เมนู

กระผมพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ...
กระผมพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ...
กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ...
กระผมพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ...
กระผมพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ปัญหาของพระสารีบุตร


[750] สา. ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร
ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็น
จักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่
ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในโสต ในโสตวิญญาณ...
ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในฆานะ ในฆานวิญญาณ...
ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ...
ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในกาย ในกายวิญญาณ...
ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในมโน มโนวิญญาณ ในธรรม
ที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วย
มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในจักษุ
ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุ
วิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา.

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในโสต ในโสตวิญญาณ...
กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ...
กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ...
กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ
กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ ในธรรม
ที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วย
มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
[751] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้
กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควร
ใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า
บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มี
ตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความ
สงบ เมื่อมีความสงบก็ไม่มีตัณหานำไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหานำไปสู่ภพ ก็ไม่มี
การมาเกิด ไปเกิด เมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติ
และอุปบัติก็ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี้แหละ
ที่สุดแห่งทุกข์ ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่าน
พระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป.
[752] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่าน
พระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่าน
พระสารีบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาสตรา
มาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์
ความเป็นผู้ไม่ด้วยตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ.
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ
ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอย
ตำหนิอยู่.
[753] พ. ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย
และสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ไม่ ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดแล ทั้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น
บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุ
หาศาสตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึง
ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ 2

อรรถกถาฉันโนวาทสูตร



ฉันโนวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในคำเหล่านั้น คำว่า ฉันนะ ได้แก่พระเถระมีชื่ออย่างนั้น ไม่ใช่
เป็นพระเถระที่ออกไปด้วยกันกับพระพุทธเจ้า ตอนออกอภิเนษกรมณ์. คำว่า
จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คำว่า ไต่ถามถึงความเป็นไข้ ได้แก่
การบำรุงภิกษุไข้ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ทรงพรรณนาไว้เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ศัสตรา ได้แก่ศัสตราที่คร่าชีวิต. คำว่า ไม่หวัง
คือไม่อยาก. คำว่า ไม่เข้าไปถึง คือไม่เกิด ไม่มีปฏิสนธิ. คำว่า นั่นของเรา
เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความยึดถือด้วยตัณหา มานะและทิฐิ. คำว่า
เห็นความดับอย่างสิ้นเชิง คือทราบความสิ้นและความเสื่อมไป. คำว่า
ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัว
ตนของเรา
คือข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน คำ
ว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่พระเถระกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าอดกลั้น
เวทนาที่มีความตายเป็นที่สุดไม่ได้. จึงได้นำเอาศัสตรามานั้น ท่านเป็นปุถุชน
จึงชี้แจงว่า เพราะฉะนั้น ท่านจงใส่ใจแม้ข้อนี้. คำว่า ตลอดกาลเนืองนิตย์
คือนิจกาล. คำว่า ที่อาศัยแล้ว คือตัณหาและทิฐิอิงแล้ว. คำว่า หวั่นไหว
ได้แก่เป็นของกวัดแกว่ง. คำว่า ความสงบ คือความสงบกายสงบจิต อธิบายว่า
ถึงความสงบกิเลส ก็ย่อมมี. คำว่า นติ ได้แก่ตัณหา. คำว่า นติยา อสติ คือ
เมื่อไม่มีความกลุ้มรุมเพราะความอาลัยใยดีเพื่อประโยชน์แก่ภพ. คำว่า ไม่มี
การมาและการไป คือ ชื่อว่าการมาด้วยอำนาจปฏิสนธิ ย่อมไม่มี ชื่อว่า
การไปด้วยอำนาจจุติ ก็ย่อมไม่มี. คำว่า จุติและอุปบัติ คือ ชื่อว่าจุติด้วย
อำนาจความเคลื่อน ชื่อว่าอุปบัติด้วยอำนาจการเกิดขึ้น. คำว่า ไม่มีในโลกนี้