เมนู

อรรถกถาทันตภูมิสูตร



ทันตภูมิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ในเสนาสนะที่เขา
สร้างไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ในที่ซึ่งเงียบสงัดแห่งหนึ่งของ
พระวิหารเวฬุวันนั้นแล. บทว่า ราชกุมาโร หมายถึงพระราชกุมารชยเสนะ
ผู้เป็นราชบุตรของพระเจ้าพิมพิสาร.
บทว่า ผุเสยฺย แปลว่า พึงได้. บทว่า เอกคฺคตํ ความว่า พระราช-
กุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมได้
สมาบัติ ชื่อว่าย่อมได้ฌาน. บทว่า กิลมโถ ได้แก่ ความลำบากกาย. ความ
ลำบากนั่นแหละเรียกว่า วิเหสา บ้าง. บทว่า ยถาสเก ติฏฺเฐยฺยาสิ ความว่า
ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในส่วนที่ไม่รู้ ของพระองค์เถิด.
บทว่า เทเสสิ ความว่า ย่อมได้อย่างนี้ คือ ได้จิตเตกัคคตา ได้แก่
ย่อมยังสมาบัติให้เกิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอัปปนาสมาธิแต่อุปจารสมาธิ
แล้ว จึงกล่าวกสิณบริกรรมอย่างนี้. บทว่า ปเวทตฺวา แปลว่า ประกาศแล้ว.
บทว่า เนกฺขมฺเมน ญาตพฺพํ ความว่า พึงรู้ด้วยคุณคือบรรพชา
อันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม. ข้อนั้นท่านกล่าวไว้โดยอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า
เอกคฺคตา อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในคุณคือบรรพชาอันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม
พึงรู้. บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของ บทว่า ญาตพฺพํ นั้นแหละ. บทว่า กาเม
ปริภุญฺชนฺโต ได้แก่ บริโภคกามแม้ทั้งสองอย่าง.
บทว่า หตฺถิทมฺมา วา อสฺสทมฺมา วา โคทมฺมา วา นี้ มี
อธิบายว่า บุคคลผู้เว้นจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึก

ช้างที่ยังไม่เคยไค้รับการฝึกเป็นต้น บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีจิตแน่ว
แน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึกช้างที่เคยฝึกแล้วเป็นต้น. เปรียบเหมือนสัตว์
พาหนะมีช้างเป็นต้น ที่ยังไม่ได้รับการฝึก ย่อมไม่สมควรจะไปสู่สนามฝึก
หรือถึงภูมิภาคอันสัตว์ผู้ฝึกแล้วพึงถึง โดยไม่ต้องทำเรือนยอด ไม้ต้องทอด
ทิ้งธุระฉันใด บุคคลที่ปราศจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ก็ฉันนั้น ย่อมไม่
สามารถที่จะยังคุณอันบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยเอกัคคตาจิตให้เกิดแล้ว ให้เกิดขึ้น
บทว่า หตฺถวิลงฺฆเกน แปลว่า จูงมือกันไป. บทว่า ทิฏฺเฐยฺยํ
แปลว่า ควรดู. บทว่า อาวุโฏ แปลว่า ปิดกั้นไว้. บทว่า นิวุโฏ แปลว่า
บังไว้. บทว่า โอผุโฏ แปลว่า คลุมไว้แล้ว.
บทว่า นาควนิกํ ความว่า ในหัตถิปโทปมสูตร ท่านเรียกบุรุษผู้
เที่ยวไปในนาควันว่า นาควิโก. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า บุรุษผู้ฉลาดในการ
ฝึกช้าง ย่อมสามารถจะคล้องช้างได้. บทว่า อติปสฺสิตฺวา แปลว่า เห็นแล้ว.
บทว่า เอตฺถ เคธา ได้แก่ ความห่วงที่เป็นไปในนาควันนั้น. บทว่า
สรสงฺกปฺปานํ แปลว่า ความดำริพล่าน. ในบทว่า มนุสฺสกนฺเตสุ สีเลสุ
สมาทปนาย
มีอธิบายว่า ในเวลาใด สตรีและบุตร กุมารกุมารี จับที่
งวงเป็นต้น เล่นหัวอยู่ด้วย ช้างไม่แสดงอาการผิดปกติ คืออยู่อย่างสบาย
ในเวลานั้น ช้างนั้น ชื่อว่า ย่อมบรรเทิงใจ ตามปกติที่มนุษย์ต้องการ.
บทว่า เปมนียา ได้แก่ พูดว่า พ่อคุณ พระราชาโปรดพ่อแล้ว จัก
แต่งตั้งพ่อไว้ ในตำแหน่งมงคลหัตถีทีเดียว พ่อจักได้ของกินดี ๆ มีโภชนะ
เป็นต้นที่คู่ควรแก่พระราชา คำพูดเห็นปานนี้ เป็นคำพูดที่ช้างรัก. บทว่า
สุสฺสุสติ ความว่า ช้างย่อมประสงค์จะฟังถ้อยคำที่น่ารักเห็นปานนั้น. บทว่า

ติณฆาโสทกํ ได้แก่ เพิ่มอาหารคือหญ้าและน้ำ. บทว่า ติณฆานํ แปลว่า
หญ้าที่พึงเคียว อธิบายว่า หญ้าที่พึงกิน.
บทว่า ปณฺฑโว แปลว่า มโหระทึก. บทว่า สพฺพวงฺกโทสนิหิ-
ตนินฺนิตกสาโว
ได้แก่ ทั้งกำจัดโทษคือความคดโกงทุกอย่างได้ด้วย ทั้งหมด
พยศด้วย. บทว่า องฺคนฺเตว สํขฺยํ คจฺฉติ ความว่า ย่อมจัดเป็นองคสมบัติ.
บทว่า เคหสิตสีลานํ ได้แก่ ศีลที่อาศัยกามคุณ 5. บทว่า ญายสฺส ได้แก่
อัฏฐังคิกมรรค.
ในบทว่า อทนฺตมรณํ มหลฺลโก รญฺโญ นาโค มโต กาลกโต
นี้ ได้ความดังนี้ว่า ช้างแก่ของพระราชาล้ม ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ฝึก. ในบททั้ง
ปวง ก็มีนัยนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาทันตภูมิสูตรที่ 5.

6. ภูมิชสูตร



[405] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคย
เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
ภูมิชะ นุ่งสงบ ทรงบาตรจีวรเข้าไปยังวังของพระราชกุมารชยเสนะในเวลาเช้า
แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะเข้าไปหาท่าน
พระภูมิชะ แล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับท่านพระภูมิชะ ครั้นผ่านคำทักทาย
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
[406] พระราชกุมารชยเสนะ ประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับสั่ง
กะท่านพระภูมิชะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังและความไม่หวังแล้วพระพฤติ
พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่
หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ในเรื่องนี้
ศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีความเห็นอย่างไร บอกไว้อย่างไร
[407] ท่านภูมิชะกล่าวว่า ดูก่อนพระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพ
มิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย แค่ข้อที่เป็นฐานะมีได้
แล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความ
หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถ