เมนู

5. อุชฌานสัญญีสูตร



ว่าด้วยเทวดามุ่งโทษ



[106] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วง
ไปแล้ว พวกเทวดาผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษมากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยัง
พระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงได้ลอยอยู่
ในอากาศ.
[107] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นลอยอยู่ในอากาศแล้ว ได้กล่าวคาถานี้
ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
บุคคลใดประกาศตนอันมีอยู่โดย
อาการอย่างอื่น ให้เขารู้โดยอาการอย่าง
อื่น บุคคลนั้นลวงปัจจัยเขากินด้วยความ
เป็นขโมย เหมือนความลวงกินแห่ง
พรานนก ก็บุคคลทำกรรมใด ควรพูดถึง
กรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึง
กรรมนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคล
นั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่.

[108] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาทั้งหลายนี้ว่า
ใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วย
เหตุสักว่าพูด หรือฟังส่วนเดียว บุคคลผู้
มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก

เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
บุคคลผู้มีปัญญา ทั้งหลาย ทราบความเป็น
ไปของโลกแล้ว รู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส
ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องในโลกแล้ว
ย่อมไม่พูดโดยแท้.

[109] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นลงมายืนบนแผ่นดิน หมอบ
ลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ โทษของพวกข้าพเจ้าล่วงไปแล้ว
พวกข้าพเจ้าเหล่าใด เป็นพาลอย่างไร เป็นผู้หลงแล้วอย่างไร เป็นผู้ไม่ฉลาด
อย่างไร ได้สำคัญแล้วว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าอันพวกเราพึงรุกราน ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดอดโทษของพวก
ข้าพเจ้านั้น เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป.
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงยิ้มแย้ม.
[110] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง
กลับขึ้นไปบนอากาศ เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า
เมื่อเราแสดงโทษอยู่ ถ้าบุคคลใดมี
ความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก
ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอด
สวมเวร หากว่าในโลกนี้ โทษก็ไม่มี
ความผิดก็ไม่มี เวรทั้งหลายก็ไม่สงบ ใน
โลกนี้ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะเหตุไร
โทษทั้งหลายของใคร ไม่มี ความผิดของ

ใครก็ไม่มี ใครไม่ถึงแล้วซึ่งความหลงใหล
ในโลกนี้ ใครย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้
มีสติในกาลทั้งปวง

[111] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
โทษทั้งหลายไม่มี ความผิดก็ไม่มี
แก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เอ็นดู
แก่สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้นไม่ถึงแล้ว
ซึ่งความหลงใหล พระตถาคตนั้นย่อม
เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง
เมื่อพวกท่านแสดงโทษอยู่ หากบุคคลใด
มีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคือง-
หนัก ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อม
สอดสวมเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อม
อดโทษแก่ท่านทั้งหลาย.

อรรถกถาอุชฌานสัญญีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอุชฌานสัญญีสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า อุชฺฌานสญฺญิกา แปลว่า ผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษ
อธิบายว่า เทวโลก ชื่อว่า อุชฌานสัญญี ซึ่งแยกออกไปจากเทวโลกอื่นนั้นมิได้มี
ก็แต่ว่า เทวดาเหล่านี้อาศัยบริโภคปัจจัย 4 ของพระตถาคตเจ้า แล้วมาเพ่งโทษ
อยู่. ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมพึงกล่าวลวง
ให้มีความสันโดษด้วยบังสุกุลจีวรด้วยคำข้าวที่หามาได้ด้วยการบิณฑบาต ด้วย
การอยู่เสนาสนะโคนไม้ ด้วยยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า และย่อมกล่าวยกย่องบุคคล
ผู้ยังกิจนั้นให้สำเร็จสุดยอดแต่พระองค์เอง ทรงจีวรอันประณีตมีผ้าโขมพัสตร์
เนื้อละเอียดชนิดดี เป็นต้น ย่อมเสวยโภชนะอันเลิศ อันสมควรแก่พระราชา
ย่อมบรรทมบนที่นอนอันประเสริฐในพระคันธกุฎีอันควรเป็นวิมานของเทพ
ย่อมเสวยเภสัชทั้งหลายมี เนยใส เนยข้น เป็นต้น ย่อมแสดงธรรมแก่มหาชน
ในกลางวัน ถ้อยคำของพระองค์กับการกระทำของพระองค์เป็นไปคนละอย่าง
ดังนี้ จึงมาโพนทะนามุ่งหมายเพ่งโทษพระตถาคตเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหเถระทั้งหลาย จึงเรียกชื่อเทวดาเหล่านั้นว่า อุชฌานสัญฺญิกา แปลว่า
ผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษดังนี้.
บทว่า อญฺญถา สนฺตํ แปลว่า มีอยู่โดยอาการอย่างอื่น คือได้แก่
เป็นไปโดยอาการอย่างอื่น. บทว่า นิกจฺจ แปลว่า ลวงแล้ว ได้แก่ ลวง
ด้วยการหลอกลวงเขากิน. บทว่า กิตวสฺเสว นี้ เทวดากล่าวว่า เหมือน
นายพรานนกลวงจับนก. จริงอยู่ นายพรานนกนั้น เมื่ออยู่ในที่มิใช่พุ่มไม้
ก็เข้าไปแสดงเหมือนลักษณะแห่งพุ่มไม้โดยปกปิดตน ด้วยกิ่งและใบไม้เป็นต้น