เมนู

อรรถกถาทันตภูมิสูตร



ทันตภูมิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ในเสนาสนะที่เขา
สร้างไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ในที่ซึ่งเงียบสงัดแห่งหนึ่งของ
พระวิหารเวฬุวันนั้นแล. บทว่า ราชกุมาโร หมายถึงพระราชกุมารชยเสนะ
ผู้เป็นราชบุตรของพระเจ้าพิมพิสาร.
บทว่า ผุเสยฺย แปลว่า พึงได้. บทว่า เอกคฺคตํ ความว่า พระราช-
กุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมได้
สมาบัติ ชื่อว่าย่อมได้ฌาน. บทว่า กิลมโถ ได้แก่ ความลำบากกาย. ความ
ลำบากนั่นแหละเรียกว่า วิเหสา บ้าง. บทว่า ยถาสเก ติฏฺเฐยฺยาสิ ความว่า
ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในส่วนที่ไม่รู้ ของพระองค์เถิด.
บทว่า เทเสสิ ความว่า ย่อมได้อย่างนี้ คือ ได้จิตเตกัคคตา ได้แก่
ย่อมยังสมาบัติให้เกิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอัปปนาสมาธิแต่อุปจารสมาธิ
แล้ว จึงกล่าวกสิณบริกรรมอย่างนี้. บทว่า ปเวทตฺวา แปลว่า ประกาศแล้ว.
บทว่า เนกฺขมฺเมน ญาตพฺพํ ความว่า พึงรู้ด้วยคุณคือบรรพชา
อันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม. ข้อนั้นท่านกล่าวไว้โดยอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า
เอกคฺคตา อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในคุณคือบรรพชาอันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม
พึงรู้. บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของ บทว่า ญาตพฺพํ นั้นแหละ. บทว่า กาเม
ปริภุญฺชนฺโต ได้แก่ บริโภคกามแม้ทั้งสองอย่าง.
บทว่า หตฺถิทมฺมา วา อสฺสทมฺมา วา โคทมฺมา วา นี้ มี
อธิบายว่า บุคคลผู้เว้นจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึก