เมนู

[105] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ แม้พวกเทวดาและ
มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึง
สรรเสริญู พวกเทวดาและมนุษย์เหล่าใด
ย่อมไหว้ขีณาสวภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่าง
นั้น ดูก่อนภิกษุ แม้พวกเทวดาและมนุษย์
เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจจาแล้ว ก็
ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง.


อรรถกถานสันติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนสันติสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า กมนียานิ แปลว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ได้แก่
อารมณ์ที่น่าปรารถนามีรูปเป็นต้น. บทว่า อปุนาคมนํ อนาคนฺตฺวา ปุริโส
มจฺจุเธยฺยํ
ได้แก่ ไม่มาถึงพระนิพพาน กล่าวคือที่เป็นที่ไม่กลับมาอีก แต่
บ่วงแห่งมัจจุ กล่าวคือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 จริงอยู่ บุคคลผู้บรรลุพระ-
นิพพานแล้ว ย่อมไม่กลับมาอีก ฉะนั้น ท่านจึงเรียกนิพพานนั้นว่า อปุนาคมนะ
แปลว่า ที่เป็นที่ไม่กลับมาอีก. อธิบายว่า บุคคลผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ประมาท
แล้วในกามทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมไม่มาแล้ว คือไม่อาจเพื่อบรรลุพระนิพพาน
นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ฉนฺทชํ แปลว่า เกิดแต่
ฉันทะ อธิบายว่า เกิดเพราะตัณหาฉันทะ. บทว่า อฆํ แปลว่า ทุกข์ คือ
เบญจขันธ์ บทที่ 2 (ทุกข์) เป็นไวพจน์ของเบญจขันธ์นั้นนั่นแหละ. บทว่า