เมนู

อรรถกถาราหุโลวาทสูตร



ราหุโลวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คำว่า บ่มวิมุตติ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า
บ่มวิมุตติ ก็เพราะทำวิมุตติให้สุกงอม. คำว่า ธรรม ได้แก่ ธรรม
15 อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งของความหมดจดแห่ง
อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น . สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
(1) อินทรีย์คือความเธอย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ.
ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส.
(2) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร.
ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ.
(3) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านั้น คือ
ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น.
ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน).
(4) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านั้น
คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น.
1. บาลี จูฬราหุโลวาทสูตฺตํ

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งใจมั่น.
ค. พิจารณาฌานและวิโมกข์.
(5) อินทรีย์คือความรู้ชัดย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา.
ค. พิจารณาญาณจริยาที่ลึกซึ้ง.
เมื่อเว้นบุคคล 5 พวก เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคล 5 พวก พิจารณา
กองสูตร 5 กองเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ด้วยอาการ 15 อย่างเหล่านี้ อินทรีย์ทั้ง
5 อย่างก็ย่อมหมดจด. ยังมีธรรมสำหรับ บ่มวิมุตติอีก 15 อย่างคือ อินทรีย์
มีความเธอเป็นต้น เหล่านั้น 5 อย่าง ความสำคัญอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด
(นิพเพธภาคิยสัญญา) 5 อย่างเหล่านี้คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ความสำคัญว่า
เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความ
สำคัญในการละ ความสำคัญในวิราคะ และธรรมอีก 5 อย่างมีความเป็น
ผู้มีมิตรดีงามเป็นต้น ที่ตรัสแก้พระเมฆิยเถระ.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริอย่างนี้ในเวลาใดเล่า.
ตอบว่า เมื่อพระองค์ทรงตรวจดูโลก ในสมัยใกล้สว่าง ก็ทรงมีพระดำริอย่างนี้.
คำว่า เทวดาหลายพันองค์ ความว่า ทานพระราหุลตั้งความปรารถนาไว้
แทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งที่เป็น
พญานาคชื่อปาลิต พร้อมกับเทวดาที่ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนกัน. ก็แหละ
บรรดาเทวดาเหล่านั้น บางพวกก็เป็นเทวดาอยู่บนแผ่นดิน. บางพวกก็เกิดใน
อากาศ. บางพวกก็อยู่จาตุมหาราชิกา. บางพวกก็อยู่ในเทวโลก. บางพวกก็
เกิดในพรหมโลก. แต่ในวันนี้ เทวดาทั้งหมดมาประชุมกันในป่า อันธวัน

นั่นแลในทีเดียวกัน . คำว่า ดวงตาเห็นธรรม ความว่า ปฐมมรรค (โสดา
ปัตติมรรค) ท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในอุปาลีโอวาทสูตร และทีฆนขสูตร.
ผลทั้งสามท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในพรหมายุสูตร. ในสูตรนี้ มรรค 8
ผล 4 พึงทราบว่าเป็น ดวงตาเห็นธรรม. ก็แหละ ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น
เทวดาบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน . บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกก็
เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นพระขีณาสพ. และก็การกำหนดด้วยอำนาจนับ
จำนวนเทวดาเหล่านั้นว่าเท่านั้น เท่านี้ไม่มี. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาราหุโลวาทสูตร ที่ 5

6. ฉฉักกสูตร



[810] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
แก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลางในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวด
หก 6 หมวด พวกเธอจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
[811] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบ
อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6 หมวดวิญญาณ 6 หมวดผัสสะ 6
หมวดเวทนา 6 หมวดตัณหา 6.
[812] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน 6 นั้น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือ
ฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน 6 นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้วนี้
ธรรมหมวดหก หมวดที่ 1.
[813] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก 6 นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว