เมนู

ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยัง
มีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่
ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง
ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่
ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น อานนท์
นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า
ในวินัยของพระอริยะ.

ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์


[858] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่
ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ
และไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือน
อย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น
อานนท์ เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ. อย่างไม่มี
วิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[859] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัด

อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้น แลเป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่
ละเอียด ประณีต นั้น คืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ
และไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที เคยไม่ลำบาก เหมือน
อย่างบุรุษมีกำลังตล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก
ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่าง
ไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[860] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น
ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั้นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่
ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง
ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ได้โดยเร็วพลันทันที โดย
ไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่
ลำบาก ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า กำเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้
ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[861] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ
รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ

และไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น
ยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่
ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง
ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก
อย่างนี้ เหมือนบุรุษมีกำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกะทะเหล็ก
ที่ร้อนจัดตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะ
ถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็วทีเดียว ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญ
อินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย ของพระ
อริยะ.
อานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย
ของพระอริยะ.
[862] ดูก่อนอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ดูก่อน
อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความ
ชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย
เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อัน
เกิดขึ้นแล้วนั้น เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่
ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ... เพราะ
ลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์
ด้วยมโน... เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่ายเกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบ
ใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่าง
นี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่.

[863] ดูก่อนอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอถ้าหวังว่าจะมีความ
สำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งนั้น ๆ
ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของ
ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้า
หวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่า เป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อม
เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความ
สำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ
ในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและ
ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้น ๆ
อยู่อย่างนี้สติสัมปชัญญะได้.
[868] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา... เพราะถูกต้องโผฏ-
ฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความ
สำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ
ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของ
ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้า
หวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลว่าเป็นของไม่ปฎิกูลอยู่ ก็
ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมี
ความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญ
ในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและ
ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้น ๆ

อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญ
อินทรีย์แล้ว.
[865] ดูก่อนอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่ง
กว่าในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญ
อินทรีย์แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหา
ประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ดูก่อนอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ
ทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือนร้อนในภายหลัง นี้
เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนที่จึงชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าฉะนี้แล.
จบ อินทรียภาวนาสูตร ที่ 10
จบ สฬายตนวรรค ที่ 5

อรรถกถาอินทริยภานาสูตร



อินทริยภาวนาสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คำว่า ใน ชังกลา1 คือในจังหวัดมีชื่ออย่างนั้น.
คำว่า ที่ป่าไผ่ ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อเวฬุ (คือต้นไผ่). มีชัฎป่าใหญ่ที่ต้น
เวฬุเหล่านั้นปกคลุมแล้ว ประทับอยู่ในราวป่านั้น. คำว่า ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ
ไม่ยินเสียงด้วยโสต
ท่านกล่าวอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง
อย่างนี้ว่า ไม่พึงดูรูปด้วยตา ไม่พึงฟังเสียงด้วยหู. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ
จะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์ที่ไม่เหมือนในศาสนาของพระองค์จึงได้ทรงทำ
อาลัยด้วยบทนี้ว่า ในวินัยของพระอริยเจ้าเป็นอย่างอื่น. ท่านพระอานนที่
คิดว่า พระศาสดาทรงแสดงอาลัย เอาละเราจะขอให้ทรงกระทำถ้อยคำเกี่ยวกับ
การอบรมอินทรีย์ แก่หมู่ภิกษุในบริษัทนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอร้องพระศาสดา
จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เอตสฺส ภควา. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
จะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์แก่ท่าน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น
อานนท์. ในพระสูตรนั้น คำว่า นี้คืออุเบกขา คือ ชื่อว่าวิปัสสนูเปกขา
นี้ใด วิปัสสนูเปกขานี้สงบระงับ วิปัสสนูเปกขานี้ประณีต อธิบายว่า ไม่ทำให้
เดือนร้อน. ภิกษุนี้ ไม่ให้จิตพอใจในอารมณ์ที่น่าปรารถนาในรูปารมณ์ ในจักษุ
ทวาร ไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และพอใจไม่พอใจในอารมณ์
กลาง ๆ ไม่ให้เพื่อกำหนัด เพื่อประทุษร้าย หรือเพื่อหลงใหลแก่จิตนั้น
กำหนดเอาแล้ว ตั้งวิปัสสนาในความเป็นกลาง. คำว่า ผู้มีดวงตา คือมีจักษุ
สมบูรณ์ มีดวงเนตรหมดจด. จริงอยู่ ผู้ที่เจ็บตาจะลืมหรือหลับตาไปข้างบน
1. บาลี กชฺชงฺคา