เมนู

อรรถกถามหาสฬายตนสูตร1



มหาสฬายตนสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คำว่า มหาสฬายตนิกํ เป็นธรรมบรรยายส่อง
ถึงอายตนะที่สำคัญทั้ง 6 อย่าง. คำว่า เมื่อไม่รู้ คือไม่รู้ด้วยมรรคที่พร้อมกับ
วิปัสสนา. คำว่า ถึงความพอกพูน คือย่อมถึงความเจริญ หมายความ
ว่า ย่อมถึงความชำนิชำนาญ คำว่า ทางกาย ได้แก่ ความกระสับกระส่าย
ทางทวารทั้ง 5. คำว่า ทางใจ ได้แก่ ความกระสับกระส่ายทางมโนทวาร.
แม้ในคำว่า ความเร่าร้อน เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้เหมือนกัน. บทว่า สุข
ทางกาย
ได้แก่ สุขทางทวาร 5. คำว่า สุขทางใจ ได้แก่สุขทางมโนทวาร.
และในคำว่า สุขทางใจ นี้ ไม่มีการเข้าหรือการออกด้วยชวนะทางทวาร 5. คือ
ความสุขทางใจนี้สักว่าเกิดขึ้นเท่านั้นเอง. ทุกอย่างย่อมมีได้ทางมโนทวาร.
ก็แหละวิปัสสนาที่มีกำลังนี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่มรรควุฏฐาน. วิปัสสนาที่มีกำลังนั้น
จึงมีได้ทางมโนทวารเหมือนกัน .
คำว่า ตถาภูตสฺส คือ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขทางใจ ที่
ประกอบพร้อมด้วยกุศลจิต. คำว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส คือ วาจา
การงานและอาชีพ ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สะอาดมาก่อนแล้ว คือย่อมเป็นของ
หมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก 5 องค์ คือความเห็น ความดำริ ความพยายาม
ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี. ด้วยประการ
ฉะนี้ โลกุตตรมรรค จึงมีองค์ 8 หรือองค์ 7 ก็ได้. ส่วนผู้ที่ชอบพูดเคาะ
(แซว) จับเอาเนื้อพระสูตรนี้แหละว่า ความเห็นของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นใด
1. บาลี เป็นสฬายตนวิภังคสูตร

แล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมีองค์ 5 ก็ไม่มี. พึงคัดค้านผู้ชอบพูดเคาะนั้น
ด้วยคำพูดสวนทันควันนี้ว่า อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ของเธอนี้ ย่อมถึง
ความบริบูรณ์แห่งการอบรมด้วยอาการอย่างนี้. และก็พึงให้ตกลงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อย่างนี้ . ขึ้นชื่อว่าโลกุตตรมรรคนั้นมีองค์ 5 ไม่มีหรือก็ส่วนองค์ที่สนับสนุนใน
ทุกกรณีเหล่านี้ ย่อมให้เต็มด้วยอำนาจวิรติเจตสิกในขณะแห่งมรรค เพราะว่า
วิรติเจตสิกในวิรติเจตสิกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ความงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง 4 อัน
ใด ย่อมละการพูดผิด ทำการพูดชอบให้เจริญ เมื่ออบรมวาจาชอบ
อยู่อย่างนี้ องค์ทั้ง 5 ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง ย่อมบริบูรณ์พร้อมกับความงดเว้น
นั้นเอง. แม้ในการงานชอบและในการเลี้ยงชีพชอบก็ทำนองนี้แหละ. ด้วย
ประการฉะนี้ วจีกรรมเป็นต้น ก็เป็นของหมดจดตั้งแต่แรกเริ่มทีเดียว.
ส่วนองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณีทั้ง 5 เหล่านั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยอำนาจ
วิรติเจตสิก. จึงเป็นอันว่า มรรคที่มีองค์ 5 ไม่มี. และแม้ในสุภัททสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า สุภัททะในธรรมวินัยใดแล มีอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ 8. และพระสูตรอื่นทั้งหลายร้อยสูตร ก็มาแล้วแต่มรรคที่
มีองค์ 8 เท่านั้น. คำว่า สติปัฏฐานแม้ 4 อย่าง คือสติปัฏฐาน 4
ที่ประกอบพร้อมด้วยมรรคนั่นเอง. แม้ในความพยายามชอบเป็นต้น ก็ทำนอง
เดียวกันนี้แหละ. คำว่า ยุคนทฺธา คือ คู่เคียง ประกอบด้วยขณะเดียวกัน.
ธรรมะเหล่านั้น แม้จะมีขณะต่างกันอย่างนี้ คือ ในขณะหนึ่งเป็นสมาบัติ
ในขณะอื่นเป็นวิปัสสนา. แต่ในอริยมรรค ธรรมเหล่านั้นประกอบในขณะ
เดียวกัน. คำว่า วิชชา และ วิมุตติ ได้แก่วิชชาในอรหัตตมรรค และ
ผลวิมุตติ. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามหาสฬายตนสูตรที่ 7

8. นครวินเทยยสูตร



[832] ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์แห่งโกศลชนบทชื่อว่านคร
วินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวว่า พระสมณะผู้
ศากยบุตรเสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชน-
บทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงบ้านนครวินทะโดยลำดับ พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดัง
นี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่
ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
ผู้ตื้นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ทั้งสมณะและ
พราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น
ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ทรงประกาศพรหมจรรย์
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็น
การดีแล ครั้งนั้นแล พราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ พากันเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วบางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรใน