ความผิดก็ไม่พึงมี อธิบายว่า ผิว่า ชื่อว่า ความพลั้งพลาดไม่พึงมี.
บทว่า เกนีธ กุสโล สิยา แปลว่า ในโลกนี้ ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะ
เหตุไร อธิบายว่า ผิว่าเวรทั้งหลายไม่พึงสงบไซร้ ใครพึงเป็นคนฉลาด
เพราะเหตุไร. บทว่า กสฺสจฺจยา แปลว่า โทษทั้งหลายของใครไม่พึงมี

คือได้แก่ โทษที่ก้าวล่วงทางวาจาของใครไม่มี ความผิดพลาดของใครไม่มี
ใครเล่า ย่อมไม่ประสบความหลงใหล ใครเล่า ชื่อว่าเป็นบัณฑิตตลอดกาล
เป็นนิตย์ทีเดียว.
ได้ยินว่า การกระทำความแย้มให้ปรากฏของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เพื่อ
จะตรัสคาถานี้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงดำริว่า บัดนี้เรา
จักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า แล้วจักอดโทษ แก่พวกเทวดา จึงตรัสคำว่า
ตถาคตสฺส พุทฺธสฺส สพฺพภูตานุกมฺปิโน เป็นต้น แปลความว่า
โทษทั้งหลายไม่มี ความผิดก็ไม่มี
แก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ทรง
อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้น
ย่อมไม่มีถึงความหลงใหล พระตถาคตนั้น
ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้ง
ปวง เมื่อท่านแสดงโทษอยู่ หากบุคคลใด
มีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองจัด
ย่อมไม่อดโทษให้บุคคลนั้น ย่อมประสบ
เวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อมอดโทษแก่
ท่านทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตสฺส อธิบายว่า พระนามว่า
ตถาคต ด้วยการณะทั้งหลายมีคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตถา อาคโตติ ตถาคโต
แปลว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือเสด็จมาโปรดเวไนย
สัตว์ตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน. บทว่า พุทฺธสฺส
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระนามอันได้แล้วอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งการ

แต่งตั้งด้วยวิโมกขันติญาณ โดยการณะทั้งหลาย มีการตรัสรู้สัจจะ 4 เป็นต้น.
บทว่า อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ แปลว่า เมื่อท่านแสดงโทษอยู่ อธิบายว่า คำ
ใดที่ท่านทั้งหลายกล่าวแก่บุคคลผู้แสดงโทษอยู่ บุคคลนั้น ย่อมประสบเวร
เพราะฉะนั้น คำนั้นเป็นอันท่านกล่าวดีแล้ว ก็แต่ว่า เราย่อมไม่ยินดี ไม่
ปรารถนาเวร. บทว่า ปฏิคฺคณฺหามิ โวจฺจยํ แก้เป็น ตุมฺหากํ อปราธํ
ขมามิ
แปลว่า เราย่อมอดโทษแก่พวกเธอ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอุชฌานสัญญีสูตรที่ 5

6. สัทธาสูตร



ว่าด้วยศรัทธา


[112] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วง
ไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[113] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หาก
ว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่ แต่นั้น
บริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น
อนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้วก็ไปสู่สวรรค์
บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะ
เสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย กิเลส
เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว
บุคคลนั้น ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่
มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล.

[114] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตาม
ประกอบความประมาท ส่วนนักปราชญ์