เมนู

อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตร



อัจฉริยัพภูตสูตร* มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อัศจรรย์ อธิบายว่า พระตถาคตพระองค์ใด. ที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม ในบทว่า
ฉินฺนปปญฺเจ นี้ ได้เเก่ กิเลส 3 อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
กัมมวัฏที่เป็นกุศลและอกุศล ท่านเรียกว่า วัฏฏุมะ ในบทว่า ฉนฺนวฏฺฏุเม นี้.
บทว่า ปริยาทินฺนวฏฺเฏ เป็นไวพจน์ของ บทว่า ฉินฺนวฏฺฏุเม นั้นแหละ.
บทว่า สพฺพทุกฺขวีสติวฏฺเฏ ความว่า ล่วงทุกข์ กล่าวคือ วิปากวัฏทั้งปวง.
บทว่า อนุสฺสริสฺสติ นี้ เป็นคำกล่าวถึงอนาคตกาล โดยใช้นิบาตว่า ยตฺร.
แต่ในบทนี้ พึงทราบความว่า ท่านใช้หมายถึงอดีต. แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว มิใช่จักระลึกถึงในบัดนี้. บทว่า เอวฺ
ชจฺจา
ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น มีพระชาติเป็น
กษัตริย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระกกุสันธะเป็นต้น มีพระชาติเป็นพราหมณ์.
บทว่า เอวํโคตฺตา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็น
โกณฑัญญโคตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระกกุสันธะเป็นต้น เป็นกัสสปโคตร.
บทว่า เอวํสีลา ความว่า มีศีลอย่างนี้ คือมีศีลเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.
ในบทว่า เอวํธมฺมา นี้ ท่านหมายเอาธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมาธิ
อธิบายว่า มีสมาธิอย่างนี้ คือ มีสมาธิเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. บทว่า
เอวํปญฺญา ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ คือ มีทั้งปัญญาที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระ. ก็ในบทว่า เอวํวิหารี นี้ ก็เพราะถือธรรมที่เป็นไปในฝ่ายสมาธิ
* พระสูตรเป็นอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร.

ไว้ในหนหลังแล้ว ก็เป็นอันถือวิหารธรรมไว้ด้วย หากจะมีผู้ท้วงว่าเหตุไร
ท่านจึงถือสิ่งที่ถือแล้วอีกเล่า. ตอบว่า ข้อนี้ท่านไม่ถืออย่างนั้นเลย. แท้จริง
การที่ท่านถือสิ่งที่ถือแล้วอีกนี้ ก็เพื่อจะแสดงถึงนิโรธสมาบัติ เพราะฉะนั้น
ในข้อนี้ ได้ความอย่างนี้ว่า มีปกติอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติอย่างนี้.
ในบทว่า เอวํ วิมุตฺตานี้ ได้แก่ วิมุตติ 5 อย่างคือ วิกขัมภนวิมุตติ 1
ตทังตวิมุตติ 1 สมุจเฉทวิมุตติ 1 ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ 1 นิสสรณวิมุตติ 1 ในวิมุตติ
5 เหล่านั้น สมาบัติ นับเป็นวิกขัมภนวิมุตติ เพราะพันแล้วจากกิเลสมีนิวรณ์
เป็นต้น ที่ตนข่มไว้แล้วเอง. อนุปัสสนา 7 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น นับเป็น
ตทังควิมุตติ เพราะสลัดพ้นแล้วจากนิจจสัญญาเป็นต้น ที่ตนสละแล้ว ด้วย
สามารถแห่งองค์ที่เป็นข้าศึกของมรรค นั้น ๆ. อริยมรรค 4 นับเป็นสมุจเฉท
วิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ตนถอนขึ้นแล้วเอง. สามัญญผล 4
นับเป็นปฎิปัสสัทธิวิมุตติ เพราะกิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในที่สุดแห่งปฎิปัสสัทธิ
ด้วยอานุภาพแห่งมรรค. นิพพานนับเป็นนิสสรณวิมุตติ เพราะเป็นที่สลัดออก
ขจัดออก ตั้งอยู่ในที่ใกล้กิเลสทั้งปวง. ในข้อนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า หลุดพ้น
แล้วอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งวิมุตติ 4 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า
ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ท่านกล่าวว่า พระตถาคตทั้งหลาย น่าอัศจรรย์
ฉะนั้น อัจฉริยภูตธรรมทั้งหลายของพระตถาคต จึงชัดแจ้งยิ่งกว่าประมาณ.
ในบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้ ได้แก่ สัมปชัญญะ 2 อย่าง คือ ทั้งใน
มนุษยโลก และเทวโลก. ในสัมปชัญญะ 2 นั้น ในเวสสันดรชาดก พระ-
เวสสันดรให้พระโอรสทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว ในวันรุ่งขึ้น ถวายพระมเหสี
แก่ท้าวสักกะ เมื่อถือเอาพร 8 อย่าง ที่ท้าวสักกะทรงเลื่อมใสประทานแล้ว
ได้เลือกถือเอาพรว่า เราจงถือปฏิสนธิในภพดุสิต อย่างนี้ว่า.

เมื่อล่วงพ้นจากอัตภาพนี้ไป ขอจง
ไปสวรรค์ ไปถึงชั้นดุสิตอันเป็นชั้นวิเศษ
ไม่พึงกลับจากนั้น พรนี้เป็นพรที่ 8.

จำเดิมแต่นั้นมา ก็รู้ว่าเราจักเกิดในดุสิตพิภพ. นี้จัดเป็นสัมปชัญญะ ใน
มนุษยโลก. ก็แลพระองค์ ทรงจุติจากอัตตภาพพระเวสสันดรแล้ว บังเกิดใน
ภาพดุสิต ได้รู้ตัวว่า เราเกิดแล้ว ดังนี้ เป็นสัมปชัญญะในเทวโลก.
ถามว่า ก็เทวดาที่เหลือทั้งหลายไม่รู้หรือ. ตอบว่า จะไม่รู้ก็หามิได้
แต่เทวดาเหล่านั้น ต้องแลดูต้นกัลปพฤกษ์ใกล้วิมานในอุทยาน ที่เหล่าเทพ
อัปสรผู้ฟ้อนรำปลุกให้ตื่นด้วยเสียงทิพยดุริยางค์ได้ระลึกว่า ท่านผู้นิรทุกข์ นี้เป็น
เทวโลก ท่านเกิดในเทวโลกนี้แล้ว ดังนี้ จึงจะรู้. พระโพธิสัตว์ไม่รู้ในปฐม
ชวนวาร. นับแต่ทุติยชวนวารไปถึงจะรู้. การรู้ของพระองค์ไม่สาธารณะทั่วไป
เหมือนคนอื่น ดังพรรณนามาฉะนี้. ในบทว่า อฏฺฐาสิ นี้ ความว่า แม้เทวดา
เหล่าอื่น ถึงจะดำรงอยู่ในภพนั้น ก็ย่อมรู้ตัวว่า พวกเราดำรงอยู่แล้ว ก็จริง
แต่เทวดาเหล่านั้น ถูกอิฏฐารมณ์ที่มีกำลังในทวารทั้ง 6 ครอบงำอยู่ ขาดสติ
ไม่รู้แม้สิ่งที่คนบริโภคแล้ว ดื่มแล้ว ย่อมทำกาละเพราะขาดอาหาร.
ถามว่า พระโพธิสัตว์ไม่มีอารมณ์อย่างนั้นหรือ. ตอบว่า ไม่มีก็หา
มิได้. ด้วยว่าพระองค์ย่อมอยู่เหนือเทวดาที่เหลือโดยฐานะ 10. ก็พระองค์ไม่
ย่อมให้อารมณ์ย่ำยีพระองค์ข่มอารมณ์นั้นตั้งอยู่ได้. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สโต สมฺปชาโน อานนฺท โพธิสตฺโต ดุสิเต กาเย อฏฺฐาสิ
บทว่า ยาวตายุกํ ถามว่า ในอัตภาพที่เหลือ พระโพธิสัตว์
ไม่ดำรงอยู่จนตลอดอายุหรือ. ตอบว่า ใช่แล้วไม่ดำรงอยู่ตลอดอายุ. ก็ใน
กาลอื่น ๆ พระโพธิสัตว์บังเกิดในเทวโลก ที่เทวดามีอายุยืน ไม่อาจบำเพ็ญ-

บารมีในเทวโลกนั้นได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงลืมพระเนตรทั้งสอง กระทำ
อธิมุตตกาลกิริยา (กลั้นใจตาย) แล้วบังเกิดในมนุษยโลก กาลกิริยาอย่างนี้ ไม่มี
แก่เทวดาเหล่าอื่น. ก็ในครั้งนั้น ไม่มีการลักทรัพย์ ไม่มีผู้ไม่รักษาศีล พระองค์
ดำรงอยู่จนตลอดอายุ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีทุกอย่างบริบูรณ์แล้ว. พระองค์
มีสติสัมปชัญญะ เคลื่อนจากหมู่เทวดาชั้นดุสิต สถิตอยู่ในพระครรภ์พระมารดา.
พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระบารมีครบทุกอย่างก่อน แล้วได้ดำรงอยู่จนตลอด
พระชนม์ชีพ ในครั้งนั้น ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บุพนิมิต 5 อย่างคือ ดอกไม้เหี่ยว 1 ผ้าเศร้าหมอง 1 เหงื่อออก
จากรักแร้ 1 กายเริ่มเศร้าหมอง 1 เทวดาไม่ดำรงอยู่บนอาสนะของเทวดา 1 นี้
ย่อมบังเกิดแก่เทวดาทั้งหลาย เพื่อจะเตือนให้รู้ว่า บัดนี้ เหลืออีก 7 วัน
จักต้องจุติโดยการนับวันอย่างของมนุษย์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลา
ได้แก่ ดอกไม้ประดับ โดยนับวันเริ่มปฏิสนธิเป็นกำหนด. ได้ยินว่า ดอกไม้
เหล่านั้นจะไม่เหี่ยวแห้ง เป็นเวลาถึง 57 โกฏิ กับอีก 60 แสนปี
แต่จะเหี่ยวแห้งในครั้งนั้น. แม้ในผ้าทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เทวดา
ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ . แต่ใน
กาลนั้น เหงื่อจะไหลออกจากร่างกายเป็นเม็ด ๆ ก็ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
ร่างกายของเทวดาเหล่านั้น ไม่เคยปรากฏว่า เศร้าหมอง เช่นเป็นต้นว่า
ฟันหัก หรือ ผมหงอกเลย. เทพธิดา จะปรากฏร่างเหมือนสาววัยรุ่น 16
เทพบุตรจะปรากฏร่างเหมือนหนุ่มวัยรุ่น 20. ในเวลาใกล้จะตายเทพบุตร
เหล่านั้น ย่อมมีอัตภาพเศร้าหมอง อนึ่ง เทพบุตรเหล่านั้น ไม่มีความ
กระสันในเทวโลกตลอดกาลประมาณเท่านี้ แต่ในเวลาใกล้ตายเทพบุตร ย่อม
เหนื่อยหน่ายสะดุ้ง หวั่นไหว ไม่ยินดีในอาสนะของตน. เหล่านั้นจัด เป็น
บุพนิมิต 5 ประการ.

นิมิตทั้งหลาย มีลูกอุกกาบาตตก แผ่นดินไหว และจันทรคราส
เป็นต้น จะปรากฏเฉพาะผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ในโลก เช่นพระราชา อำมาตย์
ชั้นผู้ใหญ่เป็นต้นเท่านั้น ไม่ปรากฏแก่สามัญชนทั่วไปฉันใด บุพนิมิต 5
ก็ฉันนั้นจะปรากฏเฉพาะเหล่าเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทพทั่วไป.
ก็ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย โหรเป็นต้นเท่านั้น จึงจะรู้บุพนิมิตทั้งหลาย
คนทั่วไปไม่รู้ฉันใด หมู่เทพทั้งหลายก็ฉัน นั้น เทพทั่วไปแม้เหล่านั้น ย่อมไม่รู้
จะรู้ก็เฉพาะเทพที่ฉลาดเท่านั้น. ก็ในบรรดาเทพเหล่านั้น เทพบุตรผู้เกิดด้วย
กุศลกรรมเล็กน้อย เมื่อบุพนิมิตเกิดแล้ว ใครจะรู้ว่า บัดนี้ พวกเราจัก
ไปเกิดในที่ไหน จึงกลัว ฝ่ายเทพบุตรผู้มีบุญมาก คิดว่าพวกเราอาศัยทาน
ที่ให้ศีลที่รักษา ภาวนาที่เจริญแล้ว จักเสวยสมบัติในเทวโลกชั้นสูง ๆ ขึ้นไป
จึงไม่กลัว สำหรับพระโพธิสัตว์ทรงเห็นบุพนิมิตเหล่านั้นแล้ว คิดว่า บัดนี้
เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอัตภาพต่อไป จึงไม่กลัว. ครั้งนั้น เมื่อนิมิต
เหล่านั้น ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์แล้ว. เทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกัน
แล้วทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทสบารมี
จะหวังสมบัติว่า จะเป็นท้าวสักกะก็หาไม่ จะหวังสมบัติว่า จักเป็นมาร
เป็นพรหม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็หาไม่ แต่ทรงบำเพ็ญด้วยปรารถนาจะเป็น
พระพุทธเจ้า เพื่อรื้อถอนสัตวโลก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ เป็นกาล
อันสมควร เพื่อการตรัสรู้ของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้
เป็นสมัยอันสมควร เพื่อการตรัสรู้ของพระองค์.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ยังไม่ทรงให้คำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย
ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ 5 ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล
และการกำหนดอายุของพระมารดา. ในมหาวิโลกนะ 5 ประการนั้น ทรง
ตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นเวลาสมควร หรือยังไม่สมควร เวลาที่คนทั้งหลาย

มีอายุยืนกว่าแสนปีขึ้นไป ชื่อว่า เวลาที่ยังไม่สมควร ในมหาวิโลกนะ 5
ประการนั้น.
เพราะเหตุไร. เพราะในเวลานั้น ชาติ ชรา และมรณะ ย่อมไม่
ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และขึ้นชื่อว่า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จะพ้นไปจากไตรลักษณ์ย่อมไม่มี เมื่อพระองค์ตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คนทั้งหลายจะคิดว่า นี่ พระองค์ตรัสถึงอะไร แล้วไม่สนใจจะฟัง ไม่ยอมรับ
นับถือ หรือเธอฟัง แต่นั้นย่อมไม่มีการตรัสรู้มรรคผล เมื่อไม่มีการตรัสรู้
มรรคผล คำสอนย่อมไม่จัดเป็นนิยยานิกธรรม (คือนำสัตว์ออกจากภพ) ได้
เพราะฉะนั้น เวลานั้น จึงจัดเป็นเวลาที่ไม่สมควร. เวลาที่คนทั้งหลายมีอายุ
น้อยกว่าร้อยปี ก็ยังไม่จัดว่าเป็นกาลอันสมควร. เพราะเหตุไร. เพราะเวลานั้น
คนทั้งหลายยังมีกิเลสหนา และคำสอนที่ให้แก่คนที่มีกิเลสหนา ย่อมไม่ตั้งอยู่
ในฐานะแห่งโอวาท ย่อมสลายไปโดยพลัน เหมือนเอาท่อนไม้ขีดลงในน้ำ
เพราะฉะนั้น แม้เวลานั้น ก็ยังไม่จัดเป็นกาลอันสมควร. แต่กาลกำหนดอายุ
นับแต่แสนปีลงมา ตั้งแต่ร้อยปีในรูป จัดเป็นกาลอันสมควร. และในครั้งนั้น
เป็นเวลาที่สัตว์มีอายุประมาณ 100 ปี. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงพิจารณา
เห็นแล้วว่า เป็นกาลสมควรที่จะพึงมาเกิด.
แต่นั้นเมื่อจะทรงตรวจดูทวีป ได้ทรงพิจารณาดูทวีปทั้ง พร้อมทั้ง
ทวีปที่เป็นบริวาร ทรงเห็นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดในทวีปทั้ง 3
จะเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น. แต่นั้นทรงตรวจดูประเทศว่า ขึ้นชื่อว่า
ชมพูทวีป จัดเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมมาเกิดในประเทศไหนหนอแล ทรงพิจารณาเห็นมัชฌิมประเทศแล้ว.
ที่ชื่อว่า มัชฌิมประเทศ ได้แก่ประเทศที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพระวินัย โดยนัย
เป็นต้นว่า มีนิคมชื่อกชังคละอยู่ในทิศบูรพา ดังนี้. ก็มัชฌิมประเทศนั้น
มีกำหนดว่า ยาว 300 โยชน์ กว้าง 250 โยชน์ วัดโดยรอบได้ 900 โยชน์.

ก็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี 4 อสงไขยแสนกัปบ้าง
8 อสงไขยแสนกัปบ้าง 16 อสงไขยแสนกัปบ้าง แล้วเสด็จอุบัติใน
ประเทศนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป
แล้วมาเกิด. พระมหาสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ
เป็นต้น บำเพ็ญบารมี 1 อสงไขยแสนกัป แล้วมาเกิด. พระ เจ้าจักรพรรดิ
ผู้ปราบดาภิเษกเหนือทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารย่อมเสด็จ
มาเกิด. อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่
เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้. ก็และในประเทศนี้ มีพระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์
เป็นราชธานี พระองค์จึงตกลงพระทัยว่า เราควรเกิดในนครกบิลพัสดุ์นั้น.
แต่นั้นทรงตรวจดูตระกูล พิจารณาตระกูลว่าธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ ก็บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกล
ที่โลกสมมติ เราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาทรงพระนามว่า
สุทโธทนะ ก็เป็นพระบิดาของเรา. เเต่นั้นทรงตรวจดูพระมารดา ทรงพิจารณา
ว่า ขึ้นชื่อว่า พระพุทธมารดา ย่อมไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลง
สุรา บำเพ็ญบารมีมาถึงแสนกัป นับแต่เกิด ย่อมมีศีล 5 ไม่ขาด ก็พระเทวี
พระนามว่า มหามายา พระองค์นี้ มีลักษณะเป็นเช่นนี้ พระนางจักเป็นพระ-
มารดาของเรา แต่งพระนางจักมีอายุเท่าไร แล้วทรงเห็นว่า อายุของพระนาง
(หลังทรงพระครรภ์) 10 เดือน (ปุระสูติแล้ว) จักมี 7 วัน.
พระมหาสัตว์ครั้นทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ 5 ประการนี้ ดังกล่าว
มานี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถึงเวลาที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า
แล้ว เมื่อจะทำการสงเคราะห์จึงให้คำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย ส่งเทวดา
เหล่านั้นไปด้วยพระดำรัสว่า จงกลับไปเถิดท่านทั้งหลาย แวดล้อมไปด้วย
เทวดาชั้นดุสิต เสด็จเข้าไปยังสวนนันทวันในดุสิตบุรี. ก็ในเทวโลกทุกชั้น

ย่อมมีสวนนันทวันทั้งนั้น. แม้ในสวนนันทวันนั้น เทวดาทั้งหลายให้พระ-
โพธิสัตว์ระลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่เคยทำไว้ในชาติก่อนว่า พระองค์จงจุติ
จากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ จงจุติจากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ ดังนี้เที่ยวไป. พระโพธิสัตว์
แวดล้อมไปด้วยเทวดาผู้ช่วยให้ระลึกถึงกุศลกรรมอย่างนี้ เสด็จเที่ยวไปใน
นันทวันจุติแล้ว. ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่าเรากำลังจุติ ไม่ใช่รู้จุติจิต. แม้ถือ
ปฏิสนธิแล้ว ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต. พระองค์รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้
ก็พระเถระบางพวกกล่าวว่า ควรจะได้อาวัชชนปริยาย พระมหาสัตว์จะรู้ใน
ทุติยจิตตวาร และในตติยจิตตวารเท่านั้น. แต่พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตร-
ปิฎก กล่าวว่า ปฏิสนธิของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย ไม่เหมือนปฏิสนธิของสัตว์อื่น
สติสัมปชัญญะของพระมหาสัตว์เหล่านั้นถึงที่สุดแล้ว ก็เพราะไม่อาจจะรู้จิต
ดวงนั้น ด้วยจิตดวงนั้นได้ ฉะนั้น พระมหาสัตว์จึงไม่รู้จุติจิต แม้ในขณะจุติ
ย่อมรู้ว่าเรากำลังจุติ ถือปฏิสนธิ ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต รู้ชัดว่าเราถือปฏิสนธิ
ในที่ โน้น ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว ดังนี้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์
ก้าวลงสู่พระครรภ์มารดาอย่างนี้ ทรงถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิต เหมือนกับ
อสังขาริกกุศลจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสและสัมปยุตด้วยญาณ มีเมตตาเป็น
บุพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต 19 ดวง. ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า
ด้วยมหาวิบากจิต ที่สหรคตด้วยอุเบกขา. ก็พระมหาสัตว์ เมื่อทรงถือปฏิสนธิ
ได้ถือปฏิสนธิในวันเพ็ญเดือน 8 หลัง.
ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระนางมหามายา ทรงพระสำราญด้วยการ
เล่นนักษัตร อันสมบูรณ์ไปด้วยเครื่องดื่มที่ปราศจากสุรา ระเบียบของหอม
และเครื่องประดับ แต่วันที่ 7 จากวันเพ็ญเดือน 8 หน้า ครั้นในวันที่ 7
เสด็จออกแต่เช้า สรงสนานด้วยน้ำหอมประดับพระวรกายด้วยเครื่องอลังการ
ทั้งปวง เสวยพระกริยาหารอันประเสริฐ อธิษฐานองค์อุโบสถ แล้วเสด็จ

เข้าห้องอันมีสิริ บรรทมบนเตียงอันมีสิริ ทรงหลับไป ได้ทรงพระสุบินดังนี้ว่า
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ทรงยกพระนางพร้อมทั้งที่บรรทมนำไปสระอโนดาด แล้ว
วางไว้ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้นพระเทวีของท้าวมหาราชทั้ง 4 นั้น ได้มาให้
พระนางสรงสนานเพื่อชำระล้างมลทินของมนุษย์ แล้วให้นุ่งห่มผ้าทิพย์ลูบไล้
ด้วยของหอม ประดับผ้าทิพย์ ให้ทรงบรรทมรักษาศีลอยู่ในวิมานทอง ซึ่งมี
อยู่ภายในภูเขาเงิน อันตั้งอยู่ไม่ห่างจากสระอโนดาตนั้น. ครั้งนั้น พระโพธิ-
สัตว์เป็นช้างเผือกเที่ยวไปบนภูเขาทองลูกหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากสระอโนดาต
นั้น ลงจากภูเขาทองนั้นแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเงิน มาจากทิศอุดร เข้าไปยังวิมาน
ทอง กระทำประทักษิณพระมารดาแล้วได้เป็นประดุจแยกพระปรัศว์ขวาออก
แล้วเข้าไปสู่พระครรภ์.
ลำดับนั้น พระนางตื่นพระบรรทมแล้ว ได้กราบทูลพระสุบินนั้น
แด่พระราชา. ครั้นรุ่งสว่าง พระราชารับสั่งให้หัวหน้าพราหมณ์ประมาณ 64 คน
เข้าเฝ้า จัดปูอาสนะมีค่ามาก บนภูมิภาคที่มีติณชาติเขียวขจี ตกแต่งแล้วด้วย
เครื่องสักการะอันเป็นมงคลที่กระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น แล้วนำข้าวปายาสอัน
ประเสริฐปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดใส่หม้อทอง หม้อเงินจนเต็ม
แล้วปิดด้วยหม้อทองหม้อเงินเช่นเดียวกัน พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้อิ่มหนำสำราญแล้ว ทราบถึงพระสุบิน แล้วทรงถามว่า จักมีอะไรเกิดขึ้น.
พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย
พระเทวีของพระองค์ทรงตั้งครรภ์ และพระครรภ์นั้น ก็เป็นพระครรภ์
พระโอรส มิใช่ครรภ์พระธิดา พระองค์จักมีพระโอรส ถ้าพระโอรสนั้นจัก
อยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวช จักเป็นพระพุทธเจ้า

ผู้เพิกถอนกิเลสได้แล้วในโลก พระโพธิสัตว์มีสติและสัมปชัญญะ จุติจากหมู่
เทวดาชั้นดุสิต เข้าสู่พระครรภ์พระมารดาด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้ ท่านแสดงว่า
พระโพธิสัตว์ที่ก้าวลงโดยวิธีก้าวลงสู่พระครรภ์อย่างที่ 4. ก็การก้าวลงสู่
พระครรภ์มี 4 อย่าง ดังพระบาลีว่า พระเจ้าข้า การก้าวลงสู่ครรภ์มี 4 อย่าง
ดังนี้.
พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ก้าวลงสู่ท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว ตั้งอยู่
ในท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว ออกจากท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์
อย่างที่ 1.
ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงท้องมารดา
รู้ตัว ตั้งอยู่ในต้องมารดาไม่รู้ตัว ออกจากต้องมารดาก็ไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าว
ลงสู่ครรภ์อย่างที่ 2.
ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดา
รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว แต่ออกจากท้องมารดาไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าว
ลงสู่ครรภ์อย่างที่ 3.
ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดา
ก็รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว ทั้งออกจากท้องมารดาก็รู้ตัว นี้เป็นการก้าว
ลงสู่ครรภ์อย่างที่ 4.
ใน 4 อย่างเหล่านี้ อย่างที่หนึ่งเป็นของพวกโลกิยมนุษย์. อย่างที่
สอง เป็นของพระอสีติมหาสาวก. อย่างที่สาม เป็นของพระอัครสาวกทั้งสอง
และพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย ได้ยินว่า บุคคล 3 จำพวกเหล่านั้น เมื่อถูก
ลมกรรมชวาต พัดเอาเท้าขึ้นบน เอาหัวลงล่าง ออกจากของกำเนิดที่คับแคบ
เหลือเกิด ย่อมถึงทุกข์อย่างยอดยิ่ง อุปมาเหมือนถูกเขาจับเหวี่ยงลงในเหวลึก

หลายชั่วร้อยคน หรือเหมือนช้างที่ต้องออกจากช่องลูกดาลฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น
ความรู้ตัวว่า เรากำลังออกจึงไม่มี แก่บุคคล 3 จำพวกนั้น. การก้าวลงสู่
ครรภ์ล่างที่ 4 ย่อมมีเฉพาะพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูทั้งหลาย. แท้จริงพระ-
โพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาก็รู้
แม้เมื่ออยู่ในครรภ์พระมารดาก็รู้. แม้ในเวลาจะประสูติ ลมกรรมชวาต ไม่
สามารถจะพัดเอาพระบาทของพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูเหล่านั้นขึ้นบน เอาพระ-
เศียรลงข้างล่าง ท่านเหล่านั้นทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสอง ลืมพระเนตรแล้ว
ประทับยืนเสด็จออก.
ในบทว่า มาตุกุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้ มีอธิบายว่า ย่อมก้าวลงสู่ครรภ์
มารดา. แท้จริงเมื่อพระโพธิสัตว์นั้น ก้าวลงสู่ครรภ์พระมารดา ก็ย่อมมีเหตุ
อัศจรรย์อย่างนี้เมื่อไม่ก้าวลง ก็ไม่มีเหตุอัศจรรย์. บทว่า อปฺปมาโณ
แปลว่า มีประมาณอันเจริญ. อธิบายว่า ไพบูลย์. บทว่า เทวานํ เทวานุภาวํ
นี้ มีอธิบายว่า อานุภาพของเทวดาทั้งหลาย มีดังนี้ คือ รัศมีของผ้าที่นุ่ง
ย้อมแผ่ไปได้ 12 โยชน์ ของสรีระก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ของเครื่องประดับก็
แผ่ไปได้อย่างนั้น ของวิมานก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ล่วงซึ่งเทวานุภาพนั้น. บทว่า
โลกนฺตริกา ความว่า โลกันตริกนรกขุมหนึ่งย่อมมีในระหว่างจักรวาลทั้งสาม
ก็โลกันตริกนรกนั้น. มีประมาณ 8,000 โยชน์. เหมือนช่องว่างย่อมมีในท่าม
กลางของล้อเกวียน 3 ล่อ หรือบาตร 3 ลูก ที่ตั้งจดกันและกัน . บทว่า
อฆา แปลว่า เปิดแล้วเป็นนิตย์. บทว่า อสํวุตา ความว่า แม้ในเบื้องล่าง
ก็ไม่มีที่พำนัก. บทว่า อนฺธการา แปลว่า มืดมิด. บทว่า อนฺธการติมิสา
ความว่า ประกอบด้วยเมฆหมอกอันกระทำความมืด เพราะห้ามความเกิดขึ้น
แห่งจักษุวิญญาณ. ได้ยินว่า จักษุวิญญาณย่อมไม่เกิดในโลกันตริกนรกนั้น.
บทว่า เอวํ มหิทฺธิกา ความว่า มีฤทธิอย่างนี้คือ ได้ยินว่าดวงจันทร์และ

ดวงอาทิตย์ ย่อมปรากฏในทวีปทั้ง 3 คราวเดียวพร้อมกัน. มีอานุภาพมาก
อย่างนี้ คือ กำจัดความมืดแล้วส่องสว่างไปได้ ทิศละแปดล้านหนึ่งแสนโยชน์.
บทว่า อาภาย นานุโภนฺติ แปลว่า แสงสว่างของตนไม่พอ. ได้ยินว่า
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ส่องแสงไปถึงท่ามกลางขุนเขาจักร-
วาลได้เลย. และโลกันตริกนรกก็อยู่เลยขุนเขาจักรวาลไป. เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงแสดงว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น ไม่มีแสงสว่างพอส่องไปถึง
โลกันตริกนรกนั้น.
บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า ถามว่า เหล่าสัตว์ผู้อุบัติในโลกัน-
ตริกนรกนั้น กระทำกรรมอะไรไว้ จึงบังเกิดในที่นั้น. ตอบว่า ทำกรรมหยาบ
ช้าทารุณต่อมารดาบิดาต่อสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมบ้าง ทำความผิดอย่าง
อื่นที่สูงขึ้นไปอีกบ้าง ทำกรรมสาหัส เช่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น เป็นประจำ
ทุก ๆ วันบ้าง จึงเกิดในโลกันตริกนรกนั้น ดังเช่น อภยโจร และนาคโจร
เป็นต้น ในตัมพปัณณิทวีป. อัตภาพของสัตว์เหล่านั้น มีประมาณ 3 คาวุต.
มีเล็บยาวเหมือนเล็บค้างคาว. สัตว์เหล่านั้นจะใช้เล็บเกาะอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล
เหมือนพวกค้างคาวเกาะอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น. แต่เมื่อใดออกเลื้อยคลาน จะถูก
ช่วงมือของกันและกัน เมื่อนั้นต่างสำคัญว่า เราได้อาหารแล้ว วิ่งหมุนไป
รอบ ๆ ที่เชิงเขาจักรวาลนั้น แล้วตกลงในน้ำหนุนโลก. เนื้อลมพัดจะแตกตก
ลงในน้ำ เหมือนผลมะทราง. และพอตกลงไป ก็จะละลาย เหมือนก้อนแป้ง
ที่ตกลงไปในน้ำที่เค็มจัด.
บทว่า อญฺเญปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา ความว่า ย่อมเห็นประจักษ์
ในวันนั้นว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นเมื่อเสวยทุกข์นี้ ก็เกิดในโลกันตริกนรกนี้
เหมือนอย่างพวกเราผู้กำลังเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ฉะนั้น ก็โอกาสนี้ย่อมไม่ตั้งอยู่แม้

เพียงชั่วขณะดื่มข้าวยาคูครั้งเดียว. จะมีเพียงชั่วเวลาที่หลับไปแล้วตื่นขึ้นรับรู้
อารมณ์เท่านั้น. ส่วนอาจารย์ผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า โอภาสนั้นจะ
ปรากฏเฉพาะเพียงชั่วขณะปรบมือแล้วก็หายไป เหมือนแสงของสายฟ้าแลบแล้ว
พอคนทักว่า นี้อะไร ? ก็แวบหายไป. บทว่า สงฺกมฺปติ แปลว่า หวั่นไหว
โดยรอบ. สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นเอง เพื่อจะสรุปความ
ท่านจึงกล่าวคำว่า อปฺปมาโณ จ เป็นต้นไว้อีก
บทว่า จตฺตาโร ในประโยคว่า จตฺตาโร นํ เทวปุตฺตา จตุทฺทิสํ
อารกฺขาย อุปคจฺฉติ
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาท้าวมหาราชทั้ง 4. ก็ในหมื่น
จักรวาล ย่อมมีท้าวมหาราช 4 หมื่นอยู่ประจำ แยกกันอยู่จักรวาสละ 4.
บรรดามหาราชเหล่านั้น มหาราชในจักรวาลนี้ทรงถือพระขรรค์เสด็จมาแล้ว
เข้าไปสู่ห้องอันทรงสิริ เพื่อจะถวายอารักขาพระโพธิสัตว์ นอกนี้แยกย้ายไป
ไล่หมู่ยักษ์มีปีศาจคลุกฝุ่นเป็นต้น ที่เขาขังไว้ให้หลีกไป แล้วถืออารักขาตั้งแต่
ประตูห้องจนถึงจักรวาล.
การมาเฝ้าถวายอารักขานี้ เพื่อประโยชน์อะไร เพราะนับจำเดิม
แต่เวลาที่เป็นกลละในขณะปฏิสนธิถึงจะมีมารตั้งแสนโกฏิ ยกเขาสิเนรุ
ตั้งแสนโกฏิลูก มาเพื่อทำอันตรายพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระ
โพธิสัตว์ อันตรายทั้งปวง ก็พึงอันตรธานไปมิใช่หรือ. สมจริงดังคำที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเรื่องที่พระเทวทัต ทำพระโลหิตให้ห้อ ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงพระชนม์ตถาคต ด้วยความพยายาม
ของผู้อื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย จักไม่
ปรินิพพาน ด้วยความพยายามของผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปอยู่
ตามที่เดิม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายไม่ต้องมีอารักขา. การ
เป็นอย่างนี้ ฉะนั้น อันตรายแห่งชีวิต ย่อมไม่มีแก่พระตถาคตเหล่านั้น ด้วย

ความพยายามของผู้อื่น. เหล่าอมนุษย์ผู้มีรูปวิกล น่าเกลียด นกที่มีรูปน่ากลัว
ก็มีอยู่ ความกลัวหรือความสะดุ้ง จะพึงบังเกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์
ได้ เพราะเห็นรูปหรือฟังเสียงของอมนุษย์เหล่าใด เพื่อห้ามเสียซึ่งอมนุษย์
เหล่านั้น จึงต้องวางอารักขาไว้. อีกประการหนึ่ง ท้าวมหาราชเหล่านั้น
มีความเคารพเกิดขึ้นด้วยเดชแห่งบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ ทั้งตนเองก็มี
ความเคารพเป็นพื้นอยู่แล้ว จึงกระทำอย่างนี้.
ถามว่า ก็ท้าวมหาราชทั้ง 4 เข้าไปยืนภายในห้องแล้วแสดงตนให้
ปรากฏแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ หรือไม่แสดง. ตอบว่าไม่แสดงตนให้
เวลาที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงกระทำกิจส่วนพระองค์ เช่นสรงสนาน
ประดับตกแต่ง และเสวยเป็นต้น แต่จะแสดงในเวลาที่พระองค์เข้าห้องอัน
ทรงสิริแล้วบรรทมบนพระแท่นที่บรรทม. ก็ขึ้นชื่อว่าร่างของอมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลายในเวลานั้นก็จริง แต่สำหรับ
พระมารดาของพระโพธิสัตว์เห็นอมนุษย์เหล่านั้นแล้วย่อมไม่กลัว ด้วยอานุภาพ
แห่งบุญของพระองค์เองและพระโอรส. พระนางมีจิตในอมนุษย์เหล่านั้น
เหมือนเจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชฐานทั่ว ๆ ไป.
บทว่า ปกติยา สีลวตี ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยศีล โดยสภาพ
นั่นเอง. เล่ากันว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ คนทั้งหลายพากันไปไหว้
นั่งกระโหย่งถือศีลในสำนักของดาบสและปริพาชกทั้งหลาย. แม้พระมารดา
พระโพธิสัตว์ ก็ถือศีลในสำนักของกาลเทวิลดาบส. แต่เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ใน
พระครรภ์ พระนางไม่อาจประทับนั่งใกล้บาทมูลของผู้อื่นได้ แม้ศีลอื่นพระองค์
ประทับนั่งบนอาสนะเสมอกันรับไว้ก็เป็นพิธีการเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าว
ไว้ดังนี้ว่า พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ได้สมาทานศีลด้วยพระองค์เองทีเดียว.
บทว่า ปุริเสสุ ความว่า จิตที่มีความประสงค์ในบุรุษย่อมไม่เกิดในมนุษย์

ทั้งหลาย เริ่มต้นแต่พระบิดาของพระโพธิสัตว์. ก็แลข้อนั้น เกิดโดยความ
เคารพในพระโพธิสัตว์มิใช่เกิดเพราะละกิเลสได้แล้ว. ก็ศิลปินทั้งหลายแม้จะ
ฉลาดหลักแหลม ก็ไม่สามารถจะวาดรูปพระมารดาของพระโพธิสัตว์ลงในแผ่น
ภาพวาดเป็นต้นได้. ใคร ๆ จึงไม่อาจพูดได้ว่า ความกำหนัดย่อมไม่เกิดแก่
บุรุษ เพราะเห็นรูปพระมารดาพระโพธิสัตว์นั้น และหากผู้มีจิตกำหนัด
ประสงค์จะเข้าไปหาพระนาง จะก้าวเท้าไม่ออก เหมือนถูกมัดตรึงไว้ด้วยโซ่
ทิพย์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อนติกฺกมนียา ดังนี้ .
บทว่า ปญฺจนฺนํ กามคุณานํ ความว่า การห้ามวัตถุ ด้วยสามารถ
แห่งความใฝ่ฝันในบุรุษ ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว ด้วยบทว่า กามคุณูปสญฺหิตํ.
ในที่นี้แสดงเพียงการได้เฉพาะซึ่งอารมณ์. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระราชา
โดยทั่วไป ทราบข่าวว่า พระโอรสเห็นปานนี้ อุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี
จึงส่งบรรณาการอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของทวารทั้ง 5 โดยเป็นเครื่องประดับ
มีราคามาก และเครื่องดนตรีเป็นต้น. สำหรับพระโพธิสัตว์และพระมารดา
ย่อมมีลาภสักการะหากำหนดประมาณมิได้ เพราะหนาแน่นไปด้วยกุศลสมภาร
ที่ทรงบำเพ็ญไว้แล้ว. บทว่า อกิลนฺตกายา ความว่า หญิงเหล่าอื่น ย่อม
ลำบากด้วยภาระในการบริหารครรภ์ทั้ง มือเท้าก็บวมฉันใด พระนางไม่มีความ
ลำบากอย่างใดเหมือนหญิงพวกนั้นเลย. บทว่า ติโร กุจฺฉิคตํ แปลว่า ประทับ
อยู่ภายในพระอุทร คือพ้นเวลาที่เป็นกลละเป็นต้นไปแล้ว ทรงเห็นพระโพธิสัตว์
มีองคาพยพสมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรม.
ถามว่า ทรงดูเพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า เพื่อให้อยู่อย่างสบาย
ก็ธรรมดามารดาทั้งหลายจะนั่งหรือนอนกับบุตรก็ตาม จะต้องมอง
ดูบุตรเพื่อให้อยู่อย่างสบายว่า เราจะยกมือและเท้าที่ห้อยลงให้ตั้งอยู่ด้วยดี
ฉันใด แม้มารดาของพระโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น ทรงมองดูพระโพธิสัตว์ เพื่อจะ

ให้อยู่อย่างสบาย โดยพระดำริว่า ทุกข์อันใดที่เกิดแก่เด็กผู้อยู่ในท้องในเวลา
ที่แม่ลุกขึ้นเดินไป หมุนตัวและนั่งเป็นต้น ก็ดีในเวลาที่แม่กลืนอาหารที่ร้อน
ที่เย็น. ที่เค็ม ที่ขม และที่เผ็ดก็ดี ทุกข์อันนั้นมีแก่พระโอรสของเราบ้าง
หรือหนอ ก็ทรงเห็นพระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิแล้ว. ธรรมดาเด็กที่อยู่ในท้อง
เหล่าอื่น จะนั่งทับกะเพาะอาหารเก่า เทินกะเพาะอาหารใหม่ หันหลังเข้า
หาพื้นท้องแม่ นั่งยอง ๆ พิงกระดูกสันหลัง เอามือทั้งสองข้างยันคางไว้
เหมือนฝูงลิงนั่งอยู่ในโพรงไม้เวลาฝนตก แต่พระโพธิสัตว์ไม่เป็นเช่นนั้น.
ก็พระองค์ทรงพิงกระดูกสันหลังนั่งขัดสมาธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา
เหมือนพระธรรมกถึกนั่งบนธรรมาสน์. ก็กรรมที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์
ทำไว้ในกาลก่อน ย่อมยังวัตถุ (ที่ตั้งแห่งพระครรภ์) ของพระนางให้บริสุทธิ์
เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ ลักษณะแห่งพระฉวีอันละเอียดอ่อนย่อมเกิด ครั้งนั้น หนังก็
ไม่สามารถจะปกปิดพระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในพระครรภ์ได้ เมื่อมองดูจะปรากฏ
เหมือนประทับยืนอยู่ภายนอก.
เพื่อจะยังความข้อนั้น ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมา ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า
เสยฺยถาปิ ก็พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ภายในพระครรภ์ ย่อมมองไม่เห็นพระมารดา
เพื่อจักษุวิญญาณย่อมไม่เกิดภายในพระครรภ์. บทว่า กาลํ กโรตํ ความว่า
ไม่ใช่เสด็จสวรรคตเพราะเหตุที่พระองค์ทรงประสูติกาล แต่เพราะสิ้นพระชน
มายุอย่างเดียว. แท้จริง ที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ย่อมเป็นเสมือนกุฏิใน
พระเจดีย์ ไม่ควรที่สัตว์เหล่าอื่น จะใช้ร่วม และใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะแยก
พระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ออก แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัคร-
มเหสีได้ เหตุดังกล่าวมาเพียงนั้นเอง ย่อมเป็นประมาณแห่งอายุของพระ
มารดาพระโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น พระนางจึงเสด็จสวรรคตในเวลานั้น.

ถามว่า พระนางเสด็จสวรรคต ในวัยไหน. ตอบว่า ในมัชฌิมวัย.
ความจริง ในปฐมวัย อัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีฉันทราคะ
รุนแรง. ด้วยเหตุนั้น สตรีตั้งครรภ์ในเวลานั้น ย่อมไม่สามารถจะถนอม
ครรภ์นั้นไว้ได้. ครรภ์ย่อมมีโรคมากมาย ครั้นเลยส่วนทั้งสองแห่งมัชฌิมวัย
ไปแล้ว วัตถุ (ที่ตั้งแห่งครรภ์) ย่อมบริสุทธิ์ ในส่วนที่ 3 แห่งวัย เมื่อวัตถุ
บริสุทธิ์ ทารกที่เกิดก็ไม่มีโรค. เพราะฉะนั้น แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์
เสวยสมบัติในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่ 3 แห่งมัชฌิมวัย เสด็จสวรรคตแล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
วาศัพท์ ในบทว่า นว วา ทส วา นี้ พึงทราบว่า ต้องรวมแม้บทมี
อาทิอย่างนี้ว่า สตฺต วา อฏฺฐ วา เอกาทสวา ทฺวาทส วา เข้ามาด้วย โดยเป็น
วิกัป. บรรดากำหนดเหล่านั้น สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ได้ 7 เดือนตลอดถึงจะรอด
แต่ก็ไม่ทนหนาวทนร้อนไปได้ ที่อยู่ในครรภ์ได้ 8 เดือนตลอด ไม่รอด
นอกนั้นถึงจะรอด. บทว่า ฐิตาว แปลว่า ประทับยืนแล้วเทียว.
แม้พระนางมหามายาเทวี ทรงพระดำริว่า เราจักไปสู่เรือนแห่งตระกูล
พระญาติของเรา แล้วกราบทูลพระราชา. พระราชาทรงรับสั่งให้ประดับตก
แต่งทางที่จะเสด็จไป ตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์จนถึงกรุงเทวทหะ แล้วให้พระเทวี
ประทับนั่งบนวอทอง. เจ้าศากยะผู้อยู่ในพระนครทั้งสิ้น แวดล้อมบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น พาพระเทวีเสด็จไปแล้ว. พระนางทอดพระเนตร
เห็นลุมพินีสาลวโนทยาน ไม่ไกลพระนครเทวทหะ เกิดความพอพระทับจะ
ประพาสพระอุทยาน จึงให้สัญญาแก่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ประดับตก
แต่งพระอุทยาน แล้วให้จัดอารักขา. พอพระเทวีเสด็จเข้าสู่พระอุทยาน ก็มี
พระกำลังอ่อนลง. ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ได้ปูลาดที่บรรทมอันมีสิริ ที่โคนต้นรัง
อันเป็นมงคล แล้วกั้นม่านถวายพระนาง. พระนางเสด็จเข้าไปภายในม่านแล้ว

เสด็จประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้สาละ. ลำดับนั้น พระนางได้ประสูติพระโอรสใน
ทันใดนั่นเอง. บทว่า เทวา ปฐมํ ปฏิคฺคณฺหนฺติ ความว่า เหล่าพรหมชั้น
สุทธาวาสทั้งหลายผู้ขีณาสพ จะรับก่อน.
จะรับอย่างไร อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เหล่าพรหมชั้นสุทธาวาสจะ
แปลงเพศเป็นเจ้าพนักงานผู้ถวายการประสูติ. ก็ท่านปฏิเสธข้อทักทวงนั้น แล้ว
กล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้. เวลานั้น พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงนุ่งผ้าจิต
ด้วยทอง ทรงห่มผ้า 2 ชั้น คล้ายตาปลา คลุมถึงฝ่าพระบาทประทับยืนแล้ว
และการประสูติพระโอรสของพระนางก็ง่าย คล้ายน้ำที่ไหลออกจากกระบอก
กรอง ขณะนั้นพรหมชั้นสุทธาวาสเหล่านั้น เข้าไปโดยเพศของพรหมตามปกติ
แล้วทรงรับพระโอรสด้วยข่ายทองก่อน. มนุษย์ทั้งหลายรับ ต่อจากพระหัตถ์ของ
พรหมเหล่านั้น ด้วยเทริด อย่างดี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เทวดาทั้ง
หลายรับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง.
บทว่า จตฺตาโร นํ เทวปุตฺตา หมายถึงท้าวมหาราชทั้ง 4 บทว่า
ปฏิคฺคเหตฺวา ได้แก่ รับด้วยตาข่าย ที่ทำด้วยหนังเสือ. บทว่า มเหสกฺโข
แปลว่า มีเดชมาก คือมียศมาก อธิบายว่า สมบูรณ์ด้วยลักษณะ.
บทว่า วิสุทฺโธว นิกฺขมติ ความว่า ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่น
มักจะติดอยู่ในช่องคลอดออกอย่างบอบช้ำ แต่พระมารดาพระโพธิสัตว์
ไม่เป็นอย่างนั้น. อธิบายว่า ประสูติง่ายไม่ติดอะไรเลย. บทว่า อุทิเทน
แปลว่า ด้วยน้ำ. บทว่า เกนจิ อสุจินา ความว่า ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่น
จะมีลมกรรมชวาตพัดเอาเท้าขึ้นข้างบน เอาศีรษะลงข้างล่าง ผ่านช่องคลอด
เสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง อุปมาเหมือนตกลงไปในเหวที่ลึกชั่วร้อยคน หรือ
เหมือนช้างที่เขาฉุดออกจากช่องลูกดาล แปดเปื้อนไปด้วยของไม่สะอาด นานับ
ประการ จึงจะออกได้ ฉันใด พระโพธิสัตว์ไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น. เพราะ

ลมกรรมชวาตไม่สามารถจะทำพระโพธิสัตว์ให้มีพระบาทขึ้นข้างบนพระเศียรลง
ข้างล่างได้. พระองค์เหยียดพระหัตถ์ และพระบาททั้งสองออก แล้วเสด็จ
ประทับยืนอุปมาเหมือนพระธรรมกถึกก้าวลงจากธรรมาสน์ หรือเหมือนบุรุษ
ก้าวลงจากบันใดฉะนั้น ไม่แปดเปื้อนของไม่สะอาดบางประการที่เกิดในพระ
ครรภ์ของพระมารดาเลย แล้วประสูติ.
บทว่า อุทกสฺส ธารา แปลว่า สายน้ำ. ในธารน้ำเหล่านั้น ธาร
น้ำเย็นตกลงในหม้อทอง ธารน้ำอุ่นตกลงในหม้อเงิน. และท่านกล่าวความ
ข้อนี้ไว้ เพื่อจะแสดงว่า น้ำดื่ม น้ำใช้ของทั้งสองพระองค์ ไม่เจือปนด้วย
ของไม่สะอาดไร ๆ บนพื้นดิน และน้ำสำหรับเล่น ก็ไม่สาธารณ์ทั่วไปกับ
คนเหล่าอื่น. ก็น้ำอื่นที่จะพึงนำมาด้วยหม้อทอง หม้อเงินก็ดี น้ำที่อยู่ในสระ
โบกขรณีชื่อ หังสวัฏฏกะเป็นต้น ก็ดี ย่อมไม่มีกำหนด.
บทว่า สมฺปติชาโต แปลว่า ประสูติแล้วเพียงชั่วครู่. ก็ในพระบาลี
ท่านแสดงไว้ดุจว่า พระโพธิสัตว์ ทันทีที่ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอลงบนแผ่นดิน แต่ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ความ
จริง พอพระโพธิสัตว์เสด็จออก พรหมทั้งหลายก็เอาข่ายทองรับไว้ก่อน ท้าว
มหาราชทั้ง 4 รับ ต่อจากพระหัตถ์ของท้าวมหาพรหมเหล่านั้น ด้วยตาข่ายที่
ทำด้วยหนังเสือ ซึ่งมีสัมผัสอันนุ่มสบายที่สมมติกันว่าเป็นมงคล มนุษย์ทั้งหลาย
จึงรับต่อจากพระหัตถ์ของท้าวมหาราชเหล่านั้น ด้วยเทริดอย่างดี พอพ้นจาก
มือมนุษย์ ก็ประทับยืนบนแผ่นดิน.
บทว่า เสตมฺหิ ฉตฺเต อนุหิรมาเน แปลว่า เมื่อเทพบุตรกั้นเศวต
ฉัตรอันเป็นทิพย์ แม้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 มีพระขรรค์เป็นต้น อันเป็น
บริวารของฉัตรมาแล้ว ในที่นี้เหมือนกัน. แต่ในพระบาลีกล่าวถึงเพียงฉัตร
อย่างเดียว ดุจพระราชาที่เขากั้นฉัตรถวาย ในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน.

ในราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 เหล่านั้น ปรากฏแต่ฉัตรเท่านั้น ไม่ปรากฏคนถือ.
พระขรรค์ พัดใบตาล กำหางนกยุง พัดวาลวิชนี กรอบพระพักตร์ ก็ปรากฏ
เหมือนกัน. ไม่ปรากฏคนถือสิ่งเหล่านั้น. นัยว่าเทวดาทั้งหลายผู้ไม่ปรากฏคน
ถือเครื่องกกุธภัณฑ์เหล่านั้นไว้ครบทุกอย่าง. สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เทวดาทั้งหลาย ถือฉัตร มีมณฑล
ตั้งพัน มีซี่ไม่น้อยอยู่กลางอากาศ จามร
ด้ามทองก็เคลื่อนผ่านไป แต่ผู้ถือจามร
และฉัตรไม่ปรากฏ.

บทว่า สพฺพา จ ทิสา ท่านกล่าวถึงการตรวจดูทิศทั้งปวง ดุจ
การแลดูทิศของบุรุษผู้ยืนเหนือพระมหาสัตว์ผู้กำลังย่างพระบาทไป 7 ก้าว แต่
ข้อนี้ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. แท้จริง พระมหาสัตว์พ้น จากมือของมนุษย์ทั้งหลาย
แล้ว ทรงแลดูทิศบูรพา. จักรวาลหลายพันได้ปรากฏเป็นเนินเดียวกัน.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลเหล่านั้น พากันบูชาด้วยเครื่องสักการะมี
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพูดว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ในโลกนี้ไม่มี
แม้ผู้ที่จะเสมอกับพระองค์ได้ ที่ไหนจะมีผู้เหนือกว่าในรูปได้เล่า. พระมหา-
สัตว์ทรงตรวจดูทิศทั้ง 10 คือ ทิศใหญ่ 4 ทิศน้อย 4 ทิศเบื้องล่าง 1 ทิศ
เบื้องบน 1 อย่างนี้ . มองไม่เห็นผู้เสมอด้วยพระองค์ ทรงกำหนดว่า นี้เป็น
ทิศอุดร แล้วเสด็จไปโดยย่างพระบาทไป 7 ก้าว. ในเรื่องนี้ พึงเห็นความ
ดังพรรณนาอย่างนี้ . บทว่า อาสภึ แปลว่า สูงสุด. บทว่า อคฺโค แปลว่า
ประเสริฐที่สุด คือเจริญที่สุด ได้แก่เหนือคนทั้งหมด โดยคุณทั้งหลาย สอง
บทนอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า อคฺโค นั่นเอง. ท่านพยากร ์พระอรหัต
ที่จะพึงบรรลุในอัตภาพนี้ด้วยบททั้งสองว่า อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิ ทานิ
ปุนพฺภโว.

ก็ในอธิการนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ข้อที่พระองค์ประทับยืน
บนแผ่นดิน ด้วยพระบาทอันราบเรียบ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่ง
อิทธิบาท 4 ข้อที่พระองค์ทรงหันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เป็นบุพนิมิต
แห่งการเสด็จไปอย่างผู้ยิ่งใหญ่เหนือมหาชน. ข้อที่พระองค์ทรงพระดำเนินไป.
ได้ 7 ก้าว เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งรัตนะคือโพชฌงค์ 7. ข้อที่
ทรงเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งฉัตรคือวิมุตติ
ราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 เป็นบุพนิมิตแห่งการหลุดพ้นด้วยวิมุตติ 5 ประการ
ข้อที่ทรงมองดูทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอนาวรญาณ. ข้อที่
ทรงเปล่งอาสภิวาจาเป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักรที่ใครๆ ให้หมุนกลับ
ไม่ได้. สีหนาทที่ทรงเปล่งว่า อยมนฺติมา ชาติ (ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย)
พึงทราบว่าเป็นบุพนิมิตแห่งปรินิพพาน ด้วยอันปาทิเสสนิพพานธาท . วาระ
ต่าง ๆ เหล่านี้. มาแล้วในพระบาลี. แต่สัมพหุลวาร ยังไม่มีมา จึงควรนำมา
แสดงเสียด้วย.
ก็ในวันที่พระมหาบุรุษประสูติ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว. เทวดา
ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ ประชุมกันแล้ว ในจักรวาลหนึ่ง. เทวดาทั้งหลาย
รับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง. พิณทั้งหลายที่ขึงด้วยเส้นด้าย และกลอง
ทั้งหลายที่เขาขึ้นด้วยหนึ่ง ไม่มีใคร ๆ ประโคมเลยก็ดังขึ้นเอง. เครื่องจองจำ
มีชื่อคา และโซ่ตรวนเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายขาดออกเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่.
โรคทุกอย่างหายหมด ดุจสนิมสีแดงที่เขาขัดออกด้วยของเปรี้ยว. คนที่บอก
แต่กำเนิดก็เห็นรูปต่าง ๆ ได้. คนหนวกแต่กำเนิดก็ได้ยินเสียง. คนง่อยเปลี้ย
ก็กลับสมบูรณ์ด้วยกำลังวังชา. คนบ้าน้ำลาย แม้จะโง่มาแต่กำเนิด ก็กลับฟื้น
คืนสติ. เรือที่แล่นออกไปต่างประเทศ ก็ถึงท่าโดยสะดวก. รัตนะทั้งหลาย
ที่อยู่ในอากาศและบนภาคพื้นก็ได้ส่องแสงสว่างขึ้นเอง. ผู้ที่เป็นศัตรูกลับได้

เมตตาจิต. ไฟในอเวจีนรกก็ดับ. แสงสว่างเกิดขึ้นในโลกันตรนรก. น้ำใน
แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล. ทั้งน้ำในมหาสมุทรได้กลายเป็นน้ำหวาน. มหาวาตภัย
ก็ไม่พัด นกที่บินไปในอากาศ และทีจับอยู่ตามต้นไม้ ภูเขา ก็ตกลงพื้นดิน.
พระจันทร์งามยิ่งนัก. พระอาทิตย์ก็ไม่ร้อน ไม่เย็นปราศจากมลทิน สมบูรณ์
ตามฤดูกาล. เทวดาทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูวิมานของตน ๆ พากัน เล่นมหากิฬา
เป็นต้นว่า ปรบมือ โห่ร้อง และโบกผ้า. มหาเมฆที่ตั้งขึ้นแต่ทิศทั้ง 4
ยังฝนให้ตก. ความหิวและความกระหายไม่เบียดเบียนมหาชน. ประตูหน้าต่าง
ก็เปิดได้เอง. นี้ ไม้ที่จะมีดอกมีผลก็ได้ผลิดอกออกผลสะพรั่ง. ทั่วทั้งหมื่น-
โลกธาตุ ได้มีธงดอกไม้เป็นแนวเดียวกันหมด.
แม้ในข้อที่น่าอัศจรรย์นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ความหวั่นไหว
แห่งหมื่นโลกธาตุเป็น. บุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณของ
พระมหาบุรุษ. ข้อที่เทวดาทั้งหลายมาประชุมกัน ในจักรวาลอันหนึ่ง เป็น
บุพนิมิตแห่งการร่วมประชุมรับพระสัทธรรมคราวเดียวกัน ในเวลาที่ทรง
ประกาศธรรมจักร. ข้อที่เทวดาทั้งหลายรับพระโพธิสัตว์ก่อน เป็นบุพนิมิต
แห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปาวจรฌานทั้ง 4. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายรับภายหลัง
เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอรูปาวจรฌานทั้ง 4. ข้อที่พิณซึ่งเขาขึงด้วย
เส้นด้าย ดังได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอนุปุพพวิหารธรรม.
ข้อที่กลองที่เขาขึ้นด้วยหนังดังเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการพร่ำสอน ด้วย
ธรรมเภรีอันยิ่งใหญ่. ข้อที่เครื่องพันธนาการ มีชื่อคาและโซ่ตรวนเป็นต้น
ขาดออกจากกันเป็นบุพนิมิตแห่งการตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด. ข้อที่คนทั้งหลาย
หายจากโรคต่าง ๆ เป็นบุพนิมิตแห่งการปราศไปแห่งกิเลสทั้งปวง. ข้อที่
คนบอดแต่กำเนิด เห็นรูปได้ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งทิพยจักษุ.
ข้อที่คนหนวกแต่กำเนิดได้ยินเสียง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งทิพย-

โสตธาตุ. ข้อที่คนง่อยเปลี้ยสมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุซึ่ง
อิทธิบาททั้ง 4. ข้อที่คนบ้าน้ำลาย กลับได้สติ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้
เฉพาะซึ่งสติปัฏฐาน 4. ข้อที่เรือทั้งหลายที่แล่นออกนอกประเทศถึงท่าโดย
สะดวก เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา 4. ข้อที่รัตนะทั้งหลาย
ส่องสว่างได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งแสงสว่างของพระธรรม ที่พระองค์
ทรงแสดงแก่ชาวโลก. ข้อที่ศัตรูทั้งหลาย กลับได้เมตตาจิต เป็นบุพนิมิต
แห่งการได้เฉพาะซึ่งพรหมวิหาร 4. ข้อที่ไฟในนรกอเวจีดับลง เป็นบุพนิมิต
แห่งการดับไฟ 11 กองได้. ข้อที่โลกันตรนรก มีแสงสว่าง เป็นบุพนิมิต
แห่งการที่พระองค์ทรงกำจัดความมืดคืออวิชชา แล้วทรงเห็นแสงสว่างได้ด้วย
พระญาณ. ข้อที่น้ำของมหาสมุทรมีรสหวาน เป็นบุพนิมิตแห่งความที่
พระธรรมมีรสอย่างเดียวกัน. ข้อที่ไม่เกิดวาตภัย เป็นบุพนิมิตแห่งการที่
พุทธบริษัทไม่แตกแยกกันด้วยอำนาจทิฐิ 62. ข้อที่นกทั้งหลายตกลงยัง
แผ่นดิน เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชนฟังคำสั่งสอนถึงสรณะด้วยชีวิต.
ข้อที่พระจันทร์งามยิ่งนัก เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชนสนใจพระธรรม.
ข้อที่พระอาทิตย์ไม่ร้อนไม่เย็น ให้ความสะดวกตามฤดู เป็นบุพนิมิตแห่งการที่
มหาชน ถึงความสุขกายสุขใจ. ข้อที่เทวดาทั้งหลาย เล่นกีฬามีการปรบมือ
เป็นต้นที่ประตูวิมาน เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พระมหาสัตว์บรรลุถึงความเป็น
พระพุทธเจ้าแล้วทรงเปล่งอุทาน. ข้อที่มหาเมฆทั่ว 4 ทิศ ยังฝนให้ตก เป็น
บุพนิมิตแห่งการที่สายน้ำคือพระธรรมตกลงเป็นอันมาก. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ถูกความหิวเบียดเบียน เป็นบุพนิมิต แห่งการได้เฉพาะซึ่งอมตธรรมคือ
กายคตาสติ. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ถูกความกระหายเบียดเบียนเป็นบุพนิมิต
แห่งการที่พุทธบริษัทถึงความสุขแล้วด้วยวิมุตติสุข. ข้อที่ประตูหน้าต่างทั้งหลาย
เปิดได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งการเปิดประตูอัฏฐังคิกมรรค. ข้อที่ต้นไม้ทั้งหลาย

ผลิดอกออกผล เป็นบุพนิมิตแห่งพระธรรมที่บานด้วยดอกคือวิมุตติ และ
เต็มแน่นด้วยสามัญญผล. ข้อที่หมื่นแห่งโลกธาตุมีธงเป็นระเบียบอย่างเดียวกัน
พึงทราบว่า เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พุทธบริษัทมีธงของพระอริยเจ้าเป็นมาลัย.
นี้ ชื่อสัมพหุลวาร.
ในสัมพหุลวารนี้ มีตนเป็นอันมากถามเป็นปัญหาว่า ในเวลาที่มหา-
บุรุษเหยียบบนแผ่นดิน เสด็จพระดำเนินบ่ายหน้าไปทางทิศอุดร แล้วทรงเปล่ง
อาสภิวาจานั้น ทรงประทับยืนบนแผ่นดินหรืออยู่ในอากาศ ปรากฏพระองค์
หรือไม่ปรากฏ ไม่นุ่งผ้า หรือว่าประดับตกแต่งแล้วเป็นอย่างดี เป็นหนุ่ม
หรือแก่ แม้ภายหลังก็คงสภาพเช่นนั้น หรือเป็นเด็กอ่อน. ก็ครั้นต่อมา
ภายหลังพระจุลลาภัยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ได้วิสัชนาปัญหาข้อนี้ไว้แล้ว
ในที่ประชุม ณ โลหะปราสาท. ได้ยินว่าในข้อนี้พระเถระ กล่าวถึงเรื่องราว
ไว้เป็นอันมาก โดยเป็นนิยตวาทะ ปุพเพกตกัมมวาทะและอิสสรนิมมานวาทะ
ในชั้นสุดท้ายได้พยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า พระมหาบุรุษ ยืนบนแผ่นดิน แต่ได้
ปรากฏแก่มหาชน เหมือนเสด็จไปโดยอากาศ และเสด็จไปมีตนเห็น แต่ได้
ปรากฏแก่มหาชนเหมือนมองไม่เห็น. ไม่มีผ้านุ่งเสด็จไป แต่ปรากฏแก่มหาชน
เหมือนประดับตกแต่งไว้แล้วเป็นอย่างดี. ทั้งที่ยังเป็นเด็ก แต่ได้ปรากฏแก่
มหาชนเหมือนมีพระชนมายุ 16 พรรษา. แต่ในภายหลัง คงเป็นเด็กอ่อน
ธรรมดา ไม่ได้เป็นเหมือนเช่นที่ปรากฏ. และเมื่อพระเถระกล่าวชี้แจงอย่างนี้แล้ว
บริษัททั้งหลายของท่านต่างพากันพอใจ โดยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระเถระ
กล่าวแก้ปัญหาได้แจ่มแจ้งเหมือนพระพุทธเจ้าทีเดียว. โลกันตริกวาร มีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นเอง. บทว่า วิทิตา แปลว่า ปรากฏแล้ว. แท้จริงพระสาวก
ทั้งหลายย่อมไม่สามารถจะหาช่องทางพิจารณาสังขารที่เป็นส่วนอดีต ในขณะที่
ไม่มีโอกาสเช่นเวลาอาบน้ำ ล้างหน้า เคี้ยว และดื่มเป็นต้นได้ จะพิจารณาได้

เฉพาะเมื่อมีโอกาสเท่านั้น ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น.
ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงพิจารณาสังขารที่ผ่านไปแล้วภายใน 7 วัน ได้ตั้งแต่
ต้นทรงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้ว ย่อมทรงชี้แจงได้ ขึ้นชื่อว่า ธรรมที่ไม่
แจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ท่านจงกล่าวว่า
วิทิตา ทรงรู้แจ่มแจ้งแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถา อัจฉริยัพภูตสูตร ที่ 3

4. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร



[380] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุลเถระอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถาน
ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออเจล-
กัสสปะ ผู้เป็นสหายของท่านพระพักกุละ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ในกาลก่อน เข้าไป
หาท่านพระพักกุละ ครั้นแล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระพักกุละ ครั้นผ่าน
คำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอ
นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระพักกุละดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระพักกุละ
ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.
ท่านพระพักกุละตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอยู่ เราบวชมา 80 พรรษา
แล้ว.
อเจล. ข้าแต่ท่านพระพักกุละ ชั่ว 80 ปีนี้ ท่านเสพเมถุนธรรม
กี่ครั้ง.
[381] พักกุละ ดูก่อนกัสสปะผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนั้น
เลย แต่ควรจะถามเราอย่างนี้ว่า ก็ชั่ว 80 ปีนี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นแก่ท่าน
กี่ครั้ง ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด 80 พรรษา ไม่รู้สึกกาม
สัญญาเคยเกิดขึ้น.
อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น ชั่วเวลา
80 พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่า
อัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.