เมนู

อรรถกถาอินทริยภานาสูตร



อินทริยภาวนาสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คำว่า ใน ชังกลา1 คือในจังหวัดมีชื่ออย่างนั้น.
คำว่า ที่ป่าไผ่ ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อเวฬุ (คือต้นไผ่). มีชัฎป่าใหญ่ที่ต้น
เวฬุเหล่านั้นปกคลุมแล้ว ประทับอยู่ในราวป่านั้น. คำว่า ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ
ไม่ยินเสียงด้วยโสต
ท่านกล่าวอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง
อย่างนี้ว่า ไม่พึงดูรูปด้วยตา ไม่พึงฟังเสียงด้วยหู. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
จะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์ที่ไม่เหมือนในศาสนาของพระองค์จึงได้ทรงทำ
อาลัยด้วยบทนี้ว่า ในวินัยของพระอริยเจ้าเป็นอย่างอื่น. ท่านพระอานนที่
คิดว่า พระศาสดาทรงแสดงอาลัย เอาละเราจะขอให้ทรงกระทำถ้อยคำเกี่ยวกับ
การอบรมอินทรีย์ แก่หมู่ภิกษุในบริษัทนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอร้องพระศาสดา
จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เอตสฺส ภควา. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
จะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์แก่ท่าน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น
อานนท์. ในพระสูตรนั้น คำว่า นี้คืออุเบกขา คือ ชื่อว่าวิปัสสนูเปกขา
นี้ใด วิปัสสนูเปกขานี้สงบระงับ วิปัสสนูเปกขานี้ประณีต อธิบายว่า ไม่ทำให้
เดือนร้อน. ภิกษุนี้ ไม่ให้จิตพอใจในอารมณ์ที่น่าปรารถนาในรูปารมณ์ ในจักษุ
ทวาร ไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และพอใจไม่พอใจในอารมณ์
กลาง ๆ ไม่ให้เพื่อกำหนัด เพื่อประทุษร้าย หรือเพื่อหลงใหลแก่จิตนั้น
กำหนดเอาแล้ว ตั้งวิปัสสนาในความเป็นกลาง. คำว่า ผู้มีดวงตา คือมีจักษุ
สมบูรณ์ มีดวงเนตรหมดจด. จริงอยู่ ผู้ที่เจ็บตาจะลืมหรือหลับตาไปข้างบน
1. บาลี กชฺชงฺคา