เมนู

ของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็ง
เห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น
โสตว่า นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นกายว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเราเล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ว่าด้วยความเป็นอฐานะ


[822] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุ-
วิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ
มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ
โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอน
เนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา

ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขม
สุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่
สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตแลเสียง เกิดโสตวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโน-
วิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขา
อันสุขเวทานาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ
จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อัน
อทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ
โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอน
เนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนวิชชานุสัยเพราะอทุกขม
สุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่
สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.
[823] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุข
เวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ

จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มี
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความ
ตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็น
จริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละ
ราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัย
เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็น
ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่น เป็นฐานะที่มีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตและเสียง เกิดโสตวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึง
ไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่
ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆา-
นุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น
ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริงจึง
ไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น ละราคานุสัย
เพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้.

[824] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อ-
หน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ
แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัส
ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ 60 รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่นแล.
จบ ฉฉักกสูตร ที่ 6

อรรถกถาฉฉักกสูตร



ฉฉักกสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อาทิกลฺยาณํ ความว่า เราจะทำให้
ไพเราะคือให้ปราศจากโทษ ให้ดีในเบื้องต้น แล้วแสดง. แม้ที่ไพเราะใน
ท่ามกลางและที่สุดก็ทำนองเดียวกันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศ-
สูตรด้วย 9 บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย 7 บท มหาอัสสปุรสูตรด้วย 7 บท
เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ . สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย 9 บท
คำว่า พึงทราบ คือพึงทราบด้วยมรรคพร้อมกับวิปัสสนา. จิตที่เป็น
ไปในภูมิสามเท่านั้นทรงแสดงด้วยมนายตนะ. และธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3
ข้างนอกทรงแสดงด้วยธรรมายตนะ. ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5 คู่
รวม 10 ดวง) โลกิยวิบากจิต 20 ดวงที่เหลือ ทรงแสดงด้วยมโนวิญญาณ.
ผัสสะและเวทนาเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากวิญญาณตามที่กล่าวไว้แล้ว คำว่า
ตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะ อันมีวิบากเวทนาเป็นปัจจัย
คำว่า จักษุเป็นตัวตน มีคำเชื่อมต่อเป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ก็แลเพื่อแสดง
ความที่สัจจะ 2 ข้อที่ตรัสไว้ในหนหลังไม่เป็นตัวตน จึงทรงเริ่มเทศนานี้ ใน
บทเหล่านั้น บทว่า ไม่ควร หมายถึงไม่เหมาะ. คำว่า เสื่อมไป คือ
ปราศไป ดับไป. คำว่า อยํ โข ปน ภิกฺขเว คือ แม้นี้ก็เป็นคำเชื่อมต่อที่
เป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. จริงอยู่ เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจความถือมั่น
3 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. บางท่านว่า เพื่อทรงแสดง
วัฏฏะด้วยสัจจะ 2 ข้อ คือ ทุกข์ สมุทัย ดังนี้ก็มีเหมือนกัน. ในคำว่า
นั่นของเรา เป็นต้น พึงทราบความถือมั่น ด้วยตัณหามานะ และทิฐินั่นแล.
คำว่า ย่อมเล็งเห็น คือย่อมเห็นด้วยอำนาจความถือมั่นทั้ง 3 อย่าง.