เมนู

อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตร



อัจฉริยัพภูตสูตร* มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อัศจรรย์ อธิบายว่า พระตถาคตพระองค์ใด. ที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม ในบทว่า
ฉินฺนปปญฺเจ นี้ ได้เเก่ กิเลส 3 อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
กัมมวัฏที่เป็นกุศลและอกุศล ท่านเรียกว่า วัฏฏุมะ ในบทว่า ฉนฺนวฏฺฏุเม นี้.
บทว่า ปริยาทินฺนวฏฺเฏ เป็นไวพจน์ของ บทว่า ฉินฺนวฏฺฏุเม นั้นแหละ.
บทว่า สพฺพทุกฺขวีสติวฏฺเฏ ความว่า ล่วงทุกข์ กล่าวคือ วิปากวัฏทั้งปวง.
บทว่า อนุสฺสริสฺสติ นี้ เป็นคำกล่าวถึงอนาคตกาล โดยใช้นิบาตว่า ยตฺร.
แต่ในบทนี้ พึงทราบความว่า ท่านใช้หมายถึงอดีต. แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว มิใช่จักระลึกถึงในบัดนี้. บทว่า เอวฺ
ชจฺจา
ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น มีพระชาติเป็น
กษัตริย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระกกุสันธะเป็นต้น มีพระชาติเป็นพราหมณ์.
บทว่า เอวํโคตฺตา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็น
โกณฑัญญโคตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระกกุสันธะเป็นต้น เป็นกัสสปโคตร.
บทว่า เอวํสีลา ความว่า มีศีลอย่างนี้ คือมีศีลเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.
ในบทว่า เอวํธมฺมา นี้ ท่านหมายเอาธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมาธิ
อธิบายว่า มีสมาธิอย่างนี้ คือ มีสมาธิเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. บทว่า
เอวํปญฺญา ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ คือ มีทั้งปัญญาที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระ. ก็ในบทว่า เอวํวิหารี นี้ ก็เพราะถือธรรมที่เป็นไปในฝ่ายสมาธิ
* พระสูตรเป็นอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร.