เมนู

อรรถกถาจตุจักกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจตุจักกสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า จตุจกฺกํ แปลว่า มีจักร 4 ได้แก่ อิริยาบถ 4 เพราะในที่นี้
อิริยาบถท่านเรียกว่าจักร. บทว่า นวทฺวารํ แปลว่า ทวาร 9 ได้แก่ ทวาร
9 ซึ่งมีปากแผล 9 แห่ง. บทว่า ปุณฺณํ แปลว่า มีอสุจิเต็มแล้ว คือ เต็ม
ไปด้วยของไม่สะอาด. บทว่า โลเภน สํยุตฺตํ แปลว่า ประกอบด้วยโลภะ
คือว่า สัมปยุตด้วยตัณหา. บทว่า กถํ ยาตฺรา ภวิสฺสติ นี้เทวดาย่อม
ทูลถามว่า การออกไป (จากทุกข์) แห่งสรีระนี้ เห็นปานนี้ จักมีได้อย่างไร
คือว่า ความพ้น ความพ้นรอบ ความก้าวล่วง อย่างดี จักมีได้อย่างไร ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ อิจฺฉาโลภญฺจ ปาปกํ
สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห เอวํ ยาตฺรา ภวิสฺสติ
ตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็น
เครื่องร้อยรัดด้วย ความปรารถนาและ
ความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมี
อวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออก-
ไป (จากทุกข์) จึงมีได้.

บทว่า นทฺธึ แปลว่า ความผูกโกรธ อธิบายว่า ความโกรธมีก่อน
ภายหลัง ความโกรธมีกำลังเป็นไปแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความผูกโกรธ. บทว่า
วรตฺตํ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ได้แก่ ตัดความผูกโกรธ และ
เครื่องร้อยรัด. ชื่อความเกี่ยวข้องกันแห่งตัณหาและทิฏฐิ ท่านกล่าวไว้ใน