เมนู

อรรถกถาฉันโนวาทสูตร



ฉันโนวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในคำเหล่านั้น คำว่า ฉันนะ ได้แก่พระเถระมีชื่ออย่างนั้น ไม่ใช่
เป็นพระเถระที่ออกไปด้วยกันกับพระพุทธเจ้า ตอนออกอภิเนษกรมณ์. คำว่า
จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คำว่า ไต่ถามถึงความเป็นไข้ ได้แก่
การบำรุงภิกษุไข้ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ทรงพรรณนาไว้เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ศัสตรา ได้แก่ศัสตราที่คร่าชีวิต. คำว่า ไม่หวัง
คือไม่อยาก. คำว่า ไม่เข้าไปถึง คือไม่เกิด ไม่มีปฏิสนธิ. คำว่า นั่นของเรา
เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความยึดถือด้วยตัณหา มานะและทิฐิ. คำว่า
เห็นความดับอย่างสิ้นเชิง คือทราบความสิ้นและความเสื่อมไป. คำว่า
ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัว
ตนของเรา
คือข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน คำ
ว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่พระเถระกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าอดกลั้น
เวทนาที่มีความตายเป็นที่สุดไม่ได้. จึงได้นำเอาศัสตรามานั้น ท่านเป็นปุถุชน
จึงชี้แจงว่า เพราะฉะนั้น ท่านจงใส่ใจแม้ข้อนี้. คำว่า ตลอดกาลเนืองนิตย์
คือนิจกาล. คำว่า ที่อาศัยแล้ว คือตัณหาและทิฐิอิงแล้ว. คำว่า หวั่นไหว
ได้แก่เป็นของกวัดแกว่ง. คำว่า ความสงบ คือความสงบกายสงบจิต อธิบายว่า
ถึงความสงบกิเลส ก็ย่อมมี. คำว่า นติ ได้แก่ตัณหา. คำว่า นติยา อสติ คือ
เมื่อไม่มีความกลุ้มรุมเพราะความอาลัยใยดีเพื่อประโยชน์แก่ภพ. คำว่า ไม่มี
การมาและการไป คือ ชื่อว่าการมาด้วยอำนาจปฏิสนธิ ย่อมไม่มี ชื่อว่า
การไปด้วยอำนาจจุติ ก็ย่อมไม่มี. คำว่า จุติและอุปบัติ คือ ชื่อว่าจุติด้วย
อำนาจความเคลื่อน ชื่อว่าอุปบัติด้วยอำนาจการเกิดขึ้น. คำว่า ไม่มีในโลกนี้

ไม่มีในโลกหน้า ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง คือในโลกนี้ก็ไม่มี ใน
โลกหน้าก็ไม่มี ในโลกทั้งสองก็ไม่มี. คำว่า นี่แลเป็นที่สุดของทุกข์ คือ
นี้เท่านั้นเป็นที่สุดของวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ นี้เป็นกำหนดโดยรอบ เป็นทาง
โดยรอบ. เพราะนี้เท่านั้นเป็นความประสงค์ในข้อนี้. สำหรับท่านผู้ใดถือคำว่า
ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง แล้วต้องการระหว่างภพ ข้อคำที่ยิ่งไปสำหรับ
ท่านเหล่านั้น ก็กล่าวในหนหลังเสร็จแล้วแล. คำว่า นำศัสตรามาแล้ว คือ
เอาศัสตราสำหรับคร่าชีวิตมาแล้ว ตัดก้านคอแล้ว.
ก็ขณะนั้น ความกลัวตายของท่านก็ก้าวลง คตินิมิตปรากฏขึ้น. ท่าน
รู้ว่าตัวยังเป็นปุถุชน เกิดสลดใจ ตั้งวิปัสสนา พิจารณาสังขาร สำเร็จเป็น
พระอรหันต์ เป็นสมสีสีแล้วก็ปรินิพพาน. คำว่า ทรงพยากรณ์ความไม่
เกิดต่อหน้าที่เดียว
คือ ถึงแม้ว่าการพยากรณ์นี้ มีในเวลาที่พระเถระยังเป็น
ปุถุชนก็จริง ถึงอย่างนั้น การปรินิพพานที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซงได้ของท่านก็
ได้มีตามคำพยากรณ์นี้ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาคำพยากรณ์
นั่นแหละมาตรัส. คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป คือตระกูลที่ควรเข้าไป ด้วย
คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป นี้ พระเถระย่อมทูลถามว่า พระเจ้าข้า เมื่อยังมี
พวกอุปัฏฐากและพวกอุปัฏฐายิกาอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้น จะปรินิพพานในพระ-
ศาสนาของพระองค์หรือ ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่
ภิกษุนั้น ไม่มีความคลุกคลีในตระกุลทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สารีบุตร ก็แล
เหล่านี้ ย่อมมี
ดังนี้เป็นต้น. เล่ากันมาว่า ในฐานะนี้ ความไม่ข้องเกี่ยว
ในตระกูลทั้งหลายของพระเถระได้เป็นที่ปรากฏแล้ว. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง
ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาฉันโนวาทสูตรที่ 2

3. ปุณโณวาทสูตร



[754] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าได้โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ด้วยพระโอวาทย่อ ๆ พอที่ข้าพระองค์ได้
สดับ ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจะเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออก ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงพึง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุณณะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบ
แล้ว พระพุทธเจ้าข้า
[755] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนปุณณะ มีรูปที่
รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วย
กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล้ว ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่
ด้วยความติดใจรูปนั้น นันทิย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่
ด้วยความติดใจรูปนั้นได้ เพราะนันทิเกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ.
ดูก่อนปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต...
ดูก่อนปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...
ดูก่อนปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา...
ดูก่อนปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย...