เมนู

กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค
และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรนย์ เดี๋ยวนี้เหมือนกัน สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูด
อย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย ความเป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงไม่แลเห็น
สิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราช
กุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่ยีงกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุม
ไว้แล้ว พระราชกุมารชยเสนะนั้นแลยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูก
กามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม
จักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้งซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขา
บรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูก่อนอัคคิ-
เวสสนะ ถ้าอุปมา 2 ข้อนี้ จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งเพื่อพระราชกุมารชยเสนะได้
พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใสแล้ว จะพึงทำอาการของ
บุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปมา 2 ข้อนี้ จักแจ่มแจ้ง กะข้าพระองค์
ต่อพระกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาอันไม่น่าอัศจรรย์ ข้าพระองค์
ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเลย.

ว่าด้วยอุปมาด้วยช้าง


[395] พ. ดูก่อนอัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์
ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ตรัสเรียกพรานนาควนิกมารับสั่งว่า มานี่แน่ะพ่อ
พรานเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จงคล้อง
มันไว้ ให้มั่นคงที่คอช้างหลวงเถิด พรานนาควนิกรับสนองพระราชโองการ
แล้ว จึงขึ้นช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องไว้มั่นคงที่คอ
ช้างหลวง ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้น ออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ ดูก่อนอัคคิเวสสนะ

เพียงเท่านี้แล ช้างป่าจึงมาอยู่กลางแจ้ง ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือ
ป่าช้างอยู่ พรานจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระราชามหากษัตริย์ว่า ขอเดชะ ช้างป่า
ของพระองค์มาอยู่ที่กลางแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชามหากษัตริย์จึง
ตรัสเรียกควาญผู้ฝึกช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ ควาญช้างเพื่อนยาก ท่านจงฝึก
ช้างป่า จงไปแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไข
ความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อ
ให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการเถิด
ควาญช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอ
ช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า
แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า
เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ
ควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้
รักใคร่ จับ ใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็น
ปานนั้น ในเมื่อช้างป่าอันควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะ
หู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนา
และชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสำเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ดังจิตรับรู้
ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับรู้
อาหาร คือ หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า คราวนี้
ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ จึงให้ช้างนั้น ทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อใน
เมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการ
รับและการทิ้ง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้น ทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ
ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างให้
การรุกและการถอย ควาญช้างจึงให้ช้างนั้น ทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่ายืนพ่อ เทาพ่อ

ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างใน
การยืนและการเทา ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูก
โล่ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัด
หลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้น ถูก
ควาญช้างให้ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อน
ไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่
เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู. ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่
เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร
และเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์
สังข์ และกลองเล็ก กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความ
นับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติ
ของพระราชา ฉันใด.

ว่าด้วยพระพุทธคุณ


[396] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติใน
โลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเป็นไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยีงกว่ามิได้
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้คนแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคต
นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม
ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดง
ธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ
ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดี
ก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นพึงแล้ว