เมนู

4. นสันติสูตร



ว่าด้วยการกำจัดเบญจขันธ์คือกำจัดทุกข์



[102] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงนครสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามาก
ด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
[103] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ที่เป็นของ
เที่ยงย่อมไม่มี บุรุษผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้
ประมาทแล้วในอารมณ์ที่ตั้งแห่งความใคร่
ทั้งหลายอันมีอยู่ในหมู่มนุษย์นี้ ไม่มาถึง
นิพพานเป็นที่ไม่กลับมาแต่วัฏฏะเป็นที่ตั้ง
แห่งมัจจุ เบญจขันธ์เกิดแต่ฉันทะ ทุกข์ก็
เกิดแต่ฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะเสีย จึง
กำจัดเบญจขันธ์ได้ เพราะกำจัดเบญจขันธ์
ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้ อารมณ์อันงามทั้ง
หลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่
พร้อมไปด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ

อารมณ์อันงามทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในโลก
อย่างนั้นนั่นแหละ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย
ย่อมกำจัดฉันทะในอารมณ์ทั้งหลายนั้นโดย
แท้ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้ง
มานะเสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย ทุกข์
ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น ผู้ไม่
เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่อง
กังวล ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว ไม่
ติดมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้
เสียแล้ว พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้
ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ทั้งหลายก็ดี
ในสถานเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดี
เที่ยวค้นหา ก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มี
เครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มี
ตัณหา.

[104] ท่านพระโมฆราชกล่าวว่า
ก็หากว่า พวกเทวดา พวกมนุษย์ ใน
โลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ไม่ได้เห็นพระ-
ขีณาสพนั้น ผู้อุดมกว่านรชน ผู้ประพฤติ
ประโยชน์เพื่อพวกนรชน ผู้พ้นแล้วอย่าง
นั้น เทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้
พระขีณาสพนั้น เทวดาและมนุษย์เหล่า
นั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญ.

[105] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ แม้พวกเทวดาและ
มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึง
สรรเสริญู พวกเทวดาและมนุษย์เหล่าใด
ย่อมไหว้ขีณาสวภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่าง
นั้น ดูก่อนภิกษุ แม้พวกเทวดาและมนุษย์
เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจจาแล้ว ก็
ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง.


อรรถกถานสันติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนสันติสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า กมนียานิ แปลว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ได้แก่
อารมณ์ที่น่าปรารถนามีรูปเป็นต้น. บทว่า อปุนาคมนํ อนาคนฺตฺวา ปุริโส
มจฺจุเธยฺยํ
ได้แก่ ไม่มาถึงพระนิพพาน กล่าวคือที่เป็นที่ไม่กลับมาอีก แต่
บ่วงแห่งมัจจุ กล่าวคือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 จริงอยู่ บุคคลผู้บรรลุพระ-
นิพพานแล้ว ย่อมไม่กลับมาอีก ฉะนั้น ท่านจึงเรียกนิพพานนั้นว่า อปุนาคมนะ
แปลว่า ที่เป็นที่ไม่กลับมาอีก. อธิบายว่า บุคคลผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ประมาท
แล้วในกามทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมไม่มาแล้ว คือไม่อาจเพื่อบรรลุพระนิพพาน
นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ฉนฺทชํ แปลว่า เกิดแต่
ฉันทะ อธิบายว่า เกิดเพราะตัณหาฉันทะ. บทว่า อฆํ แปลว่า ทุกข์ คือ
เบญจขันธ์ บทที่ 2 (ทุกข์) เป็นไวพจน์ของเบญจขันธ์นั้นนั่นแหละ. บทว่า