เมนู

อรรถกถากถาชฏาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในชฏาสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บัณฑิต พึงทราบเนื้อความแห่งคาถาว่า อนฺโตชฏา ดังต่อไปนี้.
บทว่า ชฏา เป็นชื่อของตัณหาเพียงดังข่าย. จริงอยู่ ตัณหานั้นชื่อว่า ชฏา
เพราะอรรถว่าเป็นดุจชัฏ กล่าวคือข่ายแห่งกิ่งไม้ทั้งหลาย มีกิ่งไม้ไผ่เป็นต้น
ด้วยอรรถว่าเกี่ยวประสานกันไว้ เพราะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในอารมณ์
ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งต่ำและสูง.
ก็ตัณหานี้นั้น เทพบุตรเรียกว่า ชัฏ (แปลว่ารก) ทั้งภายใน ชัฏ
ทั้งภายนอก เพราะเกิดขึ้นในบริขารของตน และบริขารของผู้อื่น ทั้งใน
อัตภาพของตน และอัตภาพของผู้อื่น ทั้งในอายตนะภายในและอายตนะภาย
นอก. หมู่สัตว์ ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏ คือ ตัณหานั้นอันเกิดขึ้นอย่างนี้. อธิบายว่า
ต้นไม้ทั้งหลายมีไม้ไผ่เป็นต้น ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏคือกิ่งของไม้ทั้งหลายมีไม้ไผ่
เป็นต้น ฉันใด ปชา คือ หมู่สัตว์แม้ทั้งหมดนี้ก็ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏคือตัณหา
ถูกตัณหานั้นผูกพันแล้ว ฉันนั้น. ก็เพราะหมู่สัตว์ถูกตัณหาผูกพันแล้วอย่างนี้
ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงขอทูลถามพระองค์ว่า ตํ ตํ โคตม ปุจฺฉามิ ดังนี้ แปลว่า
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์. บทว่า โคตม คือ เทวดา
ย่อมเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตร. บทว่า โก อิมํ วิชฏเย ชฏํ
แปลว่า ใครพึงถางชัฏนี้ ความว่า เทพบุตรนั้น ทูลถามว่า ใครพึงถาง คือ
ใครสามารถเพื่อจะถางชัฏ (ตัณหา) อันรกรุงรังซึ่งตั้งอยู่ในโลกธาตุทั้ง 3 นี้ได้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาเนื้อความนี้แก่
เทพบุตรนั้น จงตรัสว่า
สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปิ นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ
นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล
อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มี
ความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุ
นั้นพึงถางชัฏ (ตัณหา) นี้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีเล ปติฏฺฐาย ได้แก่ ตั้งอยู่ในจตุปาริ
สุทธิศีล. ก็ในบทนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อันเทวดาทูลถามถึงชัฏ
คือ ตัณหาที่ผูกพันนระไว้ พระองค์จึงเริ่มคำว่า ศีล มิได้ทูลถามอย่างอื่น ก็มิ
ได้ตรัสอย่างอื่น. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงศีลในที่นี้ก็เพื่อทรงแสดง
ถึงที่พึ่งของนระผู้ถางชัฏ คือ ตัณหาที่ผูกพันไว้. บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.
บทว่า สปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญา โดยปฏิสนธิมาด้วยปัญญาอันเป็นไตรเหตุ
อันเกิดแต่กรรม. บทว่า จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ได้แก่ ยังสมาธิและ
ปัญญาให้เจริญอยู่. จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สมาบัติ 8 ไว้ด้วย
หัวข้อแห่งจิต ตรัสวิปัสสนาไว้โดยชื่อว่า ปัญญา. บทว่า อาตาปี แปลว่า
มีความเพียร. จริงอยู่ ความเพียร ตรัสเรียกว่า อาตาปะ เพราะอรรถว่าเป็น
เครื่องเผากิเลสทั้งหลายให้เร่าร้อน. ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสของนระนั้น
มีอยู่ เหตุนั้น นระผู้มีความเพียรนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี แปลว่า ผู้มีความเพียร
เป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน. ในบทว่า นิปโก นี้ ตรัสเรียกปัญญาว่า เนปกะ.
อธิบายว่า นระผู้ประกอบด้วยปัญญา ชื่อว่า เนปกะนั้น. ทรงแสดงปาริหาริย-
ปัญญา ด้วยบทว่า นิปโก นี้. อธิบายว่า ปัญญาอันเป็นเหตุที่บุคคลพึงบริหาร

ให้สำเร็จกิจทั้งปวง โดยนัยว่า นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ) นี้เป็น
กาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น ชื่อว่า ปาริหาริยปัญญา.
ในปัญหาพยากรณ์นี้ ปัญญามา 3 วาระ. ในปัญญาเหล่านั้น ปัญญา
ที่หนึ่ง ชื่อว่า สชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด) ปัญญาที่สอง ชื่อว่า
วิปัสสนาปัญญา. ปัญญาที่สาม ชื่อว่า ปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปใน
กิจทั้งปวง. บทว่า ภิกฺขุ มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดย่อมเห็นภัยในสงสาร เหตุนั้น
ผู้นั้นจึงชื่อว่า ภิกษุ.1 บทว่า โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ ความว่า ภิกษุนั้น
พึงถางชัฏนี้ได้ ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีสีลาทิคุณ
เป็นต้นเหล่านี้2 อธิบายว่า ภิกษุอาศัยแผ่นดินคือศีล แล้วยกศาสตราคือ
วิปัสสนาปัญญาอันตนลับดีแล้วด้วยศิลาคือสมาธิ ด้วยมือคือปาริหาริยปัญญา
อันกำลังคือความเพียร ประดับประคองแล้ว พึงถาง พึงตัด พึงทำลายซึ่งชัฏ
คือตัณหาอันประจำอยู่ในสันดานแห่งตนนั้นแม้ทั้งหมด. เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ยืนบนแผ่นดินยกศาสตราอันตนลับดีแล้ว พึงถางกอไผ่ใหญ่ ฉะนั้น. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นตรัสเสกขภูมิด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง
แสดงถึงพระมหาขีณาสพผู้ถางชัฏ (ตัณหา) แล้วดำรงอยู่ จึงตรัสคำว่า
เยสํ ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา
ขีณาสวา อรหนฺโต เตสํ วิชฺชิตา ชฏา.
ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี อัน
บุคคลเหล่าใดกำจัดได้แล้ว บุคคลเหล่า-
นั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งอันบุคคลเหล่านั้นสาง
ได้แล้ว.

1. คำว่า ภิกษุ ในที่นี้ท่านไม่ได้อธิบายไว้ (อรรถกถาบาลีหน้า 62)
2. ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม 6 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 3 อย่าง และวิริยะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระขีณาสพผู้ถางซึ่งชัฏคือตัณหา
อย่างนี้แล้วดำรงอยู่ เมื่อจะทรงแสดงโอกาสเป็นเครื่องถางชัฏอีก จึงตรัสคำว่า
ยตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ
ปฏิฆรูปสญฺญา จ เอตฺถ สา ฉิชฺชเต ชฏา.
นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาและรูป
สัญญาก็ดี ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ตัณหา
เป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นามํ ได้แก่ อรูปขันธ์ 4. ในบทว่า
ปฏิฆรปสญฺญา นี้ ท่านถือเอากามภพด้วยอำนาจแห่งปฎิฆสัญญา ถือเอารูป
ภพด้วยอำนาจแห่งรูปสัญญา. เมื่อภพทั้ง 2 เหล่านั้นทรงถือเอาแล้ว อรูปภพ
ก็เป็นอันถือเอาแล้วโดยสังเขปแห่งภพนั่นแหละ.
ในบทว่า เอตฺเถสา ฉิชฺชเต ชฏา นี้ แปลว่า ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง
ย่อมขาดไปในที่นั้น คือว่าตัณหาอันเป็นเครื่องยุ่งเหยิงนี้ ย่อมขาดไปในที่เป็น
ที่สิ้นสุดลงแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 คือว่าอาศัยพระนิพพานแล้วย่อมขาด
ย่อมดับไป ดังนี้ นี้เป็นอรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ดังนี้แล.
จบอรรถกถาชฏาสูตร ที่ 3

4. มโนนิวารณสูตร



[62] เทวดาทูลว่า
บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ใด ๆ
ทุกข์ย่อมไม่มาถึงบุคคลนั้น เพราะอารมณ์
นั้น ๆ บุคคลนั้นพึงห้ามใจแต่อารมณ์
ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมพ้นจากทุกข์เพราะ
อารมณ์ทั้งปวง.

[63] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์
ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม
บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใด ๆ บุคคลพึง
ห้ามใจแต่อารมณ์นั้น ๆ.


อรรกถามโนนิวารณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมโนนิวารณสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า ยโต ยโต ได้แก่ แต่อารมณ์ที่เป็นบาป หรือว่าเป็นบุญ.
ได้ยินว่า เทดานี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
เป็นโลกีย์ หรือที่เป็นโลกุตระโดยประการต่าง ๆ มีอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นต้น
บุคคลพึงห้ามใจเท่านั้น คือไม่พึงให้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น ดังนี้. คำว่า ส สพฺพ-