เมนู

ว่าด้วยมรรคบริบูรณ์ด้วยความเจริญ


[828] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็น
จริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตาม
ความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็น
ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่
เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่
กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว
ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ 5
ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย
ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้
ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อม
เสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น
สันมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้น ย่อมเป็นสัมมา-
วายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความ
ตั้งใจมั่นอันใด ความตั้งใจมั่นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจี
กรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้
เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์.
[829] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ชื่อ
ว่ามีสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ5 โพชฌงค์ 7

ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละ
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ข้อ
ที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เหล่านั้นชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านั้นชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[830] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสต ตามความเป็น
จริง.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ
เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช้ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่
กำหนัดในธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส
ไม่กำหนัด. ในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้น
ไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อม
มีอุปาทานขันธ์ 5 ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลิน
ในอารมณ์ ๆ ได้. จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละ
ความเดือนร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้
ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด
ความดำริอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ. มีความพยายามอันใด ความพยายาม
อันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะมีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็น
สันมาสติ มีความทั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกาย
กรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้
เขาชื่อว่ามีอฏัฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์.
[831] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อ
ว่า มีสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 ถึงความเจริญสมบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ
สมถะและปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อ
ที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ สฬายตนวิภังคสูตรที่ 7

อรรถกถามหาสฬายตนสูตร1



มหาสฬายตนสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คำว่า มหาสฬายตนิกํ เป็นธรรมบรรยายส่อง
ถึงอายตนะที่สำคัญทั้ง 6 อย่าง. คำว่า เมื่อไม่รู้ คือไม่รู้ด้วยมรรคที่พร้อมกับ
วิปัสสนา. คำว่า ถึงความพอกพูน คือย่อมถึงความเจริญ หมายความ
ว่า ย่อมถึงความชำนิชำนาญ คำว่า ทางกาย ได้แก่ ความกระสับกระส่าย
ทางทวารทั้ง 5. คำว่า ทางใจ ได้แก่ ความกระสับกระส่ายทางมโนทวาร.
แม้ในคำว่า ความเร่าร้อน เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้เหมือนกัน. บทว่า สุข
ทางกาย
ได้แก่ สุขทางทวาร 5. คำว่า สุขทางใจ ได้แก่สุขทางมโนทวาร.
และในคำว่า สุขทางใจ นี้ ไม่มีการเข้าหรือการออกด้วยชวนะทางทวาร 5. คือ
ความสุขทางใจนี้สักว่าเกิดขึ้นเท่านั้นเอง. ทุกอย่างย่อมมีได้ทางมโนทวาร.
ก็แหละวิปัสสนาที่มีกำลังนี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่มรรควุฏฐาน. วิปัสสนาที่มีกำลังนั้น
จึงมีได้ทางมโนทวารเหมือนกัน .
คำว่า ตถาภูตสฺส คือ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขทางใจ ที่
ประกอบพร้อมด้วยกุศลจิต. คำว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส คือ วาจา
การงานและอาชีพ ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สะอาดมาก่อนแล้ว คือย่อมเป็นของ
หมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก 5 องค์ คือความเห็น ความดำริ ความพยายาม
ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี. ด้วยประการ
ฉะนี้ โลกุตตรมรรค จึงมีองค์ 8 หรือองค์ 7 ก็ได้. ส่วนผู้ที่ชอบพูดเคาะ
(แซว) จับเอาเนื้อพระสูตรนี้แหละว่า ความเห็นของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นใด
1. บาลี เป็นสฬายตนวิภังคสูตร