เมนู

อรรถกถาปัชโชตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปัชโชตสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า ปุฏฺฐํ แก้เป็น ปุจฺฉิตํ แปลว่า เพื่อจะทูลถาม. บทว่า
กถํ ชาเนมุ แก้เป็น กถํ ชาเนยฺยาม แปลว่า ไฉนข้าพระองค์จักทราบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
แสงสว่างทั้งหลายในโลกมีอยู่ 4
อย่าง แสงสว่างที่ 5 มิได้มีในโลกนี้ ดวง-
อาทิตย์สว่างในกลางวัน ดวงจันทร์สว่าง
ในกลางคืน อนึ่ง ไฟย่อมรุ่งเรืองใน
กลางวันและกลางคืนทุกหนแห่ง พระสัม-
มาสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้ง-
หลาย แสงสว่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นแสงสว่างอย่างเยี่ยม.

บทว่า ทิวารตฺตึ แปลว่า ในกลางวันและกลางคืน. บทว่า ตตฺถ
ตตฺถ
แปลว่า ทุกหนแห่ง คือ สว่างไสวในที่นั้น ๆ นั่นแหละ. บทว่า
เอสา อาภา แปลว่า แสงสว่างของพระพุทธเจ้านี้. ถามว่า แสงสว่างของ
พระพุทธเจ้านี้ เป็นไฉน. ตอบว่า แสงสว่างแม้ทั้งปวงเหล่านี้ คือ แสงสว่าง
คือฌานก็ตาม แสงสว่างคือปีติก็ตาม แสงสว่างคือปสาทะก็ตาม แสงสว่างคือ
ธรรมกถาก็ตาม จงยกไว้ แสงสว่างอันเกิดขึ้นเพราะความปรากฏแห่งพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่า แสงสว่างแห่งพระพุทธเจ้า แสงสว่างนี้เท่านั้นยอดเยี่ยม
ประเสริฐสูงสุดกว่าแสงสว่างทั้งหมด ไม่มีแสงสว่างอื่นเทียบได้ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปัชโชตสูตรที่ 6

7. สรสูตร



[70] เทวดากล่าวว่า
สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่ไหน
วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่ไหน นามก็ดี
รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่ไหน.

[71] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้ง
อยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้
วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี
ย่อมดับหมดในที่นี้.


อรรถกถาสรสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสรสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า กุโต สรา นิวตฺตนฺติ ได้แก่ ความท่องเที่ยวไปในสงสารนี้
ย่อมสิ้นสุดลงแต่ที่ไหน. อธิบายว่า เทวดาย่อมทูลถามว่า สงสารทั้งหลาย
อาศัยอะไร จึงไม่เป็นไป ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดินน้ำไฟลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด
สงสารทั้งหลายย่อมสิ้นสุดลงแต่ที่นี้ วัฏฏะ