เมนู

อรรถกถามหัทธนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมหัทธนสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บุคคลชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะอรรถว่า ทรัพย์ของเขาอันเป็น
สาระมีแก้วมุกดาเป็นต้นมีมาก. บุคคลมีโภคะมาก (สมบัติมาก) เพราะอรรถว่า
เขามีมหาโภคะอันเป็นภาชนะที่ทำด้วยทองและเงินเป็นต้นมาก. บทว่า
อญฺญมญฺญาภิคิชฺฌนฺติ แปลว่า ย่อมต้องการ ของกันและกัน คือย่อม
ปรารถนา ย่อมริษยาของกันและกัน. บทว่า อนลงฺกตา แปลว่า ไม่รู้จักพอ
คือไม่รู้จักอิ่ม เกิดความอยากไม่สิ้นสุด บทว่า อุสฺสุกฺกชาเตสุ แปลว่า
มีความขวนขวาย คือพยายามเพื่อต้องการสิ่งที่ชอบใจทั้งหลายอันมีรูปเป็นต้น
ที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นในบรรดาสิ่งที่ชอบใจซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ เพื่อต้องการ
เสวยสิ่งที่เกิดขึ้น.
บทว่า ภวโสตานุสาริสุ แปลว่า ลอยไปตามกระแสแห่งภพ ได้แก่
แล่นไป ตามกระแสแห่งวัฎฏะ. บทว่า อนุสฺสุกา แปลว่า ไม่มีความ
ขวนขวาย ได้แก่ เพราะไม่มีสิ่งเบียดเบียน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลทั้งหลายละเรือน ละบุตร
ละปศุสัตว์ที่รัก บวชแล้วกำจัดราคะโทสะ
และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้น เป็น
ผู้ไม่ขวนขวายในโลก.

บทว่า อคารํ แปลว่า เรือน ได้แก่ บ้านพร้อมทั้งมาตุคาม.
บทว่า วิราชิยา แปลว่า กำจัดแล้ว ได้แก่ ทำลายแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถามหัทธนสูตรที่ 8

9. จตุจักกสูตร



[74] เทวดากล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
สรีระมีจักร 4 มีทวาร 9 เต็มด้วยของไม่
สะอาด ประกอบด้วยโลภะ ย่อมเป็นดังว่า
เปือกตม ความออกไป (จากทุกข์) จักมี
ได้อย่างไร.

[75] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็น
เครื่องร้อยรัดด้วย ความปรารถนาและ
ความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมี
อวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออก-
ไป (จากทุกข์) จึงจักมีได้.