เมนู

อรรถกถาฉฉักกสูตร



ฉฉักกสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อาทิกลฺยาณํ ความว่า เราจะทำให้
ไพเราะคือให้ปราศจากโทษ ให้ดีในเบื้องต้น แล้วแสดง. แม้ที่ไพเราะใน
ท่ามกลางและที่สุดก็ทำนองเดียวกันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศ-
สูตรด้วย 9 บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย 7 บท มหาอัสสปุรสูตรด้วย 7 บท
เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ . สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย 9 บท
คำว่า พึงทราบ คือพึงทราบด้วยมรรคพร้อมกับวิปัสสนา. จิตที่เป็น
ไปในภูมิสามเท่านั้นทรงแสดงด้วยมนายตนะ. และธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3
ข้างนอกทรงแสดงด้วยธรรมายตนะ. ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5 คู่
รวม 10 ดวง) โลกิยวิบากจิต 20 ดวงที่เหลือ ทรงแสดงด้วยมโนวิญญาณ.
ผัสสะและเวทนาเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากวิญญาณตามที่กล่าวไว้แล้ว คำว่า
ตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะ อันมีวิบากเวทนาเป็นปัจจัย
คำว่า จักษุเป็นตัวตน มีคำเชื่อมต่อเป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ก็แลเพื่อแสดง
ความที่สัจจะ 2 ข้อที่ตรัสไว้ในหนหลังไม่เป็นตัวตน จึงทรงเริ่มเทศนานี้ ใน
บทเหล่านั้น บทว่า ไม่ควร หมายถึงไม่เหมาะ. คำว่า เสื่อมไป คือ
ปราศไป ดับไป. คำว่า อยํ โข ปน ภิกฺขเว คือ แม้นี้ก็เป็นคำเชื่อมต่อที่
เป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. จริงอยู่ เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจความถือมั่น
3 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. บางท่านว่า เพื่อทรงแสดง
วัฏฏะด้วยสัจจะ 2 ข้อ คือ ทุกข์ สมุทัย ดังนี้ก็มีเหมือนกัน. ในคำว่า
นั่นของเรา เป็นต้น พึงทราบความถือมั่น ด้วยตัณหามานะ และทิฐินั่นแล.
คำว่า ย่อมเล็งเห็น คือย่อมเห็นด้วยอำนาจความถือมั่นทั้ง 3 อย่าง.