เมนู

อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ. . .
อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ. . .
อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ . . .
อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ. . .
อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรม
ทั้ง 3 เป็นผัสสะ. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบหมวดเวทนา 6 นั่น เราอาศัยเวทนานี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก
หมวดที่ 5.

ว่าด้วยกองแห่งตัณหา


[817] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา 6 นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความ
ประจวบของธรรมทั้ง 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ...
อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ...
อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ ...
อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ...
อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรม
ทั้ง 3 เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา 6 นั่น เราอาศัยตัณหา
นี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ 6.

[818] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร
จักษุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด
แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
จักษุจึงเป็นอัตตา.
ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้
ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า รูปเป็นอนัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น
อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา.
ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้น ไม่ควร จักษุ
วิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด
แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วย
ประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็น
อนัตตา
ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัส
ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิด ในแลเสื่อมไป
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วย
ประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็น
อนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อม
ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตาจักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัส
จึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา.
ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ
แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุ
จึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึง
เป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา.

ว่าด้วยอนัตตา


[819] ผู้ใดกล่าวว่า โสตเป็นอัตตา...
ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตาะ...
ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา...
ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา...
ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้
ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง
เป็นอนัตตา.