เมนู

อรรถกถาเอณิชังฆสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเอณิชังฆสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า เอณิชงฺฆํ แปลว่า มีพระชงฆ์ (แข้ง) กลมเรียวเรียบ ดัง
แข้งเนื้อทราย. บทว่า กีสํ ได้แก่ มีพระสรีระสม่ำเสมอ ไม่อ้วน. อีก
อย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีพระตจะ (หนึ่ง) มิได้เหี่ยวแห้ง คือ มีพระสรีระงาม
โดยมิต้องพอกพูนด้วยกลิ่นดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า วีรํ
แปลว่า มีความเพียร.
บทว่า อปฺปาหารํ ได้แก่ มีอาหารน้อย เพราะความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในการเสวยพระกระยาหาร. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีอาหารน้อย เพราะ
มิได้เสวยในเวลาวิกาล. บทว่า อโลลุปฺปํ แปลว่า ไม่มีความโลภ ได้แก่
ทรงปราศจากความอยากในปัจจัย 4. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีความโลภนี้ คือ
มิได้มีรสตัณหา. บทว่า สีหํเวกจรํ นาคํ ได้แก่เป็นเหมือนราชสีห์ และช้าง
ตัวประเสริฐเที่ยวไปโดดเดียว. เพราะว่าบุคคลผู้อยู่เป็นหมู่ ย่อมเป็นผู้ประมาท
ผู้เที่ยวไปแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้ไม่
ประมาท ท่านจึงถือเอาว่า ผู้เที่ยวไปผู้เดียวนั่นแหละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ปญฺจ กามคุณา โลเก มโนฉฏฺา ปเวทิตา
เอตฺถ ฉนฺทํ วิราชิตฺวา เอวํ ทุกฺขา ปมุจฺจติ.
กามคุณ 5 มีใจเป็นที่ 6 บัณฑิต
ประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิกความพอใจ
ในนามรูปนี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้
อย่างนี้.