เมนู

[397] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่
ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความ
ดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ
เร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิง
ในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้น เหมือนกันแล
สติปัฏฐาน 4 นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติ ชนิด
อาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย
ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ท่านิพพานให้แจ้ง.

ว่าด้วยจตุสติปัฏฐานเป็นต้น


[398] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับ
เวทนา จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม
เธอยู่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิ
อยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปิติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย
นามกาย เข้าตติยฌาน... ย่อมเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.
[399] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความ