เมนู

อรรถกถาสุญญตาวรรค



อรรถกถาจูฬสุญญตาสูตร



จูฬสุญญตาสูตร1 มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกมิทํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระกระทำ
วัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปสู่ที่พักกลางวันของตน กำหนดเวลาแล้ว.
นั่งเจริญสุญญตาผลสมาบัติ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วออกตามเวลาที่
กำหนด. ลำดับนั้น สังขารของท่านปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า ท่าน
ใครสดับสุญญตากถา แล้วได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีธุระยุ่งเหยิง ไม่อาจ
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ได้โปรด
ตรัสสุญญตากถาแก่ข้าพระองค์ เอาละเราจะให้พระองค์ระลึกถึงข้อที่พระองค์
เข้าไปอาศัยนิคมชื่อนครกะ ตรัสกถาเรื่องหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัส
สุญญตากถาแก่เราอย่างนี้. เมื่อพระอานนท์จะให้พระทศพลทรงระลึกได้
จึงกล่าวว่า เอกมิทํ เป็นต้น. บทว่า อิทํ ในบทว่า อเกมิทํ เป็นเพียง
นิบาตเท่านั้น. บทว่า กิจจิ เมตํ ภนฺเต ความว่า พระเถระจำไค้เพียงบทเดียว
ก็สามารถจะค้นคว้าทรงจำไว้ไค้ถึงหกหมื่นบท เพราะฉะนั้น ท่านจักไม่สามารถ
เพื่อจะมีสุญญตาวิหารธรรม แล้วทรงจำบทเพียงบทเดียว ฉะนั้น การที่ผู้
ประสงค์จะฟัง ทำเป็นเหมือนคนรู้แล้วถามไม่สมควร. พระเถระประสงค์จะฟัง
สุญญตากถาที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างพิสดารให้แจ่มแจ้ง จึงกราบทูลอย่างนี้
เหมือนไม่รู้ บางคนแม้ไม่รู้ ก็ทำเป็นเหมือนคนรู้. พระเถระจะการทำการ
1. พระสูตร. เป็น จูฬสุญญสูตร

หลอกลวงอย่างนี้ได้อย่างไรเล่า. พระเถระแสดงความเคารพต่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงกราบทูล คำเป็นต้นว่า กจฺจิ เมตํ แม้ในฐานะที่คนรู้.
บทว่า ปุพฺเพ ความว่า แม้ในเวลาที่เข้าไปอาศัยนิคมชื่อว่านครกะ ใน
ปฐมโพธิกาล บทว่า เอตรหิ แปลว่า แม้ในบัดนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงมีพระพุทธดำริว่า อานนท์ประสงค์จะสดับ สุญญตา
กถา ก็คนบางคนสามารถสดับ แต่ไม่สามารถที่จะเรียน บางคนสามารถ
ทั้งสดับทั้งเรียน แต่ไม่อาจจะแสดง แต่สำหรับพระอานนท์ สามารถทั้งสดับ
ทั้งเรียน ทั้งแสดง เราจะกล่าวสุญญตากถาแก่เธอ. เมื่อจะตรัสสุญญตากถานั้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุญฺโญ หตฺถิคฺวาสฺสวฬเวน นั้น
ความว่า ช้างเป็นต้นที่เขาทำเป็นช้างไม้ ช้างดินปั้น ช้างภาพเขียน มีอยู่ใน
ปราสาทนั้น เงินทองที่ทำเป็นจิตรกรรมในที่ตั้งของท้าวเวสวัณ ท้าวมันธาตุราช
เป็นต้นบ้าง ทีเขาประกอบเป็นหน้าต่าง ประตู และเตียงตั้งที่ประดับด้วย
เงินทองนั้น ที่เก็บไว้เพื่อปฏิสังขรณ์ของเก่าก็มี. แม้หญิงชายที่มาฟังธรรม
และถามปัญหาเป็นต้น การทำด้วยรูปไม้เป็นต้นมีอยู่ ฉะนั้น ปราสาทนั้นจึง
ไม่ว่างจากหญิงและชายเหล่านั้น. ท่านกล่าวคำนี้ หมายถึงความไม่มีแห่งช้าง
เป็นต้นที่มีวิญญาณ เนื่องด้วยอินทรีย์ เงินและทองที่ใช้สอยในขณะต้องการ
และหญิงชายทีอยู่เป็นนิตย์. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆํ ปฏิจฺจ ความว่า ด้วยว่าถึง
แม้ภิกษุทั้งหลายจะเข้าไปบิณฑบาต ปราสาทนั้นก็ไม่ว่างจากภิกษุผู้ยินดีภัตรใน
วิหาร และภิกษุผู้เป็นใช้ ภิกษุพยาบาลใช้ ภิกษุนักศึกษา ภิกษุผู้ขวนขวาย
จีวรกรรมเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ เพราะมีภิกษุ
อยู่ประจำ. บทว่า เอกตฺตํ แปลว่า ความเป็นหนึ่ง อธิบายว่า ไม่ว่างเลย
ท่านอธิบายว่า มีความไม่ว่างอย่างเดียว. บทว่า อมนสิกริตฺวา แปลว่า

ไม่กระทำไว้ในใจ. บทว่า อนาวชฺชิตวา แปลว่าไม่พิจารณา. บทว่า คามส ญฺญํ
ความว่า สัญญาว่าบ้านเกิดขึ้น โดยยึดว่าเป็นบ้าน หรือโดยเป็นกิเลส. แม้ใน
มนุสสสัญญาก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้แหละ. บทว่า อรญฺญสญฺญํ ปฏิจฺจ
มนสิกโรติ เอกตฺตํ ความว่า การทำไว้ในใจซึ่งบ้านว่า เป็นอรัญญสัญญา
เพราะป่าอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้ภูเขา นี้ไพรสณฑ์ที่เขียว
ชะอุ่ม. บทว่า ปกฺขนฺทติ แปลว่า หยั่งลง. บทว่า อธิมุจฺจติ แปลว่า
น้อมไปว่าอย่างนี้. บทว่า เย อสฺสุ ทรถา ความว่า ความกระวน
กระวายที่เป็นไปแล้วก็ดี ความกระวนกระวายเพราะกิเลสก็ดี ที่จะพึงมีเพราะ
อาศัยคามสัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีด้วยอรัญญสัญญาในป่านี้. แม้ในบทที่
สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถิ เจวายํ ความว่า แต่มีเพียงความ
กระวนกระวายที่เป็นไป ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยอรัญญสัญญาอย่างเดียว. บทว่า
ยํ หิ โข ตตฺถ น โหติ ความว่า ความกระวนกระวายที่เป็นไปแล้ว
และความกระวนกระวายเพราะกิเลสซึ่งเกิดขึ้นโดยคามสัญญา และมนุสสสัญญา
นั้นย่อมไม่มีในอรัญญสัญญานี้ เหมือนช้างเป็นต้นไม่มีในปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมารดา. บทว่า ยํ ปน ตตฺถ อวสิฏฺฐํ ความว่า จะมีเหลืออยู่
ก็เพียงแค่ความกระวนกระวายที่เป็นไปในอรัญญสัญญานั้น. เหมือนภิกษุสงฆ์
ที่อยู่ในปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา. บทว่า ตํ สนฺตมิทํ อตฺถีติ
ปชานาติ
ความว่า รู้ชัดสิ่งนั้น ที่มีอยู่เท่านั้นว่าไม่มีอยู่. บทว่า สุญฺญตรวกฺกนฺติ
แปลว่า ความบังเกิดขึ้นแห่งสุญญตา. บทว่า อมนสิกริตฺวา มนุสฺสสญฺญํ
คือ ไม่ถือเอาคามสัญญาในบทนี้ เพราะเหตุไร. เพราะได้ยินว่า ภิกษุนั้น
มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะยังคามสัญญาให้เกิดด้วยมนุสสสัญญา ยังมนุสสสัญญา
ให้เกิดด้วยอรัญญสัญญา ยังอรัญญสัญญาให้เกิดด้วยปฐวีสัญญา ยังปฐวีสัญญา
ให้เกิดด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ฯลฯ ยังอากิญญจัญญายตนสัญญาให้เกิดด้วย

เนวสัญญานาสัญญายจนสัญญา ยังเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้เกิดด้วย
วิปัสสนา ยังวิปัสสนาให้เกิดด้วยมรรค จักแสดงอัจจันตสุญญตาโดยลำดับ
ฉะนั้น จึงเริ่มเทศนาอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐวีสญฺญํ ความว่า เพราะเหตุไรจึงละ
อรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. เพราะบรรลุคุณพิเศษด้วยอรัญญสัญญา.
เปรียบเหมือนบุรุษเห็นที่นา ซึ่งน่ารื่นรมย์และที่นาตั้งเจ็ดครั้ง ด้วยคิดว่า
ข้าวสาลีเป็นต้น ที่หว่านลงในนานี้ จักสมบูรณ์ด้วยดี เราจักได้ลาภใหญ่
ข้าวสาลีเป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าเขาทำที่นั้น ให้ปราศจากหลักตอ
และหนามแล้ว ไถ หว่าน เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าวสาลีย่อมสมบูรณ์ ฉันใดภิกษุ
ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ใส่ใจป่านี้ให้เป็นอรัญญสัญญาถึงเจ็ดครั้งว่า นี้ป่า นี้ต้นไม้
นี้ภูเขา นี้ไพรสนฑ์เขียวชะอุ่ม ย่อมบรรลุอุปจารสมาธิ. สำหรับ ปฐวีสัญญา
ภิกษุนั้นกระทำปฐวีกสิณ บริกรรมให้เป็นกัมมัฏฐานประจำ ยังฌานให้เกิด
เจริญวิปัสสนา ซึ่งมีฌานเป็นปทัฎฐาน สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้
เพราะฉะนั้น เธอย่อมละอรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. บทว่า ปฏิจฺจ แปลว่า
อาศัยกันเกิดขึ้น.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อเปรียบเทียบปฐวีกสิณที่ภิกษุมีความสำคัญว่าปฐวี
ในปฐวีกสิณ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อสุภสฺส เอตํ คือ โคผู้องอาจ ความว่า โคเหล่าอื่น ถึงจะมีฝีบ้าง รอย
ทิ่มแทงบ้าง หนังของโคเหล่านั้น เมื่อคลี่ออก ย่อมไม่มีริ้วรอย ตำหนิเหล่านั้น
ย่อมไม่เกิดแก่โคอุสภะ เพราะสมบูรณ์ด้วยลักษณะ. ฉะนั้น จึงถือเอาหนังของ
โคอุสภะนั้น บทว่า สํกุสฺเตน ได้แก่ ขอร้อยเล่ม. บทว่า สุวิหตํ ได้แก่

เหยียดออกแล้ว ขูดจนเกลี้ยงเกลา. แท้จริงหนังโคที่เขาใช้ขอไม่ถึงร้อยเล่ม
ขูดออก ยังไม่เกลี้ยงเกลา ใช้ขอถึงร้อยเล่มย่อมเกลี้ยงเกลา เหมือนพื้นกลอง
เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุกฺกุลวิกุลํ แปลว่า สูง ๆ ต่ำ ๆ คือ
เป็นที่ดอนบ้าง เป็นที่ลุ่มบ้าง. บทว่า นทีวิทุคฺคํ ได้แก่ แม่น้ำและที่ซึ่ง
เดินไม่สะดวก บทว่า ปฐวีสญฺญํ ปฏจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ความว่า
ใส่ใจสัญญาอย่างเดียวที่อาศัยกันเกิดขึ้นในปฐวีกสิณ. บทว่า ทรถมตฺตา
ความว่า จำเดิมแต่นี้ พึงทราบความกระวนกระวาย โดยความกระวนกระวาย
ที่เป็นไปในวาระทั้งปวง. บทว่า อนิมิตฺตํ เจโต สมาธึ ได้แก่ วิปัสสนา-
จิตตสมาธิ. เจโตสมาธิที่เว้น จากนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า อนิมิต.
บทว่า อิมเมวกายํ ท่านแสดงวัตถุด้วยวิปัสสนา. ในบทเหล่านั้น บทว่า
อิมเมว ได้แก่ มหาภูตรูปทั้ง 4 นี้. บทว่า สฬายตนิกํ แปลว่า ปฎิสังยุต
ด้วยสฬายตนะ. บทว่า ชีวิตปจฺจยา ความว่า ชีวิตยังเป็นอยู่ได้ ก็ชั่วชีวิต
ตินทรีย์ยังเป็นไป อธิบายว่า ปฐวีสัญญานั้น ยังมีความกระวนกระวายที่เป็นไป.
เพื่อจะทรงแสดงความเห็นแจ้งโดยเฉพาะของวิปัสสนา จึงตรัสว่า อนิมิตฺตํ อีก.
บทว่า กามาสวํ ปฏจฺจ แปลว่า อาศัยกามาสวะ. อธิบายว่า ความกระวน
กระวายที่จะเกิดขึ้นและที่เป็นไปแล้ว ไม่มีในที่นี้ คือไม่มีในอริยมรรคและ
อริยผล. บทว่า อมิเมว กายํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงความกระวนกระวายของ
เบ็ญจขันธ์ที่ยังเหลืออยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันทรงเปลี่ยนมนุสสสัญญาเป็น
คามสัญญา ฯลฯ มรรคเป็นวิปัสสนา แล้วทรงแสดงความว่างเปล่าล่วงส่วน
โดยลำดับ. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า อนุตฺตรํ
แปลว่าเว้น จากสิ่งอื่นที่ยอดเยี่ยม คือประเสริฐสุดกว่าทุกอย่าง บทว่า สุญฺญตํ
ได้แก่ สุญญตาผลสมาบัติ บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะสมณพราหมณ์

คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าในอดีตก็ดี
สมณพราหมณ์คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า
ในอนาคตก็ดี สมณพราหมณ์คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวก
แห่งพระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี เข้าสุญญตะอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้อยู่แล้ว จักอยู่
และกำลังอยู่ ฉะนั้นคำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาจูฬสุญญตาสูตร ที่ 1

2. มหาสุญญตสูตร



[343] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง
ทรงบาตรจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้น
เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยัง
วิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มี
พระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระ-
ดำริดังนี้ว่า ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มาก
ด้วยกัน ที่นี้มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอ.
[344] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับ ภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรม
อยู่ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ
ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว
จึงตรัสสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ
ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแด่พระองค์ผู้
เจริญ จีวรกาลสมัยของพวกพระองค์กำลังดำเนินอยู่.

ว่าด้วยฐานะและอฐานะ


[345] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการ
คลุกคลีกัน ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดี