เมนู

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ว่าด้วยเวทนาเป็นต้น


[801] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยง
หรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เทียง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้า.
[802] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน โสตเที่ยง
หรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้า ฯลฯ
พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
[803] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา. นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[804] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์
เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[805] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนวิญญาณ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[806] พ. ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโน
สัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[807] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยง
หรือไม่เที่ยง.
ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข
ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า.
[808] พ. ราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ-
หน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น.
ความเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น.
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ
หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้มีได้มี.
[809] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุล
จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่าน
พระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลาย
พันองค์นั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
จบ จูฬราหุโลวาทสูตร ที่ 5

อรรถกถาราหุโลวาทสูตร



ราหุโลวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คำว่า บ่มวิมุตติ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า
บ่มวิมุตติ ก็เพราะทำวิมุตติให้สุกงอม. คำว่า ธรรม ได้แก่ ธรรม
15 อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งของความหมดจดแห่ง
อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น . สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
(1) อินทรีย์คือความเธอย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ.
ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส.
(2) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้ คือ
ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร.
ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ.
(3) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านั้น คือ
ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ.
ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น.
ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน).
(4) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านั้น
คือ
ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น.
1. บาลี จูฬราหุโลวาทสูตฺตํ